ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักหวาน

โดย : นายบุญทา มังยะสุ วันที่ : 2017-04-12-11:52:54

ที่อยู่ : 160 หมู่ที่ 3 ตำบลสบเตี๊ยะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ใบใหญ่ยาวคล้ายใบมะตูมผิวขาวนวล ผลกลม ๆ เล็ก ๆ สีแดงรับประทานได้ มีขึ้นเอง ตามป่าราบ มีทุกภาคในประเทศไทย ใบอ่อน ใช้รับประทานได้เช่นใบผักหวานบ้าน แต่รสหวานดี กว่าผักหวานบ้านมาก การเก็บใบผักหวานไปรับประทานต้อง ใช้การสังเกตและพิจารณาให้ละเอียด โดยมีต้นไม้ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นเสน" เป็นไม้ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ลำต้นออกมีสี หม่น ๆ และใบหนากว่ากันเล็กน้อย ใบต้น เสนถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียน คอแห้งอ่อนเพลียหมดสติ ถ้ากำลังน้อยอาจตายได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 

 

วัตถุประสงค์ ->

การเก็บเกี่ยว

เมื่อผักหวานป่ามีอายุประมาณ 3 ปี จะเริ่มเก็บผลผลิต โดยการตัดยอดอ่อนยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ซึ่งจะเก็บผลผลิตประมาณเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ผักหวานออกมากที่สุดคือเดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน การเก็บยอดผักหวานป่าจะเก็บในช่วงเช้าถึงเที่ยง จากนั้นนำยอดผักหวานป่าที่เก็บมาจุ่มในน้ำที่สะอาดอย่างเร็วนำมาวางบนแคร่แล้วคลุมด้วยผ้าที่ชุบน้ำเพื่อไม่ให้ยอดผักหวานเหี่ยว

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูก 

ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมใช้ต้นอ่อนมา ปลูกในสวน ริมรั้วบ้านหรือที่ใกล้แหล่งน้ำ ปลูกเพียง 4-5 ต้นก็นำใบมาปรุง อาหารได้ 

ผักหวานป่า เป็นพืชป่าที่ปลูกค่อนข้างมาก มี ผู้ทดลองปลูกหลายวิธี เช่น 

1. นำเมล็ดที่ร่วงจากต้นใหม่ ๆ มา เพาะในถุงพลาสติกเมื่อเป็นต้นอ่อนแล้วย้ายไปปลูก ในหลุมดิน 

2. นำต้นอ่อนที่ขึ้นอยู่ในป่ามา อนุบาลในถุงพลาสติก เมื่อโตพอควรแล้วย้ายลง หลุมที่เตรียมไว้ 

3. ตัดกิ่งมาเพาะชำในถุงพลาสติก ตั้ง ไว้ในเรือนเพาะชำจนติดรากแล้วย้ายลง หลุมดิน 

อย่างไรก็ตามเมื่อย้ายต้นผักหวานจากที่เดิม ไปปลูกในหลุมดินที่เตรียมไว้ผักหวานมักเหี่ยว เฉาและตายในที่สุด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะรากผักหวานมีปมจับจุลินทรีย์ใน ดินเมื่อปมเหล่านี้กระทบกระเทือนผักหวานก็ตาย ใน

ปัจจุบันได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ค้นคิด ปุ๋ยจุลินทรีย์เร่งให้รากผักหวานผลิตปม จับธาตุอาหารให้แข็งแรง และสามารถเพาะผักหวานออก แพร่หลายอย่างได้ผลจนสามารถปลูกเป็นสวนต้น ผักหวานป่าได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา