ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายนิกร สิงห์ราชา วันที่ : 2017-03-20-15:59:53

ที่อยู่ : 147/2 หมู่ที่ 12 ตำบลสบเตียะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การอนุบาลลูกปลา

การอนุบาลลูกปลาดุกด้านและปลาดุกอุยทำได้หลายวิธี เช่น อนุบาลในกระชังบ่อปูนซีเมนต์และบ่อดิน

1. กระชังที่ใช้อนุบาลลูกปลาดุก ถ้าเป็นลูกปลาดุกด้านก็ใช้ชนิดและขนาดเดียวกับที่ใช้รวบรวมลูกปลาจากบ่อเพาะด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนกระชังอนุบาลลูกปลาดุกอุยก็ใช้ขนาดเดียวกันกับที่ใช้เพาะฟักไข่ อาหารที่ให้ลูกปลาดุกในกระชัง ควรใช้ไข่แดงจากไข่ไก่ที่ต้มสุกแล้ว นำมาบดให้ละเอียดในถ้วย แล้วเติมน้ำเล็กน้อย ใช้ช้อนคนให้ทั่วแล้วนำไปกรองด้วยผ้าบางไนลอน เมื่อจะนำไปใช้ก็เติมน้ำลงไปอีก 4-5 เท่า ใช้ช้อนตักสาดให้ลูกปลาในกระชังวันละ 4 ครั้ง การให้ไข่แดงเป็นอาหารไม่ควรเกิน 2 วัน เพราะ มิฉะนั้นจะทำให้น้ำเสีย เป็นสาเหตุให้ลูกปลาตาย อาหารที่ดีที่สุดของลูกปลาดุกวัยอ่อนคือ ลูกไรเป็นๆ ซึ่งจะไม่ทำให้น้ำเสีย และลูกปลาแข็งแรงและโตเร็ว อนิ่ง การอนุบาลลูกปลาดุกในกระชังซึ่งมีความหนาแน่นสูงนั้น ควรใช้ปฏิบัติในระยะเวลาสั้นๆ และมีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ลูกปลาโตขึ้น แข็งแรงพอที่จะนำไปอนุบาลในที่อื่นต่อไป

2. การอนุบาลในบ่อซีเมนต์

-บ่อซีเมนต์ขนาดเล็กหรือถังส้วมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ม. สูง 50 ซม. สถานที่ตั้งบ่อซีเมนต์ดังกล่าวจะต้องมีหลังคาคลุมเพื่อป้องกันแดดและฝนได้ เติมน้ำในบ่อให้สูงประมาณ 30 ซม. ปล่อย ลูกปลาดุกในอัตราส่วน 500-600 ตัว/ม.2 ให้อาหารประเภทไรแดงและเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป ปั้นเป็นก้อนให้วันละ 2 ครั้งในตอนเช้าก่อนที่จะให้อาหาร ต้องใช้สายยางดูดของเสียและเศษเหลือของอาหารจากก้นปอ พร้อมทั้งดูดนํ้าทิ้งประมาณ 1/3 ของบ่อ และเติมน้ำใหม่ให้เท่าระดับเดิม แล้วจึงให้อาหาร ปฏิบัติเช่นนี้ทุกๆ วัน จนกว่าลูกปลาจะโตได้ขนาด 2-3 ซม.โดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากนี้ก็สามารถจะนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อดินเพื่อเลี้ยงขุนเป็นปลาใหม่ หรือทำการลำเลียงขนส่งด้วยระยะทางไกลๆ ได้

ข้อพึงระวัง ->

การใส่ยากำจัดเชื้อโรคและป้องกันโรค เนื่องจากลูกปลาดุกมีเชื้อโรคติดมา และบ่อที่เคยใช้เลี้ยงปลามาแล้วก็มักจะมีเชื้อโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อปลาที่นำมาเลี้ยงใหม่ ดังนั้น เมื่อปล่อยลูกปลาดุกลงเลี้ยงแล้ว จะต้องใช้น้ำยาฟอร์มาลีนสาดให้ทั่วบ่อ ให้มีความเข้มข้นของฟอร์มาลิน 4 ส่วนในล้าน คือ ปริมาตรของน้ำในบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ใช้น้ำยาฟอร์มาลิน 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น ถ้าน้ำในบ่อมี 100 ลูกบาศก์เมตร จะต้องใช้น้ำยาฟอร์มาลิน 4 ลิตร เป็นต้น ในเย็นวันที่ปล่อยปลา ไม่ต้องให้อาหารปลา และในวันรุ่งขึ้นจึงเริ่มให้อาหารปลา และเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นอีก 10 ซม. หลังจากการเลี้ยงปลามา 2 สัปดาห์ ต้องใส่น้ำยาฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นเดิมซ้ำอีกครั้ง เพื่อกำจัดพยาธิที่เกาะอยู่ตามเหงือกและครีบปลา และใส่ซ้ำอีกครั้งหลังจากใส่ครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน การที่ต้องใส่น้ำยาฟอร์มาลินซ้ำใน ครั้งที่ 2 และ 3 นั้น เป็นการป้องกันโรคมิให้เกิดขึ้นแก่ปลาดุกที่เลี้ยง ซึ่งปฏิบัติได้ผลดีในการเลี้ยงปลาชนิดนี้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา