ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงผึ้ง

โดย : นายนิกร กวงคำ วันที่ : 2017-04-03-11:22:12

ที่อยู่ : บ้านคอกหมูป่า ม.7 ตำบลสันนาเม็ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อก่อนทำงานอยู่บริษัทเบียร์สิงห์ จะให้ทำไร่ทำสวนควบคู่ไปด้วยไม่ไหวแน่ๆ มีที่ดิน 4 ไร่ เลยปลูกลำไยทั้งหมด เพราะไม่ต้องดูแลมากมาย ทุกปีลำไยออกดอกมากก็จริงแต่ไม่ติดลูก จึงขอให้เพื่อนเอาลังผึ้งมาวางไว้ในสวนเพื่อช่วยผสมพันธุ์ ได้ผลตามคาด ปีนั้นลำไยติดลูกดก ทำไปทำมาเพื่อนดันย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่สะดวกจะเอาผึ้งไปด้วย ทิ้งลังเลี้ยงผึ้งและอุปกรณ์ไว้ให้ดูต่างหน้า”

 

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

แหล่งของผึ้งที่จะนำมาเลี้ยงมาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

-จากธรรมชาติ
โดยการทำรังล่อไปวางไว้ในแหล่งที่มีผึ้งและเป็นที่ร่มรื่นใกล้แหล่งอาหาร ด้วยการปักเสาหลักสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อวางรังล่อโดยทาฝารังด้านในด้วยไขผึ้งหลังจากมีผึ้งเข้ามาอาศัย จึงเคลื่อนย้ายไปยังลานเลี้ยงต่อไป

-จากแหล่งเลี้ยงผึ้ง
ผึ้งที่ซื้อมาเลี้ยงควรเป็นผื้งที่มีความสมบูรณ์สูง และมีครบทุกวัยทำงาน มีปริมาณเกสรน้ำผึ้งมาก นางพญาวางไข่ดี

-จับผึ้งป่ามาเลี้ยง
1. จัดมาเลี้ยงในคอน โดยเลี้ยงในพื้นที่เดิม 2-3 วัน แล้วเคลื่อนย้ายไปสถานที่ต้องการใน เวลากลางคืน
2. การเพิ่มจำนวนของผึ้งในแต่ละรัง ต้องคัดเลือกนางพญาผึ้งให้มีการวางไข่ได้อย่างสม่ำเสมอมีการตัดแต่งรัง การรวมรัง และการขยายวงจรในการวางไข่
3. เพิ่มความแข็งแรงและความสมบูรณ์ให้กับรังด้วยการให้อาหารเสริมในช่วงที่ผึ้งขาดแคลนอาหาร บางครั้งจะต้องเคลื่อนย้ายรังไปยังแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ เช่น สวนมะพร้าวหรือมะม่วงที่กำลังออกดอก
4. การเก็บน้ำผึ้งจากคอน ให้สังเกตดูที่ส่วนบนของคอน ถ้าพบว่ามีสีขาวขุ่นแสดงว่ามีน้ำผึ้งอยู่ภายใน ใช้มีดกรีดรวงผึ้งเป็นรูปตัวยูแล้วเลือกส่วนบนที่ติดกับสันคอนออก นำไปใส่ผ้ากรองที่มีถังรองรับ คอนฝึ้งที่ถูกตัดน้ำผื้งออก ให้นำกลับไปเลี้ยงตามเดิม หลังจากนั้นผึ้งก็จะสร้างรวงขึ้นมาใหม่ภายใน 1-2

อุปกรณ์ ->

วัสดุ/อุปกรณ์
คอนประกอบด้วยลังเลี้ยง ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 27x45x21 ซ.ม. ที่เกาะรวงผึ้งประกอบด้วย ไม้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 21x24x3 ซ.ม. ภายในขึงด้วยลวด 4-5 เส้น

วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้ง
-ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
-แผ่นฐานรวง
-เหล็กงัดรังผึ้ง
-กระป๋องรมควัน
-อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  • อุปกรณ์การทำงานประกอบด้วย
         1.ชุด ใช้รองเท้าบูตยาว, กางเกงยีนส์(หรือผ้าหนาหน่อย)ขายาว ให้ปลายกางเกงอยู่ด้านนอกรองเท้า แล้วเอายางรัดไว้กันผึ้งมุดเข้ากางเกง, เสื้อกันหนาวหนาๆ(หรือแบบที่มีฟองน้ำบุข้างใน), ถุงมือยางแบบหนา, หมวกปีกกว้าง และถุงตาข่ายครอบศีรษะ ใช้ผ้าแบบบางๆที่ใช้ตัดเสื้อก็ได้ ขอให้มองทะลุได้สะดวกก็พอ โดยใส่ยางยืดไว้รัดรอบๆคอเสื้อด้วย
         2.อาวุธประจำกาย
               a.เหล็กงัด เป็นแผ่นเหล็กแบน กว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาว 1 ฟุต หนาสัก 2 ม.ม. ดัดเป็นรูปตัว L ให้ปลายด้านสั้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ใช้สำหรับงัดฝารัง หรือแยกคอนรังออกจากกัน เนื่องจากเวลาผึ้งสร้างรัง มันจะใช้ขี้ผึ้งเชื่อมอุดตามรอยต่อต่างๆ ทำให้ใช้มืองัดยาก หากไม่มีเหล็กกว้าง 1 นิ้วก็ใช้เหล็กกว้าง 1 ซ.ม.มาเชื่อมต่อกัน 2 อันก็ได้
                b.เครื่องพ่นควัน จะทำให้ผึ้งไม่บินไปมา เพราะโดยสัญชาติญาณของผึ้ง เมื่อเกิดไฟไหม้มันจะเกาะรอบๆรังเพื่อป้องกันรังและตัวอ่อน(แม้ตัวมันจะต้องตาย) ดังนั้นเครื่องพ่นควันจึงเป็นอาวุธสำคัญของเรา แต่หากเป็นช่วงเช้าๆ หรือค่ำๆอาจไม่ต้องใช้ก็ได้เพราะผึ้งยังไม่ดุ แต่ช่วงสายๆ-บ่าย หรือแดดจัดๆ อากาศร้อนๆ ผึ้งจะค่อนข้างดุ เราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นควันช่วยทำงาน

    เครื่องพ่นควันประกอบด้วย
          1. กระบอกสูบลม ทำจากไม้ 2 แผ่นยึดด้านล่างเข้าด้วยกัน(แต่ให้พับไปมาได้) มีสปริงตรงกลางเพื่อดันให้แผ่นไม้แยกออกจากกัน ใช้ผ้าพลาสติกหนา(ที่มีผ้าบุข้างในจะทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย)หุ้มโดยรอย ด้านล่างแผ่นไม้ด้านหนึ่งเจาะรูเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เพื่อดูดลมเข้า และเป่าลมออก
            2. กระป๋องควัน ใช้กระป๋องนมผงก็ได้ เจาะรูด้านล่าง(สำหรับลงเข้า) กับด้านบน(สำหรับให้ควันออก) แต่ให้อยู่ตรงข้ามกัน รูด้านบนต่อท่อยื่นออกมาสัก 2 นิ้ว จากนั้นยึดทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน โดยให้เว้นช่องจากกระบอกสูบลมให้ห่างจากช่องของกระป๋องควัน 1 นิ้ว(ห้ามเอาชิดกัน หรือต่อท่อหากันโดยเด็ดขาด เพราะจะไม่มีลมเข้า)

            สำหรับเชื้อเพลิงผลิตควันนั้นจะใช้ใบไม้แห้ง, แกลบ หรือกาบมะพร้าวก็แล้วแต่จะหาได้ แต่กาบมะพร้าวจะได้ควันดี และติดง่าย และอยู่นานกว่า
  •  

     

    • 3.การให้อาหาร ปกติแล้วผึ้งจะออกหาอาหารกินเอง อาหารของพืชแบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ คือน้ำหวาน กับเกสรดอกไม้ ซึ่งในช่วงหน้าหนาวที่มีดอกไม้ออกมา โดยเฉพาะต้นงิ้วจะมีดอกมาก และมีน้ำหวานมากเป็นอันดับหนึ่งของพืชทั้งหมดที่สังเกตมา น้ำผึ้งที่ได้จะมีลักษณะเหลืองใส ไม่ข้นมาก แต่ในช่วงหน้าฝน และหน้าแล้งอาหารจะหายาก เราจะต้องหาอาหารมาให้มัน โดยใช้น้ำตาลมาละลายน้ำ ใส่ในคอนใส่น้ำเชื่อม และให้ถั่วเหลืองผงแทนเกสรดอกไม้
              a.คอนใส่น้ำเชื่อม เป็นคอนที่ใช้ไม้อัดประกอบขึ้นมาเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆ มีช่องด้านบน ด้านในจะใช้เทียนหรือขี้ผึ้งต้มให้ละลายแล้วเทเคลือบข้างในกันน้ำเชื่อมซึมออกมา แล้วเอาคอนใส่ในรัง เวลาจะเติมน้ำเชื่อมก็เปิดฝารังแล้วเติมน้ำเชื่อมลงไป
              b.ถั่วเหลืองผง ใส่ถาดวางไว้บนโต๊ะหรือเก้าอี้ที่พันขาด้วยผ้าชุบน้ำมันเครื่องกันมดขึ้น และอาจทำหลังคาเผื่อหน้าฝนไว้ด้วย โดยตั้งไว้ใกล้ๆหน้ารังผึ้ง

      4.ศัตรูผึ้ง
                a.ตัวต่อ จะเข้าไปกินตัวอ่อน แก้ไขได้โดยกำจัดรังต่อโดยไปทำลายรัง(ชาวบ้านคงเต็มใจช่วยเอาลงมากิน) หรือดักจับตัวต่อ แล้วเอามาคลุกใส่ DDT ผงเล็กน้อย(เอา DDT ใส่ถุงนิดหน่อย แล้วเอาต่อใส่ถุง เขย่าพอให้ DDT ติดตัวต่อ แต่ระวังเหล็กในมันด้วย มันสามารถแทงทะลุถุงมือยางได้อย่างสบาย) แล้วปล่อยมันไป เมื่อกลับไปรังก็จะทำให้ต่อในรังตายไปด้วย ทำแบบนี้ไปซักพักก็จะหมดปัญหา
                b.ไรผึ้ง ต้องหายามาฉีดพ่น

      5.การเพิ่มคอน
      เวลาที่เราซื้อรัง(หรือยืม)มา เราจะมีคอนอยู่ 3-4 คอน เพื่อเลี้ยงไปซักพักจำนวนผึ้งจะเริ่มมากขึ้น หากเห็นว่าผึ้งเกาะกันเต็มทุกคอน หรือสร้างรังขึ้นมาเองนอกคอน แสดงว่าคอนที่มีเริ่มไม่พอ เราก็ต้องทำคอน และใส่แผ่นรังเทียมลงไป รูปแบบของคอนน่าจะทำได้จากคอนต้นแบบที่ได้มาเป็นตัวอย่าง เทคนิคในการทำคอนก็คือ ลวดที่ใช้ควรใช้ลวดปลอดสนิม ไม่งั้นเวลาเอามาใช้ครั้งต่อไปจะต้องได้เปลี่ยนลวดเพราะสนิมขึ้น วิธีการติดรังเทียมใส่คอนก็คือ
              1.หาแผ่นไม้เรียบ หนาสัก 1 ซ.ม. ขนาดเท่ากับรังเทียม(หรือเล็กกว่านิดหน่อย) และทำให้แผ่นไม้ลอยสูงจากพื้นขึ้นมาสัก 1 นิ้ว
               2.วางรังเทียงลงบนแผ่นไม้
               3.วางคอนที่ขึงลวดแล้วลงไปด้านบนของรังเทียม ซึ่งน้ำหนักของคอนจะทำให้ลวดชิดกับผิวรังเทียม
               4.นำแบตเตอร์รี่ขนาด 6 โวลต์ มา 1 ลูก ต่อสายไฟขั้ว + และ – ออกมาขั้วละเส้น ที่ปลายลวดให้เอาไปพันกับตะปูขนาดกลาง ให้เทปพันลวดกับตะปูให้แน่น และอาจพันนิดหน่อยเพื่อกันความร้อน ถ้ามีหม้อแปลงก็สามารถแปลงไฟบ้านมาใช้ได้เลย
               5.ใช้หัวตะปู(ด้านที่บานนะครับ ไม่ใช่ด้านปลายแหลม) ทั้ง 2 อันจิ้มลงไปที่ลวด โดยให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 ซ.ม.(แล้วแต่ความร้อน และความชำนาญ) และกดลงไปนิดหน่อย ซึ่งกระแสไฟจะทำให้ลวดร้อน และจมลงไปในรังเทียม ให้ลวดจมลงไปจนถึงกลางแผ่นแล้วจึงยกตะปูออก 1 อัน(อีกอันกดไว้กันลวดเด้งกลับคืน) รอไม่กี่วินาทีให้ขี้ผึ้งเย็นตัว แล้วจึงทำจุดต่อไป
  •  

     

    • 3.การให้อาหาร ปกติแล้วผึ้งจะออกหาอาหารกินเอง อาหารของพืชแบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ คือน้ำหวาน กับเกสรดอกไม้ ซึ่งในช่วงหน้าหนาวที่มีดอกไม้ออกมา โดยเฉพาะต้นงิ้วจะมีดอกมาก และมีน้ำหวานมากเป็นอันดับหนึ่งของพืชทั้งหมดที่สังเกตมา น้ำผึ้งที่ได้จะมีลักษณะเหลืองใส ไม่ข้นมาก แต่ในช่วงหน้าฝน และหน้าแล้งอาหารจะหายาก เราจะต้องหาอาหารมาให้มัน โดยใช้น้ำตาลมาละลายน้ำ ใส่ในคอนใส่น้ำเชื่อม และให้ถั่วเหลืองผงแทนเกสรดอกไม้
              a.คอนใส่น้ำเชื่อม เป็นคอนที่ใช้ไม้อัดประกอบขึ้นมาเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆ มีช่องด้านบน ด้านในจะใช้เทียนหรือขี้ผึ้งต้มให้ละลายแล้วเทเคลือบข้างในกันน้ำเชื่อมซึมออกมา แล้วเอาคอนใส่ในรัง เวลาจะเติมน้ำเชื่อมก็เปิดฝารังแล้วเติมน้ำเชื่อมลงไป
              b.ถั่วเหลืองผง ใส่ถาดวางไว้บนโต๊ะหรือเก้าอี้ที่พันขาด้วยผ้าชุบน้ำมันเครื่องกันมดขึ้น และอาจทำหลังคาเผื่อหน้าฝนไว้ด้วย โดยตั้งไว้ใกล้ๆหน้ารังผึ้ง

      4.ศัตรูผึ้ง
                a.ตัวต่อ จะเข้าไปกินตัวอ่อน แก้ไขได้โดยกำจัดรังต่อโดยไปทำลายรัง(ชาวบ้านคงเต็มใจช่วยเอาลงมากิน) หรือดักจับตัวต่อ แล้วเอามาคลุกใส่ DDT ผงเล็กน้อย(เอา DDT ใส่ถุงนิดหน่อย แล้วเอาต่อใส่ถุง เขย่าพอให้ DDT ติดตัวต่อ แต่ระวังเหล็กในมันด้วย มันสามารถแทงทะลุถุงมือยางได้อย่างสบาย) แล้วปล่อยมันไป เมื่อกลับไปรังก็จะทำให้ต่อในรังตายไปด้วย ทำแบบนี้ไปซักพักก็จะหมดปัญหา
                b.ไรผึ้ง ต้องหายามาฉีดพ่น

      5.การเพิ่มคอน
      เวลาที่เราซื้อรัง(หรือยืม)มา เราจะมีคอนอยู่ 3-4 คอน เพื่อเลี้ยงไปซักพักจำนวนผึ้งจะเริ่มมากขึ้น หากเห็นว่าผึ้งเกาะกันเต็มทุกคอน หรือสร้างรังขึ้นมาเองนอกคอน แสดงว่าคอนที่มีเริ่มไม่พอ เราก็ต้องทำคอน และใส่แผ่นรังเทียมลงไป รูปแบบของคอนน่าจะทำได้จากคอนต้นแบบที่ได้มาเป็นตัวอย่าง เทคนิคในการทำคอนก็คือ ลวดที่ใช้ควรใช้ลวดปลอดสนิม ไม่งั้นเวลาเอามาใช้ครั้งต่อไปจะต้องได้เปลี่ยนลวดเพราะสนิมขึ้น วิธีการติดรังเทียมใส่คอนก็คือ
              1.หาแผ่นไม้เรียบ หนาสัก 1 ซ.ม. ขนาดเท่ากับรังเทียม(หรือเล็กกว่านิดหน่อย) และทำให้แผ่นไม้ลอยสูงจากพื้นขึ้นมาสัก 1 นิ้ว
               2.วางรังเทียงลงบนแผ่นไม้
               3.วางคอนที่ขึงลวดแล้วลงไปด้านบนของรังเทียม ซึ่งน้ำหนักของคอนจะทำให้ลวดชิดกับผิวรังเทียม
               4.นำแบตเตอร์รี่ขนาด 6 โวลต์ มา 1 ลูก ต่อสายไฟขั้ว + และ – ออกมาขั้วละเส้น ที่ปลายลวดให้เอาไปพันกับตะปูขนาดกลาง ให้เทปพันลวดกับตะปูให้แน่น และอาจพันนิดหน่อยเพื่อกันความร้อน ถ้ามีหม้อแปลงก็สามารถแปลงไฟบ้านมาใช้ได้เลย
               5.ใช้หัวตะปู(ด้านที่บานนะครับ ไม่ใช่ด้านปลายแหลม) ทั้ง 2 อันจิ้มลงไปที่ลวด โดยให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 ซ.ม.(แล้วแต่ความร้อน และความชำนาญ) และกดลงไปนิดหน่อย ซึ่งกระแสไฟจะทำให้ลวดร้อน และจมลงไปในรังเทียม ให้ลวดจมลงไปจนถึงกลางแผ่นแล้วจึงยกตะปูออก 1 อัน(อีกอันกดไว้กันลวดเด้งกลับคืน) รอไม่กี่วินาทีให้ขี้ผึ้งเย็นตัว แล้วจึงทำจุดต่อไป
  •  
  •  

ข้อพึงระวัง ->

เวลาขนย้ายเขาจะให้ขนตอนเย็นหลังจากที่ผึ้งกลับเข้ารังหมดแล้ว เมื่อขนมาถึงที่แล้วให้รอเริ่มสว่างแล้วจึงเปิดตาข่ายทางเข้ารัง

    เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
    กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

    โทรศัพท์ :
    Email :
    ที่อยู่ :

    เกี่ยวกับเรา