ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายสายัณห์ คำทิพย์โพธิ์ทอง วันที่ : 2017-03-31-18:22:44

ที่อยู่ : 22/2 หมู่ที่ 5 ตำบลสะเมิงเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์/ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไก่พื้นเมือง

วัคซีน

อุปกรณ์ ->

โปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาด
การป้องกันโรคระบาดไก่ด้วยการทำวัคซีน โดยพยายามให้เกษตรกรรู้จักวิธีการใช้วัคซีน เพื่อป้องกันโรคระบาดอย่างถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองต่อครัวเรือนได้เป็นอย่างดี และทำให้มีไก่บริโภคได้ตลอดปี เนื่องจาก

-->

โรงเรือนไก่พื้นเมือง
โรงเรือนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึง แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะสร้างโรงเรือนแบบใด ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี
2. อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น
3. สร้างง่าย ประหยัดเงิน
4. ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
5. สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่

1. ลูกไก่ในช่วงอายุ 1-2 เดือน จะมีอัตราการตายสูงสุดคือ 11% ของไก่แรกเกิด หรือ 49% ของไก่ที่ตายทั้งหมด
2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายมากที่สุด คือโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหวัดหน้าบวม ไก่ที่ตายด้วยโรคนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 1-3 เดือน
3. การตายของไก่จะผันแปรไปตามฤดูกาล ลูกไก่ที่เกิดในฤดูฝน (มีนาคม-กรกฎาคม) จะมีอัตราการตายสูงกว่าลูกไก่ที่เกิดในเดือนอื่นๆ
4. ไก่พื้นเมืองในชนบทที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดและถ่ายพยาธิตามโปรแกรม มีอัตราการเลี้ยงรอด 77.6% ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 เดือน

ข้อควรระวังในการใช้วัคซีน
- ควรเก็บวัคซีนไว้ในที่เย็น ไม่ให้แสงแดดส่องถึง
- หลอดวัคซีนชำรุดไม่ควรนำมาใช้
- วัคซีนที่ผสมแล้วไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
- ควรฉีดวัคซีนให้ครบตามขนาด
- ไม่ควรฉีดวัคซีนแก่ไก่ที่กำลังเป็นโรค
วัคซีนจะให้ความคุ้มกันโรคได้ดีหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์

ตารางกำหนดการทำวัคซีน

ชนิดวัคซีน อายุไก่ วิธีใช้ ขนาดวัคซีน ระยะคุ้มโรค
1. นิวคาสเซิล เป็นวัคซีนชนิดอ่อนทำให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกัน 3-4 เดือน 1-7 วัน หยอดจมูกหรือตา 1-2 หยด ควรทำครั้งที่ 2 เมื่อไก่อายุ 21 วัน
2. ฝีดาษไก่ ตั้งแต่ 7 วัน ขึ้นไป แทงปีก 1 ซีซี คุ้มโรคตลอดไป
3. อหิวาต์ไก่ 30 วัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือผิวหนัง 1 ซีซี 3 เดือน
4. หลอดลมอักเสบ ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป หยอดจมูกหรือตา 1-2 หยด 3 เดือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

ข้อพึงระวัง ->

  1. ปัญหาด้านผลผลิตต่ำ มีสาเหตุมาจาก
    - ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่ดีต่อเนื่อง
    - การผสมแบบเลือดชิด คือ ผสมระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือพี่กับน้อง เป็นต้น มีผลให้สมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่รุ่นถัดมาต่ำลง
    - ใช้พ่อไก่คุมฝูงนานเกินไป ก่อให้เกิดอัตราการผสมแบบเลือดชิดเร็วยิ่งขึ้น และคุณภาพของน้ำเชื้อพ่อไก่เลวลง จำนวนลูกไก่ที่เกิดจึงมีน้อย
    - ใช้แม่ไก่ทำพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย และปล่อยให้ขยายพันธุ์นานเกินไป
    - อัตราการไข่และการฟักออกเป็นตัวในช่วงหน้าร้อนต่ำมาก ผู้เลี้ยงมิได้ให้ความสนใจและจัดการดูแลเพิ่มเติม
    - ไม่มีการให้อาหารเสริม โดยเฉพาะช่วงแม่ไก่ก่อนออกไข่ และลูกไก่ระยะแรก จึงเกิดความสูญเสียกับลูกไก่จำนวนมาก
    - แม่ไก่เลี้ยงลูกนานเกินไป ทำให้ได้จำนวนรุ่นของลูกไก่ต่อปีน้อย
  2. ปัญหาด้านอัตราการตาย มีสาเหตุมาจาก
    2.1 ไก่เจริญเติบโตดี แต่ยังมีการตายเกิดขึ้น อาจเนื่องจาก
    - ไม่มีการทำวัคซีน
    - ทำวัคซีนไม่ต่อเนื่อง
    - ชนิดของวัคซีนไม่เหมาะกับอายุไก่
    - ทำวัคซีนไม่ถูกเวลา ตัวไก่ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ในช่วงไก่อ่อนแอ หรือขาดอาหาร เป็นต้น
    - เก็บรักษาวัคซีนไม่ดี ทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือวัคซีนหมดอายุ
    - ไม่มีการให้ยาหรือสุขาภิบาลไก่เริ่มป่วย

2.2 ไก่มีการเจริญเติบโตไม่ดี แคระแกร็น และตายในที่สุด อาจมีสาเหตุจาก
- อาหารตามธรรมชาติขาดแคลน และไม่มีการให้อาหารเสริม
- มีตัวเบียนรบกวน ทั้งภายในและภายนอก
- ผลจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

รูปประกอบ -> image1 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา