ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสาน "ต่า คา" หรือ กระจาด ชาวกะเหรี่ยง

โดย : นายทัศนพันธ์ อรุณแดนดง วันที่ : 2017-03-05-06:07:35

ที่อยู่ : 28/3 หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสัเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสาน "ต่า คา" หรือ กระจาด เป็นเครื่องใช้ประจำวันของชาวกะเหรี่ยง.เอาไว้เก็บของใช้ประเภท ด้าย หรือของใช้พวกครัวเรือนเช่น จำพวกกระเทียม หอม พริก ผลไม้ต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำมาจากไม้ไผ่จับสานเช่นเดียวกันกับกระติกข้าว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเผยแพร่กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการจักสาน "ต่า คา" หรือ กระจาด เป็นวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

จะมี ไผ่สีสุก และหวาย ส่วนเครื่องมือในการทำงานที่จำเป็น ได้แก่ มีดโต้ และเลื่อยมือ สำหรับตัดผ่าแบ่งไม้ 

การสานตะกร้าเริ่มจาก การเตรียมอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วย ไม้ไผ่สีสุก สำหรับจักสานเป็นตอก และขอบตะกร้า, หวายสำหรับถักรัดขอบกระจาด  ที่เลียดสำหรับทำเส้นหวายให้มีขนาดตามที่ต้องการ, มีดหรือพร้าสำหรับผ่า เหลาและจักไม้ไผ่ให้เป็นตอก ขอบปากและไผ่ขัดก้นตะกร้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น 

อุปกรณ์ ->

1.       แคาะ" หรือ มีด

2.       ไม้ไผ่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ขั้นตอนแรก นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม. แล้วผ่าแบ่งก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน จากนั้นนำตอกมาสานเป็นลายสองธรรมดา แล้วเหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียว ก่อนจะนำไปสอดขัดกับตอกที่สานเป็นพื้นเพื่อให้แข็งแรง งานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นกระจาด
          จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการก่อนจะใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนจนสุดขอบปากตะกร้า ก่อนจะพับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม 
          การสานขอบกระจาด  เริ่มจากผ่าเส้นหวายออกเป็น 4-5 เส้นต่อหนึ่งต้นก่อนจะนำมาเลียดด้วยที่เลียดซึ่งทำอย่างง่ายๆ โดยใช้ตะปูเจาะฝากระป๋องนม เป็นรูขนาดต่างๆ เมื่อเลียดจนได้หวายตามที่ต้องการจึงนำมาสานเป็นขอบกระจาด  การถักสานขอบกระจาด เริ่มจากร้อยเส้นหวายยึดขอบที่ประกบปากกระบุงทั้งด้านนอกและด้านในจากจุดเริ่มต้นวนไปเรื่อยๆ จนชนกัน แล้วถักหวายรัดช่วงล่างปากขอบอีกครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

งานจักสานเป็นงานละเอียด ต้องใจเย็น และงานจักสานเป็น วิถี ชีวิตของคนชนบท ความรู้ทางด้านจักรสานยังมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ความรู้นั้นอยู่ในภูมิปัญญาของผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ผู้แก่ หากมีวิธีทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจ งานภูมิปัญญาแขนงนี้ ก็จะอยู่คู่กับสังคมไทย อันเป็นการสานต่อให้สืบทอดต่อไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา