ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกวาวเครือขาว

โดย : นางจันทร์สม บังลำพูน วันที่ : 2017-03-25-18:01:23

ที่อยู่ : 55/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงดาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาดั ้งเดิมใช้หัวกวาวเครือเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้ได้ทั้งชายหญิงในผู้สูงอายุ ช่วยเสริมหน้าอก เพิ่มเส้นผม แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี มีพลัง การนำกวาวเครือขาวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ได้แก่ เครื่องสำาอางบำารุงผิว เครื่องสำาอางบำรุง ทรวงอก  เซรั่มบำรุงผม สบู่  แป้งฝุ่ น และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น และมีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหารไก่และสุกร
 

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างอาชีพ

2. เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์

3. รักษาภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- เมล็ดพันธุ์ หรือ กิ่งพันธุ์เพื่อสำหรับปักชำ

- ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอก

อุปกรณ์ ->

ถุงพลาสติก ,เสียม/จอบ/สแลนกันความร้อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดิน
- ไถ ตากดินทิ้งไว้ 1 เดือน
- เก็บเศษวัชพืช หว่านปูนขาว
- ไถพรวน 1 – 2 ครั้ง
- ยกร่อง (ยกเว้นพื ้นที่ลาดชัน)
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ ยหมัก/ปุ๋ ยคอก
อัตรา 10 กิโลกรัม

การเตรียมพันธุ์
- การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด : ตัดส่วนปลายเมล็ด เพาะในกระบะ เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ย้ายลงถุงชำ วางไว้ใต้หลังคาพรางแสง 50 % เมื่อกล้าอายุ 2 เดือน ย้ายลงแปลงปลูก
- การปักชำ : ตัดเถายาว 4 – 5 นิ้ว ให้มี 1 ใบ 1 ตา ปักชำในถุงวางไว้ใต้หลังคาพรางแสง 50 % เมื่อแทงยอดยาว 12 นิิ้ว ย้ายลงแปลงปลูก
การปลูก
- ใช้ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร
- ขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม
- ย้ายกล้า 1 ต้น วางที่ก้นหลุม ลึก 10 ซม

การใส่ปุ๋ย
-ใส่ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ ยคอกอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น ต่อครั้ง บริเวณรอบทรงพุ่ม
- ใส่ปุ๋ ย 2 ครั้งต่อปี ครั้งที่ 1 หลังปลูก 3 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่อเริ่มออกดอก

การให้น้ำ
- หลังจากปลูก ต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง 1 – 2 เดือน
- อายุผ่าน 3 เดือนไปแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวตามสภาพแวดล้อม
- วิธีให้น้ำเป็นฝอยเหนือผิวดินรอบโคนต้น
การกำจัดวัชพืช
3 – 4 ครั้งต่อปีในขณะที่วัชพืชยังเล็ก

การเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวหลังปลูก 2 ปี ขึ้นไป ในช่วงก่อนออกดอก
- ขุดหัวกวาวเครือด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ผิวเปลือกเกิดรอยแผลหรือช้ำ
ตัดแยกหัวออกจากเหง้าหรือลำต้น
- เก็บเกี่ยวหัวกวาวเครือที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป และมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 15– 25 เซนติเมตร
 



 

ข้อพึงระวัง ->

ศัตรูท่ีสาคัญและการป้องกัน การกำจัด
- โรคเหี่ยว ป้องกันกำจัดโดยปรับดินด้วยปูนขาวและปุ๋ ยอินทรีย์ ถอนต้นที่เป็นโรค เผาทำลาย เมื่อเริ่มมีโรคระบาดในแปลง ใช้น้ำปูนใสรดให้ทั่ว
- ไม่พบแมลงชนิดใดทำความเสียหายรุนแรง
- หนอน หอยทาก และตุ่น ป้องกันกำจัดโดยเก็บเศษใบพืชทำลาย และติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองตลอดฤดูปลูก
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา