ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช(ลำไย)

โดย : นายณัชพล จาถา วันที่ : 2017-03-20-14:58:46

ที่อยู่ : 116 หมู่ทึ่ 3 ตำบลแม่สอย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การป้องกันกำจัดโรคแมลง  อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริลพฤษภาคม-กรกฎาคม ระยะผลกำลังเจริญเติบโตการให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอการใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ๓๐ วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น ๑๓-๑๓-๒๑ เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้นการค้ำกิ่ง  ระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหักการป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริลสิงหาคม ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตการให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว ๗-๑๐ วันการเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ ๑ ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทะยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ ๕-๗ วันต่อครั้ง จนหมด ต้นอย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้คุณภาพต่ำลงกันยายน ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

    ข้อพึงระวัง ->

    การตัดแต่งกิ่ง
     หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น ถ้าเป็นกิ่งขนาดใหญ่ควรใช้ปูนแดงที่แผลเพื่อป้องกันโรคเข้าทำลายการใส่ปุ๋ย

      • ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ ๑๐-๒๐ กิโลกรัมต่อตัน
      • ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่นสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ประมาณ ๑-๒ กิโลกรัมต่อตัน (อายุ ๗ ปี ถ้าอายุมากหรือต่ำกว่านี้ก็เพิ่มหรือลดลงตามความเหมาะสม)
      • ถ้าการแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ หรือแตกใบอ่อนช้าควรเร่งให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น โดยใช้ปุ๋ย ไทโอยูเรีย อัตรา ๑๐๐-๑๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นทั่วทรงพุ่ม ๑-๒ ครั้ง ห่างกัน ๗-๑๐ วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันและเร็วขึ้นด้วย

    เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
    กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

    โทรศัพท์ :
    Email :
    ที่อยู่ :

    เกี่ยวกับเรา