ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสาน

โดย : นางญาราภรณ์ ปิงเมือง วันที่ : 2017-03-25-18:10:30

ที่อยู่ : 124 หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงดาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษมาเป็นรุ่น ๆ โดยจะใช้เวลาที่ว่างจากการทำเกษตร หรือนอกฤดูการเกษตร มาทำจักสานสร้างเสริมรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

 - สืบทอดภูมิปัญญา

- สร้างเสริมอาชีพที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เลือกลำต้นที่มีความตรง ลำปล้องยาว ผิวเรียบเป็นมัน หลังจากตัด ออกมาจากกอ นำมาแช่น้ำตลอดทั้ง ลำเพื่อให้ไม้ไผ่มีความสดและป้องกันมด ปลวก 
มอด เจาะไช เมื่อจะนำมาใช้งานจึงตัดเอาตามขนาดที่ต้องการมาผ่าออกแล้วนำไป จักเป็นตอกแล้วตากแดดให้แห้ง 

อุปกรณ์ ->

- มีด

- เครื่องจักตอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสาน หลังจากเตรียมวัตถุดิบ ในการทำงานจักสานแล้วก็ถึงขั้นลงมือสาน ช่าง 
สานจะต้องรู้ว่า ควรใช้ลายสานแบบใด สำหรับเครื่องจักสานแต่ละชนิดเช่น ป้าน 
น้ำชาใช้ลายหนึ่ง กระบุงใช้ลายสาม กระด้งใช้ลายขอ ช่างจักสานที่มีความชำนาญ 
มากจะสามารถสานลายต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว เป็นระเบียบ และสวย 

  การสานสุ่มไก่

1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป

3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

4 สานตีนสุ่มโดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

การทำไซดักปลา

         ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบน ๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้)

          วัสดุที่ใช้คือต้นไผ่ ปัจจุบันนี้หาง่ายมาก มีปลูกกันเต็มไปหมดทุกหัวระแหงต้นไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ขนาดกลางๆ อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่าย ส่วนไผ่ที่เอามาทำส่วนใหญ่จะเป็นไผ่สีสุก เพราะทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โดยไผ่ 1 ลำจะสามารถทำไซได้ 1ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไซด้วย"

          วิธีการสานไซ ผู้ทำมักเหลาเส้นตอกให้เล็กเป็นเส้นกลมยาวอย่างน้อย 2 ปล้องไผ่ เมื่อได้เส้นตอกตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกัน ก่อนจะพับให้กลับไปด้านหลัง แล้วใช้เส้นตอกอีกส่วนหนึ่งสานขวางสลับกันไปตั้งแต่ด้านบนถึงด้านล่าง การสานนิยมสานเป็น “ลายขวางไพห้า” ระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงป่องแคบตามลักษณะของงาน ส่วนบริเวณตรงกลางหรือกลางค่อนไปทางปลายจะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าและนำออก

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา