ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกไผ่เลี้ยงหวาน

โดย : นางจุฑามาศ ดอกรักษ์ วันที่ : 2017-03-25-11:44:31

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 165 /3 หมู่ 12 ตำบล เขาเพิ่ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา การปลูก ไผ่เลี้ยงหวาน เพื่อการขายและไว้กินในครัวเรือน อาชีพการปลูกไผ่เลี้ยงหวานเป็นอาชีพที่ทำเงินได้นั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า ไผ่เลี้ยงหวานสามารถให้หน่อในช่วงฤดูแล้งได้ ซึ่งแตกต่างจากต้นไผ่ในธรรมชาติทั่วๆ ไป ที่ในช่วงฤดูแล้งมักจะไม่ค่อยให้ผลผลิตนั่นเอง นอกจากนี้ ไผ่เลี้ยงหวาน ยังมีข้อดีที่แตกต่างไปจากต้นไผ่ตามธรรมชาติทั่วไป อาทิเช่น ไม่มีขนให้ระคายผิวเหมือนกับไผ่ชนิดอื่นๆ ดูแลรักษาง่าย ออกหน่อง่าย การปลูกก็ไม่ยุ่งยาก ทั้งยังเป็นไม้ไผ่ที่ไม่มีหนาม ส่วนโรคและแมลงศัตรูก็มีน้อยมาก ที่สำคัญในปัจจุบันมีผู้บริโภคต้องการมันมากขึ้น ซึ่งก็เนื่องมาจากไผ่เลี้ยงหวานมีรสชาติ หวาน กรอบ อร่อย ทั้งยังหารับประทานได้ตลอดทั้งปี และในการทำอาหารต้มน้ำครั้งเดียวก็ใช้ได้แล้ว การเก็บหน่อไผ่ขายทำให้เกิดรายได้ทุกวัน และทำกิ่งพันธุ์ขายมีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูก ไผ่เลี้ยงหวาน ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ต้องไม่ปลูกในที่น้ำขัง ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะได้ 100 กอต่อไร่ ขุดหลุม ขนาด กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3 กก.ต่อหลุม การปลูกใช้ส่วนของลำต้น โดยการแยกหน่อ/กอที่มีอายุ 1 – 1.5 ปี ตัดโดยวัดความยาวจากโคน ขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตร หลังปลูก 8 เดือน จะเริ่มให้หน่อ และเมื่อไผ่เลี้ยงหวานอายุ 2 – 3 ปี จะได้ผลผลิตเต็มที่ การเก็บเกี่ยว เมื่อหน่อไม้ยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ก็ตัดได้ ควรตัดหน่อไผ่ในตอนเช้า จะได้หน่อไม้ที่ไม่ขม ไม่ขื่น รสชาติดี ถูกใจผู้บริโภค

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา