ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตเส้นใยฝ้าย

โดย : นางอนุรัตน์ เกิดพนา วันที่ : 2017-03-04-15:45:28

ที่อยู่ : 28/3 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสัเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระบวนการผลิตเส้นใยฝ้ายนั้นเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนาน พัฒนาจนเหมาะสมกับวิถีชีวิตคนไทยในสังคมเกษตรกรรม สามารถนำภูมิปัญญาดังกล่าวมาสร้างเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

 เพื่อเผยแพร่กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีผลิตเส้นใยฝ้ายเพื่อนำไปถักทอเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 ฝ้าย  เป็นพืชที่ชาวบ้านปลูกตามไร่หรือตามรั้วบ้าน  ใช้เวลาประมาณ   6 - 7 เดือน ก็สามารถให้ผลผลิตได้

อุปกรณ์ ->

1. แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์

2. ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้ว

3. ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

4. ไม้แยกด้าย (กงคู๊) ไม้แยกด้าย ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร

5. ไม้ไบ่หรือว้าบัง เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน

6. ทะคู่เถิง คือ ไม้ไผ่เจาะรูทั้ง 2 ข้างสำหรับยึดเครื่องทอ

7. เส่ยถึง คือ ไม้ใส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ 1 นิ้ว

8. ลุงทุ้ย คือ ไม้ม้วนด้ายพุ่งใช้สำหรับสอดด้ายพุ่ง

9. คองญ่ายฆ่อง คือ ไม้สำหรับยันเท้าสำหรับควบคุมให้ด้ายยืนตึง หรือหย่อนในระหว่างทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. การเก็บปุยฝ้าย
        เมื่อสมอฝ้ายแก่แตกเป็นปุยและแห้งเต็มที่ในช่วงฤดูหนาว ชาวบ้านจะช่วยกันเก็บใส่ ถุงย่าม ตะกร้า หรือ กระบุง คัดเลือกเฉพาะปุยฝ้ายที่แก่เต็มที่ ดึงปุยฝ้ายออกจากกลีบสมอ ระวังไม่ให้เศษใบไม้ติดปนมาด้วย โดยคัดเลือกเก็บปุยฝ้ายที่สะอาด ไม่ชื้นหรือมีเชื้อรา มิฉะนั้นปุยฝ้ายจะเสียหายทั้งกระบุง ต่อจากนั้นจะนำปุยฝ้ายมาเทใส่กระด้ง เพี่อตรวจคัดเศษใบไม้หรือกลีบสมอที่หักร่วงปนมากับปุยฝ้ายออก ให้เหลือแต่ปุยฝ้ายที่สะอาด

2. การตากปุยฝ้าย
       เพื่อให้ปุยฝ้ายแห้งสนิทและป้องกันเชื้อราจึงต้องตากปุยฝ้าย โดยใส่ปุยฝ้ายในกระด้งขนาดใหญ่เกลี่ยให้พอเหมาะ ไม่ซ้อนทับกันหนาจนแสงแดดส่องไม่ทั่วถึง จะต้องหมั่นพลิกปุยฝ้ายเป็นระยะ ๆ

3. การคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย
        ปุยฝ้ายที่สะอาดและแห้งสนิทดีนั้น ยังมีเมล็ดฝ้ายอยู่ข้างในจึงต้องคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า  อีดฝ้าย  อิ้วฝ้าย หรือ หีบฝ้าย เครื่องมือนี้ทำจากไม้เนื้อแข็ง  โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยส่วนฐานเป็นแผ่นไม้กระดานหนาพอประมาณต่อกันคล้ายรูปอักษร  T ในภาษาอังกฤษ  ในส่วนหัวของอักษร T จะมีหลักไม้ทรงสี่เหลี่ยม  หลักไม้นี้ในบางท้องถิ่นอาจแกะสลัก ตกแต่งสวยงามเป็นยอดแหลมหรืออาจเป็นยอดมนเกลี้ยงเรียบ ๆ หลักไม้สูงประมาณ  14-16นิ้วเท่ากันทั้งสองด้านเพื่อเป็นหลักของฟันเฟือง  ซึ่งเป็นไม้  2  ท่อนขนานกัน ส่วนด้านซ้ายทำเป็นเกลียวฟันเฟืองด้วยการบากไม้ให้เป็นร่องสัมพันธ์กัน ใช้ไขมันสัตว์  เช่น  ไขมันวัว  ไขมันควาย เป็นน้ำมันหล่อลื่น  ส่วนช่วงตรงกลางระหว่างหลักนั้นเป็นไม้ทรงกลมเกลี้ยงขนานชิดกัน  ไม้ฟันเฟืองนี้ส่วนด้านขวามือจะยาวไม่เท่ากัน  ท่อนบนจะสั้นกว่าส่วนท่อนล่างจะยาวกว่า และต่อไม้แป้นที่จับหมุนเพื่อให้ฟันเฟืองหมุนเคลื่อนไป

4. อีดฝ้าย  อิ้วฝ้าย หรือ  หีบฝ้าย    

       นั้นจะทำโดยการนำปุยฝ้ายที่ตากแห้งสะอาดดีแล้วมาใช้มือหนึ่งจับที่จับ  ค่อย ๆ หมุนฟันเฟืองไปอย่างต่อเนื่อง  อีกมือจับปุยฝ้ายที่เตรียมไว้ใส่เข้าไประหว่างไม้กลมเกลี้ยงขนานชิดกัน  ซึ่งมีฟันเฟืองอยู่ด้านนอก  ส่วนที่เป็นปุยฝ้ายจะถูกหนีบลอดข้ามไปหล่นลงตะกร้าหรือกระบุงที่เตรียมไว้ ส่วนเมล็ดก็จะร่วงลงพื้นทำต่อเนื่องไปจนหมด  

 การปั่นฝ้ายหรือหลาปั่นฝ้าย      

 5. การปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นใยฝ้ายจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  กงปั่นฝ้าย  หรือ  หลาปั่นฝ้าย การปั่นฝ้ายนี้ภาษาท้องถิ่นทางภาคอีสานเรียกว่า  การเข็นฝ้าย         การปั่นฝ้าย หรือ  หลาปั่นฝ้าย  ส่วนโครงสร้างทำจากไม้เนื้อแข็ง ส่วนวงล้อนั้นประกอบจากซี่ไม้ไผ่  โครงสร้างส่วนฐานประกอบจากท่อนไม้คล้ายตัวอักษร  T  โดยส่วนหัวมีเสาหลัก  2  ข้างเข้าต่อเป็นเดือยทะลุฐาน ข้างหนึ่งสั้นกว่าเพื่อให้เอียงเข้าหาด้านผู้ปั่น   ส่วนเสาหนักที่ทะฐานขึ้นไปจะยาวเท่ากัน  โดยส่วนกึ่งกลางจะเจาะทะลุใส่คานแกนของวงล้อปั่นฝ้าย  วงล้อนี้จะทำด้วยซี่ไม้ไผ่มัดประกอบกันด้วยเส้นเชือก  มีลักษณะคล้ายวงล้อจักรยาน  ที่คานแกนกลางวงล้อนี้จะต่อยาวออกมาเป็นที่จับสำหรับหมุนปั่นฝ้ายส่วนฐานอีกด้านหนึ่งเข้าเดือยไม้อีกชิ้นหนึ่ง  ซึ่งมีหลักเตี้ย ๆ ขึ้นไปเป็นคานใส่เหล็ก  ด้านหนึ่งยื่นเป็นปลายแหลมเข้าหาด้านผู้ปั่นฝ้าย  เหล็กปลายแหลมนี้เรียกว่า ไน  ซึ่งหมุนโดยแรงเหวี่ยงของเส้นเชือกที่ผูกโยงรอบวงล้อมาหาแกนของเหล็กไน   เมื่อหมุนวงล้อ  เหล็กไนก็หมุนไปด้วย

ข้อพึงระวัง ->

การตากปุยฝ้ายต้องให้ปุยฝ้ายแห้งสนิท และสม่ำเสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา