ความรู้สัมมาชีพชุมชน

หมอตำแย

โดย : นางเผลอะชิ คอแอะ วันที่ : 2017-03-04-23:32:08

ที่อยู่ : 90/1 หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสัเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพหมอตำแย เป็นภูมิปัญญาและกรรมวิธีที่ได้รับการถ่ายทอด ทั้งความเชื่อ วิธีการขั้นตอน และตำรายา ที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ  ถึงแม้ปัจจุบัน
จะมาการคลอดที่โรงพยาบาลเป็นส่วนมาก  แต่อาชีพหมอตำแยก็ยังเป็นภูมิปัญญาที่ควรแก่การอนุรักษ์มิให้สูญหายไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เปลือกพิกุล
2.พังกราบ
3.รากมะเขือ (หึน)
4.จันทร์หอมทั้งต้น
5.เปลือกไม้นอล

เพราะภายหลังการคลอดลูกแล้ว เพื่อให้มดลูกหดตัว (เข้าอู่) เร็ว ในช่วงการอยู่ไฟ 40 วัน จะต้องกินยา ซึ่งมีส่วนผสมในอัตราส่วน 1 :1

อุปกรณ์ ->

 หม้อดินสำหรับต้มยา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ขั้นตอนที่ 1 ระยะก่อนคลอด
- สังเกตดูอาการผู้ป่วยว่าเจ็บมากน้อยแค่ไหน?
- ใช้มือคลำดูตัวเด็กว่าหันหัวลงแล้วหรือยัง?
- สังเกตดูระยะเวลาที่เจ็บ/ปากมดลูกเปิดหรือยัง?
- สังเกตระยะห่างของหัวเด็กกับปากช่องคลอด
- การปลอบฝันและให้กำลังใจ

ขั้นตอนที่ 2 ระยะกำลังคลอดและแรกคลอด
- ขณะที่กำลังคลอด ต้องระมัดระวังที่คางของเด็ก ซึ่งมักจะติดทำให้แม่เบ่งไม่ออก
- ต้องใช้มือถือคางเด็กไว้ในขณะกำลังคลอดเพื่อไม่ให้เด็กร้อง (ถ้าปล่อยให้เด็กร้องขณะที่กำลังคลอด ตัวของเด็กจะใหญ่ขึ้น เป็นอันตรายกับแม่)
-หลังจากเด็กออกมาแล้ว กรณีที่รกติดต้องใช้มือข้างหนึ่งถือสายสะดือเด็กไว้เพื่อดึงรกออก มืออีกข้างหนึ่งให้กดและคลึงที่หน้าท้องของแม่
-หมอตำแยต้องคอยดูแลผู้ป่วยเรื่องอาหารและยาอย่างใกล้ชิด เช้า- ค่ำ ตลอดช่วงระยะอยู่ไฟ ครบ 7 วัน อาหาร พริกไทยบด กับ ปลาละมา ปลาช่อนแห้ง
-การก่อไฟต้มน้ำ ต้มยาให้ใช้ไม้พลา ไม้นอล ลอกเปลือกออก และให้นำใบน้ำข้าว ใบกล้วยน้ำ ใบขมิ้น มาใส่หม้อต้มน้ำสำหรับอาบในช่วงระยะการอยู่ไฟ 

ขั้นตอนที่ 3 ระยะครบ 7 วัน พ้นขีดอันตราย (วันฝังกุล หรือ วันผลักก้อนเส้า)
-วันฝังกุล หรือวันผลักก้อนเส้าญาติจะต้องเตรียมด้ายและหมากพลู 1 คำ สำหรับหมอไว้ด้วย
-การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ยังเหมือนกับในระยะที่ ๒

ขั้นตอนที่ 4 ระยะครบ  40 วัน
- แม่เริ่มหัดนวดข้าว เพื่อฝึกขมิบช่องคลอดและจัดระเบียบมดลูกให้เข้าอู่
-ของต้องห้ามเริ่มกินได้ นอนกับสามีได้

ข้อพึงระวัง ->

อาหารแสลง/ต้องห้าม

ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาดุก แกงหอย (ทำให้คางแข็ง) ปลาโสด
อาหารที่ให้รับประทานได้ในช่วงอยู่ไฟ
ปลาละมา (ปลาเค็มแห้ง) ปลาช่อนแห้ง เนื้อหมู ไก่
โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยหลังคลอด
ผู้ป่วยหลังคลอดเป็น “เรียน” ลักษณะอาการเป็นบ้า ไข้ขึ้นสูง เพ้อ คลั่ง สาเหตุเพราะเลือดไหลเวียนขึ้นศีรษะ วิธีรักษา ต้องบีบ นวด คบก้อนเส้า และต้องนำอาหารแสลงที่ผู้ป่วยกินเข้าไปมาแก้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา