ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไหม

โดย : นางนิธินันท์ เชียงตุง วันที่ : 2017-03-26-12:36:18

ที่อยู่ : 78 ม.9 ต.แม่นาวาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากเคยศึกษาเรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้หลายแห่ง ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่อำเภอแม่อาย และลักษณะสิ่งแวดล้อม ที่อาศัยอยู่ปัจจุบันสามารถเลี้ยงไหมได้ จึงได้ทดรองทำ

วัตถุประสงค์ ->

สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. อุปกรณ์การเลี้ยงไหม เช่น กระด้งเลี้ยงไหม มีด เขียง ตาข่ายถ่ายมูล จ่อ ตะแกรงร่อน ตะเกียง ถังน้ำ เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน รองเท้าแตะ สารโรยตัวไหม ปูนขาว 

2. ห้องเลี้ยงไหม สำหรับในส่วนของอุปกรณ์และห้องเลี้ยงไหมจะต้องทำความสะอาดโดยการล้างด้วยผงซักฟอกและตากแห้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และเป็นวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่ดีที่สุด ชาวบ้านสมพรรัตน์ส่วนใหญ่จะทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และคลุมด้วยมุ้งไนล่อนเพื่อป้องกันแมลง

3. ไข่ไหมพันธุ์ดี

 4. แปลงหม่อนที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บมาเลี้ยงไหม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        ผีเสื้อไหม

        ตัวผีเสื้อจะมีปี 2 ปี สีขาวปนเทาไม่มีปากแต่มีรอยเหมือนปาก ผีเสื้อตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ บินไกลไม่ได้ ลักษณะการบินเหมือนการกระโดดไกลๆอายุของผีเสื้อไหมมีช่วงเวลาที่สั้นมากภายหลังการผสมพันธุ์และออกไข่แล้วผีเสื้อไหมจะตายรวมเวลาแล้วประมาณ 2-3 วัน

         ผีเสื้อไหม หลังจากที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ประมาณ 250-500 ฟอง  แต่แม่พันธุ์1ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของผีเสื้อ

 ตัวหนอนไหม

         ตัวหนอนวัยที่  1-2  ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเล็กๆกินใบหมอนหั่นฝอยละเอียดอยู่ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวโตขึ้น หลังจากการลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา1วัน1คืน เรียกว่า “ไหมนอน” เมื่อครบกำหนดจึงกินอาหารต่อเป็นหนอนระยะที่สอง ประมาณ2-3วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง จากนั้นจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาก็จะเป็นหนอนระยะที่สาม

         ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่

         ตัวหนอนระยะที่ 4 นี่จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน  แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่  5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ  7-8  วันเป็นระยะที่หนอนไหมกินใบหมอนมาก

              เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม ทำให้ตัวหนอนไหมมีสีเหลืองเรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมสุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย ตัวโตใสและหยุดกินใบหมอนเริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรัง

          ตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น ”รังไหม” ที่เรานำมาสาวเส้นใย นำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง

          รังไหม

          รังไหมมีลักษณะกลมรี มีทั้งสีขาวและสีเหลืองขึ้นอยู่กับพันธุ์ของรังไหม รังไหมประกอบไปด้วย เส้นใยคือโปรตีนที่แข็งตัวซึ่งตัวไหมหลั่งออกมาจากต่อมที่ศีรษะเรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่ช่วยยึดให้ติดกันเป็นรังไหมที่เรียกว่า Serricin

  ตัวหนอนไหมจะเริ่มชักใยจากข้างนอนเข้าหาตัวเป็นรูปตัววี ตรงกลางคอดเล็กน้อย ใยไหมนี้จะขับออกมาจากต่อมที่ศีรษะสองต่อม ก่อนชักใยไหมตัวหนอนไหมจะงอตัวเองเข้าเป็นรูปเกือกม้า แล้วยกศีรษะส่ายไปมาเป็นรูปเลข8 จะชักใยออกมาครั้งแรกค่อนข้างยุ่งแล้วค่อยๆเรียงเป็นระเบียบขึ้นทุกที ไหมจะชักใยออกมาทีละสองเส้นพร้อมกัน ยึดติดกันเป็นเส้นเดียวกันโดยขี้ผึ้งหรือ Serricin ที่หุ้มเส้นใยแต่ละเส้น เมื่อแข็งตัวจะยึดติดกันแน่นดูเป็นเส้นเดียวหนอนไหมจะชักใยทำรังเสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง แล้วจะหยุดพัก มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาภายใน หนังเปลือกนอนของตัวหนอนจะแข็งแรงและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดูเหมือนไม่มีชีวิต เรียกว่า “ดักแด้” ตัวดักแด้นี้จะนอนอยู่ในรัง 10-12 วัน แล้วลอกคราบพัฒนาตัวเองอีกครั้งกลายเป็นผีเสื้ออยู่ภายในรัง เมื่อพร้อมก็จะพ่นน้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายเจาะรังไหมออกมาสู่โลกภายนอก       

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา