ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรอินทรีย์

โดย : นางอำไพ ก้อนติ วันที่ : 2017-03-14-11:09:16

ที่อยู่ : 23/1 ม.1 ต.ห้วยทราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อก่อนพ่อแม่ทำเกษตรโดยใช้สารเคมี ต่อมาได้รู้จักการทำเกษตรอินทรีย์จากสื่อและการส่งเสริมจากภาครัฐ จังหันมาทำเกษตรอินทรีย์ 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตข้าวอินทรีย์

ข้าวอินทรีย์คืออะไร
    ข้าวอินทรีย์เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีในทุกขั้นตอน เกษตรกรสามารถใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดต่าง ๆ จากพืชที่ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตผลข้าวมีคุณภาพดี

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการทำอย่างไร
   1. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นทที่ขนาดใหญ่ติดต่อกัน หากเป็นพื้นที่ใช้สารเคมีมาก่อนควรตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน
   2. พันธุ์ข้าว มีคุณภาพดี เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตและผลผลิตดี
   3. เมล็ดพันธุ์ ได้จากการปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ไม่คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เมล็ดสะอาดปราศจากโรคแมลง และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในกรณีที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปกติ
   4. การเตรียมดิน ไถดะไถแปร ตากแดดไม่ใช้สารควบคุมวัชพืช
   5. วิธีปลูก ควรพิจารณาสภาพพื้นที่และการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าการปลูกโดยวิธีปักดำและหว่านข้าวแห้งเป็นวิธีการที่เหมาะสม
   6. การจัดการดิน ไม่เผาฟางข้าวและตอซัง ควรไพกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
   7. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้อินทรียวัตถุ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ที่เกษตรกรทำเองในพื้นที่
   8. การจัดการน้ำ ตามระยะเวลาเจริญเติบโตของต้นข้าว
   9. จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าว ปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว
   10. การควบคุมวัชพืช โดยการเตรียมดินอย่างดี
11. การควบคุมศัตรูพืช การใช้วิธีเขตกรรม ใช้พันธุ์ต้านทาน กำหนดช่วงปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมและการปลุกวงจรชีวิต เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว
12. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึงเป็นช่วงที่เหมาะสม และนวดลดความชื้นทำความสะอาดเมล็ด
13. การเก็บรักษาผลผลิต ควรแยกจากข้าวธรรมดา ตากแดด ลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์  และเก็บรกัษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่ดีในยุ้งฉางเฉพาะ ไม่ปะปนกับข้าวธรรมดา ควรเก็บข้าวอินทรีย์ในรูปของข้าวเปลือก แปรสภาพเป็นข้าวกล้องหรือข้าวสารตามที่ต้องการ
14. การแปรสภาพข้าว จากข้าวเปลือกอินทรีย์เป็นข้าวสาร โดยใช้เครื่องสีสำหรับการสีข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ หากจำเป็นต้องใช้โรงสีแปรสภาพข้าวธรรมดา ควรทำความสะอาดเครื่องสี และ/หรือแปรสภาพข้าวอินทรีย์ก่อนข้าวธรรมดา
15. การบรรจุหีบห่อ บรรจุในถุงพลาสติก ขนาด 1 - 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเฉื่อย หรือสูญญากาศ
การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการผลิตที่เป็นระบบและต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบการปฏิบัติและคุณภาพผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องมีการปฏิบัติเสมอตลอดฤดูการผลิตและเกษตรกรควรหาความรู้ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลาดข้าวอินทรีย์ /
ประเทศ การผลิตข้าวอินทรีย์จึงต้องมีการตรวจสอบรับรองระบบการผลิต ตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา