ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำลูกประคบสมุนไพร

โดย : นางณัฐรดา แก้วชมภู วันที่ : 2017-03-20-13:33:50

ที่อยู่ : 204 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแปะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำลูกประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายๆ อย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณปวดหรือเคล็ดขัดยอกงัยละท่าน….อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดีเยี่ยม ด้วยศาสตร์แห่งการคิดค้นที่สามารถนำสารสำคัญในสมุนไพรมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อีกด้วย ประโยชน์ของลูกประคบโดยรวมก็ ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เรามาทำความรู้จักและทราบสรรพคุณในการทำลูกประคบกันดีกว่า ซึ่งหลายคนอยากจะทราบว่าทำไมเราต้องใช้สมุนไพรจำพวกนี้มาทำ ใช้อย่างอื่นไม่ได้หรอ เราจึงขอแนะนำเป็นข้อไปดังนี้

1.ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีลักษณะคล้ายๆขิง มีสีเหลือง ซึ่งจัดว่าเป็นพืชล้มลุก ส่วนที่เรานำมาใช้จะใช้เหง้า สามารถขุดพบได้ตามใต้ดิน มีรูปร่างคล้ายรูปทรงกระบอก หากรับประทานจะมีรถชาติฝาด แต่สามารถรักษาอาการอักเสบ ขับน้ำ ป้องกันการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

2.หัวไพล
หัวไพลก็เป็นไม้ล้มลุกเช่นเดียวกับขมิ้น มีสีน้ำตาลแกรมเหลือง ภายนอกมีลักษณะเป็นพุ่มๆแต่ส่วนที่เรานำมาใช้มักจะเป็นเหง้า โดยมีสรรพคุณมากมายเช่น แก้ อาการท้องอึด ช่วยบำรุงเลือด แก้ไขและปวดเมื่อยตามร่างกาย

3.มะนาว

มะนาวเป็นผลไม้พื้นๆที่ใช้บริโภคกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่ามะนาวลูกเล็กๆนั้น มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆได้มากมายหลายโรคด้วยกัน ทั้งในส่วนของผิว ใบ น้ำ หรือแม้กระทั่งเปลือกของมะนาว เช่น ใช้รักษาอาการไอเป็นเลือด ต่อมทอลซิลอักเสบ

4.ตะไคร้

เป็นพื้นที่ใช้ส่วนที่อยู่ใต้ดิน มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น ลดอาการไอ ปวดหัว แก้ท้องอึด และสามารถช่วยบำรุงอาหารได้อีกด้วย

5.มะกรูด

มะกรูดเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ผิวมีลักษณะขรุขระ มีกลิ่นหอมสามารถทำเป็นยาสระผม น้ำยาหอมระเหยได้
และที่สำคัญมีสรรพคุณในการแก้เสมหะเป็นพิษอีกด้วย

6.มะขาม

มะขามเราก็สามารถใช้ทุกส่วนของต้นมะนาวได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นราก ใช้แก้อาการท้องร่วง รักษางูสวัส
เปลือกของต้น สามารถใช้บรรเทาอาการเป็นไข้ได้ ใบสดเป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในกระเพาะได้

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์การทำลูกประคบ

1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด กว้าง 35 x ยาย 35 เซนติเมตร 2 ผืน (เอาไว้ห่อนั่นละ)
2. เชือก หรือ หนังยาง
3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำลูกประคบ

1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง)
2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ 1 เสร็จ แล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าแฉะจนเป็นน้ำเด้อ…
3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้ว ใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลง ให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม)
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ


 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา