ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเรือจำลอง

โดย : นายยุทธภูมิ อินต๊ะริน วันที่ : 2017-02-28-17:10:06

ที่อยู่ : 101 หมู่ที่ 9 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปี 2540 มีการก่อตั้งกลุ่มโดยการนำเอากลุ่มชาวบ้านที่ทำไร่ทำนา และชาวบ้านที่ออกไปทำงานต่างถิ่นมารวมตัวกันประมาณ 8 ครอบครัว มาทำผลิตภัณฑ์จากไม้จามจุรี (เกมส์ไม้) และค่อยๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์มาเรื่อยๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า จนพัฒนามาเป็น “เรือจำลอง” ที่ทำจากไม้สักที่ต้องการของท้องตลาด และตลาดเป้าหมาย จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในรูปแบบของ “ภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” ได้สร้างชื่อเสียงให้กับทางกลุ่มหัตถกรรมเรือใบจำลองบ้านสบวิน และอำเภอแม่วาง

          เริ่มแรกกลุ่มหัตถกรรมเรือใบจำลองได้มีการประดิษฐ์เรือจำลองไม่กี่แบบ ต่อมาเมื่อทางกลุ่มได้ไปศึกษาดูงานที่อู่ต่อเรือและที่ต่างๆ จึงเกิดความสนใจและแนวคิดในการออกแบบเรือชนิดอื่น ขึ้นมาอีกหลายแบบ จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เรือจำลอง จำนวน 30 แบบ 60 ขนาด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการอนุรักษ์หัตถกรรมการทำเรือจำลอง
เพื่อเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้

กระดาษทราย

กาว

ขี้เลื่อย

ชาแล็ค

แล็คเกอร์

อุปกรณ์ ->

เลื่อยไฟฟ้า

เครื่องฉลุไม้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการผลิต ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ส่วนตัวท้องเรือ

1.      เตรียมไม้

2.      วาดแบบ

3.      ฉลุไม้เป็นโครงเรือ

4.      ขัดไม้ด้วยกระดาษทราย

5. นำไม้มาติดท้องเรือ

 6. ใช้กาวผสมขี้เลื่อยปิดรอยแยกให้สนิท

 7. ขัดด้วยกระดาษทรายหยาบ-ละเอียด

ขั้นตอนที่ 2  สร้างส่วนบนของเรือ

1.      เลื่อยแผ่นไม้ขอบข้างส่วนต่างๆ ของเรือ

2.      ขัดด้วยกระดาษทราย

          ขั้นตอนที่ 3  นำชิ้นส่วนมาประกอบตัวเรือ

1.      นำตัวเรือมาติดไม้ขอบข้าง

2.      นำส่วนประกอบทั้งหมดมาประกอบตามแบบ

3.      ทำขอบคิ้ว

4.      นำมาขัดให้ทั่วตัวเรือ

   ขั้นตอนที่ 4 ลงชาแล็ค

1.      ลงพื้นด้วยชาแล็ค

2.      ขัดด้วยกระดาษทรายให้ลื่น

3.      ใส่ขาตั้งโชว์

4.      พ่นแล็คเกอร์อีกครั้ง

  ขั้นตอนที่ 5 ประกอบส่วนบนของเรือ

1.      นำเสากระโดงมาประกอบกับตัวเรือ

2.      นำก้านใบของเรือมาทาแลคเกอร์

3.      ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบทาแลคเกอร์ซ้ำ

4.      นำไปขึ้นเสากระโดงเรือ

5.      ติดใบทำขอบโค้ง

6.      โยงด้ายเสากระโดงและใบเรือ

7.      เก็บรายละเอียด

8.      ส่ง QC ตรวจสอบ

ข้อพึงระวัง ->

- หลีกเลี่ยงความชื้น
- ชิ้นส่วนประกอบบางชิ้นมีขนาดเล็กต้องระมัดระวังในการประกอบ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา