ความรู้สัมมาชีพชุมชน

วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

โดย : นายยงยุทธ์ ปันแก้ว วันที่ : 2017-02-28-13:03:35

ที่อยู่ : 31 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

                 -ได้มีโอกาสเข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ  ศูนย์การเกษตรห้วยฮ้องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  มีความสนใจการปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นพิเศษ จึงได้ทดลองมาปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยตน โดยการลองผิดลองถูก    วิธีนี้กำลังเป็นที่นิยม เพราะเป็นวิธีที่ขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น จากหน่อที่สมบูรณ์ ๑ หน่อ อาจขยายได้ถึง ๑๐,๐๐๐ ต้น ในเวลา ๑ ปี ถ้าหากมีการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอด วิธีนี้เหมาะสำหรับ  

การปลูกเพื่อการส่งออก เพราะว่าการส่งออกต้องการจำนวนต้นปลูกที่มีขนาดสม่ำเสมอ ปลูกพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีการเก็บเกี่ยวผลได้พร้อมๆ กัน และมีน้ำหนักมากกว่า ๑ ตันขึ้นไป สำหรับบรรจุ ใส่ตู้ขนส่งในการส่งออก เนื่องจากการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศนั้น ถ้ามีจำนวนน้อยจะไม่เพียงพอกับการส่งออก และไม่คุ้มกับการลงทุน

วัตถุประสงค์ ->

ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยเป็นวิธีการที่ไม่ยากนัก แต่ต้องลงทุนมาก เพราะจะต้องมีห้องที่ปลอดเชื้อ ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอาหารเพาะเลี้ยงที่มีสูตรอาหารพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่ของอาหารนั้นจะเลียนแบบอาหารที่พืชได้จากการปลูกแบบธรรมชาตินั่นเอง    

การตัดแบ่งเนื้อเยื่อ ต่อไปทุกเดือน จนเมื่อได้จำนวนมากพอแล้ว นำมาออกรากในอาหาร MS ที่ไม่มีฮอร์โมนประมาณ ๑ เดือน ต้นอ่อนของกล้วยก็จะออกรากพอประมาณ จึงนำย้ายออกปลูกในบรรยากาศธรรมชาติได้ โดยการนำขวดต้นอ่อนนั้นมาวางในบรรยากาศปกติก่อน ๒ - ๓ วัน เพื่อให้ต้นอ่อนปรับตัวเข้ากับบรรยากาศธรรมชาติ แล้วนำออกปลูกในเครื่องปลูกที่สะอาด ประกอบด้วยทราย : ดิน : ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ๑ : ๑ : ๑ อบฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๖ - ๘ สัปดาห์ หรือมีความสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงในแปลงได้

ข้อพึงระวัง ->

 

แมลงศัตรูที่สำคัญของกล้วยในประเทศไทยคือ
-ด้วงงวง (stock weevil) ด้วงงวง จะเข้าทำลายที่รากและเหง้ากล้วย ทำให้ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ใบเหี่ยวเฉา และตายในที่สุด ควรถางบริเวณโคนของกอกล้วยให้สะอาด อย่าให้รกหรือมีวัชพืช
-หนอนม้วนใบ (leaf roller) ผีเสื้อจะมาวางไข่ในใบยอดที่ยังไม่คลี่ หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนเจริญอยู่ในใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ ตัวหนอนจะกัดกินใบอ่อน ทำให้ใบแหว่ง เป็นรูพรุน หรือฉีกขาด และม้วนตัวอย่างรวดเร็ว จึงควรตัดใบที่ถูกทำลายมาเผาไฟให้หมด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา