ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ผ้าทอปกาเกอญอ

โดย : นางสุจิตร ใจมา วันที่ : 2017-03-02-16:51:21

ที่อยู่ : 99/1 หมู่ที่ 5 ตำบลป่าแป๋

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ต้องการสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

วัตถุประสงค์ ->

สร้างงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ฝ้ายประดิษฐ์

2.ฝ้ายดิบ

3.สีจากธรรมชาติ

อุปกรณ์ ->

1.แผ่นหลัง หรือกี่เอว

2.ไม้สำหรับพันผ้า

3.ไม้กระทบหรือหน่อทาแพะ

4.ไม้ช่วยแยกด้าย หรือลู่ทุ่ย

5. ไม้หน่อแซะ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนการทอผ้า การทอผ้าของกะเหรี่ยงก่อนที่จะขึ้นเครื่องทอ จ าเป็นจะต้องก าหนดวัตถุประสงค์ของการทอก่อนว่าจะ ทอเพื่อใช้ท าอะไร เช่น ทอย่าม ทอเสื้อ ทอผ้าถุง ฯลฯ และต้องก าหนดขนาดไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก ลักษณะของเครื่องนุ่งห่มของชนเผ่ากะเหรี่ยง เป็นการน าผ้าแต่ละชิ้นมาเย็บประกอบกันโดยไม่การตัด (ยกเว้น ความยาว) ดังนั้นการทอผ้าแต่ละครั้งจึงต้องกะให้ได้ขนาดที่จะน ามาเย็บ แล้วสวมได้พอดีตัว กะเหรี่ยงไม่มี เครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานในการวัด จึงต้องใช้วิธีกะประมาณ โดยอาศัยความเคยชิน การกะขนาดของผ้าที่จะ ทอแต่ละครั้ง ผู้ทอจะยึดรูปร่างของตนเป็นมาตรฐานว่า เมื่อขึ้นเครื่องทอเพื่อทอเสื้อของตนต้องเรียงด้ายสูง ประมาณเท่าไหร่ของไม้ที่เสียบบน ไม้ขึ้นเครื่องทอ เช่นประมาณว่า "ครึ่งไม้" หรือ "ค่อนไม้" เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อ ต้องทอให้ผู้อื่นจึงต้องเพิ่ม หรือลดขนาดของด้ายลง โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากรูปร่างของผู้ทอดังกล่าว ปกติแล้วความกว้างของผ้าที่ทอได้มีขนาดเพียง ๑ ใน ๔ ของรอบอก ผู้สวมใส่ อย่างหลวม ๆ ถ้าทอผ้าห่มความ กว้างอาจเท่ากับ ๑/๒ หรือ ๑/๓ ของความกว้างที่ต้องการก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการน าไปประกอบเป็น เครื่องนุ่งห่ม เช่น ผืนผ้าที่ทอจะเท่ากัน ๔ เท่าของความยาวแท้จริงของเสื้อ หรือชุดยาวก็จะทอผ้าขนาด เดียวกัน คือ ๒ ผืน โดยแต่ละผืนมีความยาว ๒ เท่าของความยาวที่แท้จริง เป็นต้น เครื่องทอผ้าไม่มีหลักฐานที่ แสดงว่าแต่เดิมรูปแบบของการทอผ้าของกะเหรี่ยง เป็นแบบใด แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันพบว่า เป็นแบบทอมัดเอว หรือห้างหลังเช่นเดียวกับการทอผ้าของละวะ และลาหู่

การขึ้นเครื่องทอ เป็นการน าเส้นด้ายมาเรียงกันอย่างมีระเบียบตามแนวนอนขนานไปกับไม้ขึ้น เรียงล าดับไว้ ดังนี้ การเรียงด้ายจะใช้จ านวนคู่ เช่น ๒ เส้น หรือ ๔ เส้นครบก็ได้หากต้องการผ้าหนา เช่น ผ้าห่ม ก็ใช้ด้ายไป แยกที่ตะกอเป็น ๒ ส่วน ๆ ละ ๒ เส้น หากเป็นเส้นด้ายพื้นเมืองปั่นเอง ปกตินิยมใช้ด้ายยืนเพียงเส้นเดียว เวลา เรียงใช้ ๒ เส้นควบ หากเป็นด้ายส าเร็จรูป จะใช้ด้ายยืน ๒ เส้นเวลาเรียงใช้ ๔ เส้นควบ จ านวนด้ายอาจเพิ่ม มากขึ้น ในกรณีที่เป็นการทอผ้าลายนูนตามแนวยาว เช่น การทอเสื้อของผู้ชายสูงอายุของกะเหรี่ยง จะใช้ด้าย ยืนปกติ คือ ๑ เส้น เวลาเรียงใช้ ๒ เส้นควบ เมื่อถึงเวลาจะเพิ่มด้ายยืนเป็น ๒ หรือ ๓ เส้น ฉะนั้นเวลาเรียง ด้ายต้องใช้ ๔ หรือ ๖ เส้นควบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ

การเรียงด้าย มีขั้นตอนดังนี้ -คล้องด้ายที่หลักที่ ๑ และสาวด้ายทั้งหมดผ่านหลักที่ ๒, ๓, ๔ และ * น าไปคล้องหลัก ที่ ๖ และสาวกลับมาคล้องหลักที่ ๑ -ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันและน ามาพันรอบหลักที่ ๒ ตามแนวเข็มนาฬิกา -ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันมาทางด้านหน้าหลักที่ ๓ ซึ่งเป็นจุดแยกได้โดยใช้ด้ายอีก กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างด้ายที่แยกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน ด้ายส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอ แยกผ่านด้านหลังหลักที่ ๔ และส่วนที่คล้อง ตะกอดึงผ่านด้านหน้าหลักที่ ๔ -รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ดึงให้ตึงสาวพันอ้อมหลักที่ ๕ ตามแนวเข็มนาฬิกา -ดึง ด้ายทั้งหมดให้ตึงพันอ้อมหลักที่ ๖ และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ ๑ ใหม่ หากต้องการสลับสีก็เปลี่ยนด้ายกลุ่มใหม่เป็นสีที่ต้องการ โดยเริ่มตั้งแต่หลักที่หนึ่งเช่นกัน ท าหมุนเวียนไป เช่นนี้เรื่อย ๆ จนด้ายที่เรียงมีความสูงเท่ากับความกว้างของผ้าทีต้องการใช้ -ถอดไม้ทั้งหมดออกจากไม้ขึ้นเครื่องทอ และน าไม้หน่อสะยาสอดเข้าไป เก็บตะกอแทน ไม้กรุ๊โผ่ (หลักที่ ๖) ซึ่งต้องใช้ส าหรับช่วยแยกด้ายเวลาทอ จากนั้นน าเครื่องทอทางด้านไม้รั้งผ้าไปผูกยึดกับฝา หรือเสาระเบียงบ้าน โดยให้ได้ระดับความสูงประมาณศีรษะของผู้ทอขณะที่นั่งราบกับพื้น ส่วนทางด้านไม้พัน ผ้า น าแผ่นหนังมาอ้อมรอบเอวด้านหลังของผู้ทอ และผูกรั้งหัวท้ายกับปลายทั้งสองของไม้พันผ้า พร้อมกับดึง เครื่องทอให้ตึงพอประมาณ โดยผู้ทอกระเถิบถอยหลังนั่งในต าแหน่งที่เหมาะสม

)การกรอด้ายขวาง ด้ายขวาง คือ ด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืนปกติแล้ว การทอผ้าของคนพื้นราบจะ กรอใส่หลอดด้าย และติดกระสวย น าสอดผ่านเข้าไประหว่างด้ายยืน แต่การทอของกะเหรี่ยงไม่มีกระสวย จึง ต้องใช้ด้ายพันไม้ขนาดยาวประมาณ ๑ ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร โดยมือซ้ายจับปลายไม้ ด้านหนึ่งวางทาบกับหน้าขาขวา ใช้มือขวาปั่นฝ้ายเข้าหาตัวโดยให้ด้ายผ่านเข้ามาระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง ของ มือซ้าย ท าเช่นนี้จนด้ายในไม้มีมากพอควรแล้ว จึงกรอใส่ไม้อันใหม่

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา