ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์ พระราชทาน 80

โดย : นายโพนธิกุน มูลควร วันที่ : 2017-03-04-17:01:59

ที่อยู่ : 114 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสัเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สตรอเบอรีพันธุ์ พระราชทาน 80 หรือ รหัส 01-16 ได้ถูกคัดเลือกครั้งแรกในฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. 2545 ที่แปลงทดลองของสถานีวิจัยดอยปุย (พิกัดที่ตั้ง 18 ° 48’ 39’’ N, 98° 53’ 5’’ E สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการนำเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเพาะและปลูกทดสอบ ตามโปรแกรมการผสมพันธุ์ของโครงการวิจัย การผสมพันธุ์และคัดเลือกสตรอเบอรี (รหัสโครงการที่ 3025 - 3038 ระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2545 งบประมาณวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง)

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเผยแพร่กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการการปลูกสตรอเบอรี่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นกล้าสตรอเบอรี่ พันธุ์ พระราชทาน 80

อุปกรณ์ ->

1.       ปุ๋ย

2.       ยาฆ่าแมลงและเชื้อรา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลือกพื้นที่ปลูก การเลือกพื้นที่ปลูกตองคํานึงถึง คือ สภาพของดิน ควรเปนดินรวนซุย มีการระบายน้ำดีเนื่องจากสตรอเบอรี่จะเปน โรคและตายไดงายในสภาพที่ถูกน้ำทวมขัง รวมถึงความอุดมสมบูรณของดิน ควรตรวจหาความอุดมสมบูรณของดิน เพื่อหาปริมาณ ธาตุอาหารที่เปนประโยชนตอสตรอเบอรี่กอนจะปลูก ซึ่งเปนการแกไขปญหาในดาน ความไมสมบูรณของสตรอเบอรี่ที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารไดอยางดี และที่สำคัญชนิดของพืชที่เคยปลูกมากอนในแปลงเชื้อสาเหตุของโรคหลายชนิดมีที่พืชอาศัย ไดกวาง สามารถอยูในดินไดนาน อาศัยตามเศษซากพืชที่ปลูกอยูกอน ดังนั้นกอนที่จะ ปลูกสตรอเบอรี่จะตองสํารวจปริมาณและชนิดของเชื้อที่มีอยูในดิน เพื่อใชประกอบใน การตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกใหเหมาะสม

 

การเตรียมพื้นที่ปลูก ด้วยการไถดินและตากแดดทิ้งไวประมาณ 2 สัปดาหเพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุ ของโรคที่มีอยูในดิน วัชพืช รวมถึงไสเดือนฝอยที่อาศัยอยูในดินดวย 4.2.2 แบงแปลงสําหรับเปนที่ปลูกสตรอเบอรี่และใชเปนทางเดิน แลวทําการยกรองใน สวนที่จะเปนแปลงปลูกเพื่อผลิตไหลใหมีขนาดความกวางประมาณ 1-1.5 เมตร ทางเดินมีขนาดความกวางประมาณ 50 เซนติมตร และใหแปลงปลูกมีความสูง ประมาณ 15-20 เซนติเมตร 4.2.3 บนแปลงปลูกควรไถพรวนดินใหมีลักษณะรวนซุยและใหมีระดับความลึก ประมาณ 50 เซนติเมตรเพราะรากของสตรอเบอรี่สามารถหยั่งลงไปในดินไดในระดับนี้

 

นิยมที่จะยกรองปลูกโดยมีระยะปลูกระหวางตนประมาณ 25-30 เซนติเมตร และระยะระหวางแถวประมาณ 45 เซนติเมตร บนรองปลูกมีความกวาง 1.1-1.2 เมตร โดยจะ ปลูกแบบ 2 แถวคู เพราะสะดวกในดานการปฏิบัติทางดานเขตกรรมตางๆ เชน การใหน้ำการ ใหปุยฯลฯรวมทั้งโอกาสที่ผลจะเปนโรคต่อการปลูกตนไหลลงในหลุมปลูก ระดับความลึกในการปลูกของตนไหลนับวาสําคัญ ที่สุดผูปลูกจะตองปลูกในระดับเดิมของโคนตนอยูในระดับผิวดินของแปลงปลูก หามปลูกตื้น หรือลึกเกินไปจากระดับเดิม เพราะการปลูกตื้นจะทําใหรากลอยขึ้นมาระดับเหนือดินทําใหราก แหงเร็ว ตนจะเจริญชาไมสมบูรณและอาจตายไดสวนการปลูกลึกเกินไปก็ทําใหยอดเนา เมื่อปลูกสตรอเบอรี่ตั้งแตเดือนกันยายน จนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม ตนสตรอเบอรี่จะ ผลิตตนไหลออกมาเรื่อยๆ ใหเด็ดหรือตัดตนไหลออกใหหมดทุกตน เนื่องจากสตรอเบอรี่จะ ชะงักการสรางตาดอกจะสงผลใหผลผลิตต่อ  นอกจากนี้ใบแกของสตรอเบอรี่ ตนไหลและตา ดอกที่ติดมากับตนก็ควรเด็ดทิ้งกอนปลูกดวย และระบบรากที่ยาวเกินไปควรตัดแตงใหเหลือ ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งจะทําใหตนสตรอเบอรี่สรางรากไดเร็วขึ้น ทําใหตนตั้งตัวไดเร็ว

ข้อพึงระวัง ->

การใช้ปุ๋ยเคมีต้องตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด   คือ ปุยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กก./ไร + ปุยซุปเปอร ฟอสเฟต (045-0) อัตรา 20 กก./ไร + ปุยโปรแตสเซียม ซัลเฟต (0-0-60) อัตรา 15 กก./ไร (ผสมใหเขากันแลว หวานกอนไถพรวน)

และใช้ สูตร 12-24-12 อัตรา 10-12 กรัม/ตน 1 ครั้ง (อัตรา ปุยที่ตองการในระยะนี้คือ 1N-1.4P-1.1K) ระยะหลังการย้ายปลูก  ส่วนระยะการเก็บเกี่ยวใช้ปุยสูตร 12-6-18 อัตรา 10-12 กรัม/ตน 2 ครั้ง (2 สัปดาห ตอครั้งอัตราปุยที่ตองการในระยะนี้คือ 1.8N-1P-2.5K)

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา