ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การประดิษฐ์ของใช้จากกะลามะพร้าว

โดย : นายกองแก้ว สำราญศรี วันที่ : 2017-04-12-11:48:17

ที่อยู่ : 143 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแปะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในอดีตกะลามะพร้าวถูกนำมาทำเครื่องใช้หลายชนิดที่ยังพอมีให้เห็นเป็นของเก่าอยู่บ้างคือ จอกตักน้ำ หรือกะโหลกตักน้ำ หรือ ทะนาน ที่ใช้สำหรับตักข้าวสาร และยังมีอีกหลายชนิดที่แล้วแต่จะเรียกชื่อกัน นับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่มีวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ ใช้ของไทยที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุในท้องถิ่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มเลือนหายเมื่อความเจริญทางด้านเทค โนโลยีต่าง ๆ เข้ามาแทนที่จึงหันไปใช้พวกโลหะหรือพลาสติกแทน แต่ปัจจุบันยังมีคนบางกลุ่มที่เห็นประโยชน์ของกะลามะพร้าว และพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าให้เกิดกับกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และเชิญชวนให้คนทั่วไปหันกลับมาเห็นคุณค่าของภูมิ ปัญญาเหล่านี้เพื่อตระหนักให้คนไทยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของคนไทยและเห็นคุณค่าของกะลามะพร้าวมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

วัสดุ อุปกรณ์

เครื่องใช้จากกะลามะพร้าวจะมีความสวยงาม มีสัดส่วน มีคุณค่า มีราคาและใช้เวลาในการผลิตมากน้อยเพียงใด เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบจะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวมีดังนี้

1 เลื่อยใช้ตัดวัสดุต่าง ๆ เลื่อยที่นิยมใช้กันได้แก่เลื่อยตัดเหล็ก เนื่องจากกะลามะพร้าวมีความเหนียวและต้องการความละเอียด ควรเลือกใช้ชนิดฟันละเอียด 20-32 ซี่ ต่อนิ้ว เลื่อยรอใช้ในการตัดไม้เล็ก ๆ ผ่าเดือย ใช้เลื่อยรอปากไม้ และส่วนที่ต้องการความละเอียดประณีตเลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยที่ใช้ในงาน ตัด เจาะวงกลมและส่วนโค้งต่าง ๆ

2 สว่าน เป็นอุปกรณ์เจาะรูเพื่อใส่สลักยึดชิ้นส่วน หรือเจาะพื้นผิวของกะลาก่อนใช้เลื่อนฉลุฉลุลาย  สว่านที่นิยมใช้กัน ได้แก่ สว่านมือ และสว่านไฟฟ้า บุ้ง ใช้ตกแต่งชิ้นงาน มีลักษณะเหมือนตะไบ ที่นิยมใช้กันอยู่มี 3 ขนาด ได้แก่ บุ้งแบน บุ้งท้องปลิง  บุ้งกลม

3. เครื่องขัด (มอเตอร์หินเจีย) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องและมีทักษะในการทำงานพอสมควร  ที่เครื่องขัดจะมี 2 หัว (ด้านที่ขัด) สามารถนำมาดัดแปลงใช้งานได้หลายลักษณะ เช่น ใช้ขัดผิวภายนอก ขัดภายใน ใช้ตัด เป็นต้น

4. เครื่องมือวัด ใช้วัดระยะทั่ว ๆ ไป เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ฉากเหล็ก เครื่องมือแคะเนื้อมะพร้าวและขูดผิวกะลาด้านใน

5. เหล็กแทง เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง  ทำหน้าที่งัด  หรือแทงให้เนื้อมะพร้าวออกไดสะดวก

6. เหล็กขูดผิวกะลาด้านใน ประดิษฐ์เอง ใช้ขูดผิวกะลามะพร้าวด้านใน สามารถขูดในที่แคบ ๆ และลึกได้

7. วัสดุยึด คือ กาวชนิดต่าง ๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของงาน ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ กาวลาเท็กซ์  กาวยาง  กาวตราช้าง

8. ค้อน เป็นอุปกรณ์ใช้ตอก ไม่ค่อยใช้กับการทำผลิตภัณฑ์โดยตรง แต่เป็นเครื่องมือช่วยประกอบ

9. กระดาษทราย ใช้ขัดผิดภายนอกของกะลาให้เรียบเป็นมัน ถ้าทำเป็นจำนวนมากขัดด้วยเครื่องขัดและปัดด้วยเครื่องขัดเพื่อให้เกิดผิวมันวาว ส่วนมากจะใช้ดินขัดเป็นตัวช่วย

10. อื่น ๆ เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษ เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

1. การออกแบบ

การออกแบบ เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการทำผลิตภัณฑ์และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1.1  หน้าที่ใช้สอย ควรให้มีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สนองความต้องการของผู้ใช้

1.2 ความแข็งแรงของโครงสร้าง เป็นความแข็งแรงที่เกิดจากโครงสร้างของเครื่องใช้ ซึ่งกะลา มะพร้าว จะมีรูปลักษณะตามผลมะพร้าวที่เกิดจากพันธุ์มะพร้าว ดังนั้นในการออกแบบจำเป็นต้องเลือกพันธุ์ ชนิด อายุของกะลามะพร้าวด้วย เพราะมะพร้าวบางพันธุ์กะลาจะมีความเปราะ แตกหักง่าย เช่น มะพร้าวพันธุ์น้ำหอมกะลาจะเปราะบาง

1.3 ความสวยงามน่าใช้ เป็นลักษณะของรูปร่าง ขนาด สี แบบน่าใช้สวยงามชวนให้ต้องการใช้ อยากซื้อ

1.4 ซ่อมแซมง่าย เป็นการออกแบบให้ซ่อมแซมแก้ไขได้ง่าย ไม่ยุ่งยากที่จะต้องบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย

1.5 ราคา ต้องคำนึงถึงผู้บริโภคว่าเป็นบุคคลกลุ่มใด มีกำลังการซื้อมากน้อยเพียงใด ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะได้รับความนิยม และชื่นชอบในลักษณะใดซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดถึงราคาจำหน่ายด้วย

1.6 กรรมวิธีการผลิต เป็นเครื่องชี้บอก และกำหนดการออกแบบอยู่มาก ในการทำเครื่องใช้จากกะลามะพร้าว เพราะส่วนใหญ่ยังจัดเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานคนผลิตอยู่มาก

1.7 ความปลอดภัย เครื่องใช้ทุกชนิดจำเป็นต้องให้ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค วัสดุ

ที่นำมาประกอบในการผลิต ต้องปลอดภัยต่อการใช้ เช่น ไม่มีเชื้อรา วัสดุยึดชิ้นส่วนต้องไม่เป็นสารพิษละลายออกมา

1.8 การเก็บรักษา รวมถึงการทำความสะอาดซึ่งต้องทำภายหลังจากใช้งานแล้วด้วยการล้าง เก็บให้ถูกสุขลักษณะ ประหยัดเนื้อที่ สะอาดอยู่เสมอ กะลามะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดี คือล้างทำความสะอาดง่าย แต่ไม่สามารถนำไปตากแดดจัดได้นาน ๆ ดังนั้น การเก็บเครื่องใช้จากกะลามะพร้าวควรเก็บในที่โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ปัจจัยที่ผู้ออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึงในการออกแบบดังกล่าวนี้ จะเป็นเครื่องช่วยผลักดัน และส่งเสริมให้มีผลงานรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพ เป็นที่สนใจของผู้บริโภค แต่เครื่องใช้จากกะลามะพร้าวหนึ่งอย่าง อาจไม่ต้องประกอบด้วยปัจจัยทุกข้อที่กล่าวมาก็ได้ จะมีส่วนประกอบของปัจจัยเพียง 3 ข้อก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแบบที่ช่วยสร้างความสมบูรณ์ คุณภาพ ประสิทธิภาพในการใช้งานและยังแสดงถึงความคิดริเริ่มอีกด้วย ปัจจัยเพียง 3 ข้อ ก็เพียงพอต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา