ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอผ้า

โดย : นางปอยดี จันหม้อ วันที่ : 2017-03-24-15:18:18

ที่อยู่ : 54/6 ม.5 บ้านดงดำ ต.ฮอด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง เป็นการทอด้วยเครื่องทอขนาดเล็ก โดยใช้เข็มขัดคาดหลัง (เข็มขัดหรือสายคาดหลังอาจทำด้วยผ้า แผ่นหนัง หรือเชือกที่มีความแข็งแรง  การทอผ้าทั่วไปจะใช้เสาแข็งแรง 4 เสา เพื่อขึงเส้นด้ายยืนให้ตึง แต่การทอด้วยกี่เอวใช้การขยับเคลื่อนตัวของผู้ทอ บังคับเส้นด้ายยืนให้ตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการ

วัตถุประสงค์ ->

อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ฝ้าย  เป็นพืชที่ชาวบ้านปลูกไปพร้อม ๆ กับการปลูกข้าว ใช้เวลาประมาณ   6 - 7 เดือน จึงเริ่มเก็บดอกฝ้ายมาผึ่งให้แห้ง นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนที่จะย้อมสี แล้วนำไปทอเป็นผ้าผืน

อุปกรณ์ ->

1. แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์

2. ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้ว

3. ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

4. ไม้แยกด้าย (กงคู๊) ไม้แยกด้าย ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร

5. ไม้ไบ่หรือว้าบัง เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน

6. ทะคู่เถิง คือ ไม้ไผ่เจาะรูทั้ง 2 ข้างสำหรับยึดเครื่องทอ

7. เส่ยถึง คือ ไม้ใส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ 1 นิ้ว

8. ลุงทุ้ย คือ ไม้ม้วนด้ายพุ่งใช้สำหรับสอดด้ายพุ่ง

9. คองญ่ายฆ่อง คือ ไม้สำหรับยันเท้าสำหรับควบคุมให้ด้ายยืนตึง หรือย่อนในระหว่างทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะทอผ้าจะต้องมีการเตรียมเครื่องทอผ้าตั้งแต่การปั่นด้าย การกรอด้าย การตั้งเครื่องทอผ้า การขึ้นด้าย มีขั้นตอนการทำดังนี้

1.1.1           การปั่นด้าย อุปกรณ์ในการปั่นด้ายผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรี ประกอบด้วย หลอดกรอด้าย และ

เครื่องมือกรอด้าย หลอดกรอด้าย เดิมชาวกะเหรี่ยงใช้วิธีม้วนด้ายด้วยมือให้เป็นก้อน ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติกแทน มีความยาวขนาด 10 เซนติเมตร

1.1.2           การกรอด้ายขวาง ด้ายขวางเป็นด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืน ทำให้เกิดลวดลายต่างๆเรียกว่า

ลุงทุ้ย ใช้ด้ายพันกับไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

1.1.3           ตั้งไม้เครื่องทอกี่เอว หลังจากปั่นด้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายมาขึ้นด้าย

1.4 การขึ้นด้าย หรือการขึ้นเครื่องทอกี่เอว เป็นการนำเอาเส้นด้ายมาเรียงต่อกันอย่างมีระเบียบตาม

แนวนอน โดยพันรอบกับส่วนประกอบของเครื่องทอ และก่อนที่จะมีการขึ้นด้ายจะต้องมีการเตรียมเส้นด้ายด้วยการปั่นด้าย การตั้งเครื่องทอ การเรียงเส้นด้าย การเปลี่ยนไม้เป็นเครื่องทอ

2. การทอผ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เริ่มต้นคล้องด้ายลงที่หลักที่ 1 สาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2,3,4,5,6,7 นำไปคล้องที่หลักที่ 8 และสาวมาคล้องที่หลักที่ 1

2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน นำมาพันรอบหลักที่ 2

3. ดึงด้ายให้ตึงเสมอกันพาดผ่านด้านหน้าของไม้หลักที่ 3 ถึงไม้หลักที่ 4 เป็นจุดแยกด้าย โดยใช้ด้ายสีขาว

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเส้นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างเส้นด้ายเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกเส้นด้ายผ่านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอ ดึงเส้นด้ายผ่านด้านหน้าหลักที่ 4

4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันให้ตึง พาดผ่านหลักที่ 5,6 พันอ้อมหลักที่ 7

5. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพร้อมอ้อมหลักที่ 8 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่

6. สอดไม้ทั้งหมดออกจากเครื่องทอ และนำไม้ไบ่ 1 อัน สอดเข้าไปแทนไม้ใส่ตะกอที่ 1 นำไม้ไบ่ 2 อันเข้า

สอดเปลี่ยนไม้ใส่ตะกอที่ 2 และไม้ใส่ตะกอที่ 3 ซึ่งต้องใช้ช่วยแยกด้ายเวลาทอแกะดอก ส่วนไม้ไบ่ที่ 2 ใส่กระบอกไม้ไผ่แทน 1 อัน


 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา