ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปกากะญอ

โดย : นางสาวงามตา ประไพมาลี วันที่ : 2017-04-05-16:20:50

ที่อยู่ : 162 ม.7 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ 
 

วัตถุประสงค์ ->

ป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง ของผ้าทอกะเหรี่ยง ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้ผลิต อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานภูมิปัญญาชาวกะเหลี่ยง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

  1. แผ่นหลังหรือผ้าหนา ๆ ส่วนมากจะใช้หนังสัตว์ เช่นหนังกวาง ฯลฯ ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 4-6 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว ปลายสองข้างเจาะรูร้อยเชือกสำหรับคล้องกับปลายไม้รั้งผ้าที่ทอให้ตึง โดยพันอ้อมกับเอวผู้ทอ ชาวกะเหรี่ยงเรียก "อย่า คู เพ่ย"
  2. ไม้สำหรับพันผ้า เป็นไม้จริงท่อนกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/2 นิ้ว ยาว 20-24 นิ้ว ผ่าครึ่งประกอบปลาย 2 ข้าง บากเป็นช่องสำหรับใช้คล้องเชือกจากแผ่นหนัง เป็นไม้อันแรกที่ใช้พันด้าย เมื่อเริ่มขึ้นเครื่องทอ และใช้สำหรับม้วนเก็บผ้าที่ทอแล้ว
  3. ไม้กระทบหรือหน่อทาแพะ เป็นไม้จริงหน้ากว้าง 4-5 นิ้ว ใช้สำหรับแยกด้ายยืนให้มีช่วงกว้างขึ้น เพื่อสะดวกในการสอดด้ายขวาง และใช้กระทบด้ายขวางให้แน่น
  4. ไม้ช่วยแยกด้ายหรือลู่โข่ เป็นปล้องไม้ไผ่กลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 1/2 - 2 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว ใช้สำหรับแยกเส้นด้าย
  5. ไม้หน่อสะยา เป็นไม้ไผ่เหลาให้กลมเรียวเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3/4 ยาวประมาณ 20-25 นิ้ว การทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ จะใช้ไม้หน่อสะยาอย่างน้อย 3 อัน ไม้หน่อสะยานี้ควรมีไว้หลาย ๆ อัน เพราะมีประโยชน์หลายอย่าง คือ
    • ใช้สำหรับคล้องด้ายตะกอ เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน เวลาขึ้นเครื่องทอ เมื่อทอจะยกขึ้น สลับกับไม้ช่วยแยกด้าย
    • ใช้เครื่องกำหนดแนว และจัดระเบียบเส้นด้ายยืนตะกอ
    • ใช้กำหนดตะกอสำหรับการทอผ้าที่มีตะกอหลายชุด จำนวน ไม้หน่อสะยาที่ใช้ในการนี้ จะมีจำนวนเท่ากับตะกอการขึ้นเครื่องทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง เป็นการทอด้วยเครื่องทอขนาดเล็ก โดยใช้เข็มขัดคาดหลัง (backstrap) เข็มขัดหรือสายคาดหลังอาจทำด้วยผ้า แผ่นหนัง หรือเชือกที่มีความแข็งแรง การทอผ้าทั่วไปจะใช้เสาแข็งแรง 4 เสา เพื่อขึงเส้นด้ายยืนให้ตึง แต่การทอด้วยกี่เอวใช้การขยับเคลื่อนตัวของผู้ทอ บังคับเส้นด้ายยืนให้ตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา