ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมันฝรั่ง

โดย : นายโกศล นันติแก้ว วันที่ : 2017-04-03-10:57:22

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 367 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่แฝก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มันอลูหรือมันฝรั่งเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลแม่แฝกและแม่แฝกใหม่ ซึ่งปลูกมานานประมาณ 30 ปีแล้วสาเหตุที่มีความสนใจเพราะปลูกง่าย  บริษัทประกันราคา รายได้ดี ระยะเวลาปลูกสั้น โรคแมลงมีปัญหาน้อย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 เตรียมพันธุ์ ใช้ที่ปลูก พันธุ์แอตแลนติค (Atlantic)เป็นพันธุ์สำหรับแปรรูปเป็นมันทอดแผ่นบาง (Potato Chip) มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 - 120 วัน ทรงต้นตั้งตรง พุ่มหนำ ใบใหญ่สีเขียวเข้ม หัวกลมขนาดกำนกลางถึงเล็กผิวสีเหลืองอ่อนเป็นร่างแหเล็กน้อย เนื้อสีขาวครีม ให้ผลผลิตสูง

2 การปลูกมันฝรั่งนั้นสามารถปลูกทั้งหัว หรือผ่าหัวพันธุ์ออกเป็นชิ้น ๆ การปลูกทั้งหัวจะมีข้อดี คือ จะมีอำหารสะสมที่จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดีกว่า และผลผลิตจะสูงกว่าการปลูกด้วยหัวพันธุ์ที่ผ่าเป็นชิ้น แต่ข้อเสีย คือ สิ้นเปลืองหัวพันธุ์มากอาจถึงประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่

3 การเตรียมดินให้ไถดินลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ตากดินไว้ก่อนปลูก 10 - 15 วัน หากดินเป็นกรดมากควร ใช้โดโลไมท์หว่านให้ทั่วแปลง อัตรา 200 - 500 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดของดิน (ค่ำ pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5) จากนั้นไถพรวนอีก2-3 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุยดี จึงยกร่องหรือยกแปลงปลูก  การปลูก สามารถปลูกได้ 3 วิธีคือ การปลูกแบบแถวเดี่ยวไม่ยกร่อง การปลูกแบบแถวเดี่ยวยกร่อง และการปลูกแบบ ยกแปลงปลุกแบบแถวคู  การยกแปลงปลุกแบบแถวคู่ จะยกแปลงปลูกขนำดกว้าง 1-1.2 เมตร ยาวตามพื้นที่ ขุดหลุมปลูกแถวคู่บนหลังแปลง ระยะระหว่างแถว 40 - 80 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 30 - 40 เซนติเมตรใส่ปุ๋ยคอก 800-1000 กก./ไร่และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ รองก้นหลุมวางหัวพันธุ์ลงในหลุมแล้วกลบดินหนำ 5-10 เซนติเมตรไถกลบดินในแปลง 2 รอบ

               2.4 การใส่ปุ๋ยให้มันฝรั่งเป็น 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 -150กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก

ครั้งที่ 2 เมื่อมันฝรั่งอำยุได้ 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่เป็นแถวข้างต้นพร้อมกับพูนดินกลบโคนต้นสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร เนื่องจากหัวมันฝรั่งเกิดจากลำต้นใต้ดินที่เรียกว่าไหล ซึ่งอกออกมาจากส่วนโคนของลำต้น ตรงส่วนปลายของไหลนี้จะพองตัวออกทำหน้าที่เก็บสะสมอำหารเป็นหัวมันฝรั่ง แต่ถ้ำไหลนี้เกิดโผล่พ้นดินขึ้นมาก็จะเจริญเป็นลำต้นมีใบตามปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพูนดินกลบโคนต้นเพื่อให้มีการลงหัวดีรวมทั้ง เป็นการป้องกันไม่ให้หัวมันฝรั่งถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้หัวเกิดสีเขียวไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือโรงงาน

ครั้งที่ 3 เมื่อมันฝรั่งอำยุได้ 30 วัน ใส่ปุ๋ยโปตัสเซี่ยมซัลเฟต อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ โดยใส่โรยเป็นแถวพร้อมกับพูนดินกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง

2.5 มันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ความถี่ของการให้น้ำจะ ผันแปรตามระยะการเจริญเติบโตของมันฝรั่ง ในระยะแรกหลังจากปลูกมันฝรั่งต้องการน้ำน้อย และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อต้นเจริญเติบโตคลุมดินเต็มที่ และต้องการปริมาณน้ำมากจนต้นฝรั่งแก่ดังนั้นช่วงแรกปลูกควรให้น้ำปริมาณ น้อยเพียงพอแก่กำรงอกเท่านั้นถ้ำน้ำมากเกินไปอาจทำให้หัวพันธุ์ที่ปลูกเน่าเสีย หลังมันฝรั่งงอกแล้วให้น้ำปริมาณมากขึ้นและสม่ำเสมอ หลังจากที่มันฝรั่ง ลงหัวแล้วถ้ำได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอจะให้หัวที่มีลักษณะผิดปกติ การให้น้ำโดยทั่วไป ใช้วิธีปล่อยน้ำไปตามร่องให้น้ำไหลซึมไปสู่บริเวณราก เกษตรกรอาจช่วยตักรดได้ ให้ดินมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ทำให้ผิวไม่สวยและมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย เมื่อใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวควรงดให้น้ำก่อนขุดประมาณ 2 สัปดาห์

6 ควรทำการกำจัดวัชพืชไปพร้อมกับการใสปุ๋ยและพูนโคน การพ่น สารเคมีคุมกำรงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น เมทริบูซิน (เซ็งคอร์) ฉีดพ่นหลังจากปลูกมันฝรั่งเสร็จก่อนงอก จะลดปริมาณวัชพืชลงได้มาก ช่วงที่มันฝรั่งลงหัวแล้วไม่ควรพรวนดินกำจัดวัชพืช จะทำให้หัวมันฝรั่งได้รับกำรกระทบกระเทือน ทำให้หัวเกิดรอยแผลได้ โรคและแมลงที่เป็นศัตรูของมันฝรั่งที่สำคัญ ๆมี ดังนี้

โรคใบไหม้ เริ่มแรกแผลบนใบเป็นจุดช้ำฉ่ำน้ำ มีลักษณะกลม จะลุกลามขยายเป็นแผลใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งสีน้ำตาล ขอบแผลเปียกชื้นสีดำ เนื้อเยื่อใบรอบ ๆ ขอบแผลมีสีเหลืองซีดและฉ่ำน้ำ ในสภาพอากาศชื้นจะปรากฏเส้นใยและสปอร์สีขาวหรือเทาที่วงรอบนอกของแผลด้านท้องใบ แผลจะเริ่มปรากฏตรงปลายหรือริม ๆ ขอบใบ ขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตร ถึง 3-4 เซนติเมตร กรณีที่เป็นโรครุนแรงใบจะแห้งและดำ จะเกิดแผลเน่าแห้งสีน้ำตาลแก่หรือสีดำตามแนวของลำต้นและกิ่งก้าน เมื่อเป็นมากจะหักพับและแห้งตาย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา