ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

โดย : นางสมบูรณ์ เประดา วันที่ : 2017-03-08-13:10:25

ที่อยู่ : 33 หมู่ 8 ต.สันมะค่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางสมบูรณ์  เประดา มีอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนา แต่ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจตกต่ำ  จึงทำให้ราคาข้าวไม่ค่อยจะดี ดังนั้น จึงได้หันมาเข้าร่วมกับกลุ่มสตรีทอผ้าไหม ซึ่งในกลุ่มมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง ซึ่งเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เป็นรายได้เสริมในครัวเรือน แต่พอคนรู้จักมากขึ้น                  ก็มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาส่งเสริมอีก จึงทำให้เป็นอาชีพรองของภาคการเกษตร และทำให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากขึ้นในชุมชนทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น มีผลให้การดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และยังสนับสนุนให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แต่ละครอบครัวให้ได้มากที่สุด และเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย       ในแต่ละครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการขยาย เผยแพร่ไปตามหมู่บ้านใกล้เคียง และยังมีการแปรรูป       เส้นไหมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทำไหมแผ่น ทำไหมเพื่อสำหรับไว้ทอผ้า           เป็นต้น  ส่วนตัวดักแด้สามารถนำมาปรุงอาหาร และก็ยังสามารถขายได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

๑. การคัดพันธุ์ต้นหม่อนต้องแข็งแรง ลำต้นไม่มีแมลงเจาะ

๒. ตัดต้นหม่อนให้ได้ความยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ปักชำไว้ในถุงดำ หนึ่งต้นต่อหนึ่งถุง

๓. เมื่อปักชำจนรากงอกและมีใบติด ให้ย้ายไปปลูกในสวนที่เรามีพื้นที่ว่างๆ รดน้ำ

๔. รับไข่ตัวหม่อนจากกลุ่มสตรีทอผ้าไหม ๑ แผ่น รอจนไข่ตัวหม่อนแตกแล้วนำไปใส่ในกระด้งที่มีกระดาษรองอยู่ (เมื่อตัวหม่อนโตขึ้นจะได้ตัวหม่อนประมาณ ๒๐ กระด้ง) 

๕.  การให้อาหาร ให้นำใบหม่อนอ่อนมาซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยให้ทับตัวหม่อนจนทั่ว

๖. ทำชั้นเพื่อวางกระด้ง ทำให้ได้ประมาณ ๑๒ ชั้น และทำการเตรียมกระด้งไว้เพื่อให้      ตัวหม่อนเมื่อตัวหม่อนโตขึ้น

๗. ขยายตัวหม่อนออกใส่ในกระด้งให้ได้ประมาณ ๒๐ กระด้ง แล้วทำงานให้อาหาร เช้า กลางวัน เย็น โดยใช้ใบหม่อนไม่อ่อนและไม่แกเกินไป โรยให้ทับตัวหม่อนจนทั่ว ทำแบบนี้ทุกวันจนตัวหม่อนสุก (หม่อนสุกจะมีสีออก เหลืองส้ม)

๘. เมื่อตัวหม่อนสุกให้เก็บไปใส่ในจ่อแล้วนำผ้ามาคลุม เพื่อให้ตัวหม่อนได้สร้างรังไหม ประมาณ ๒ วัน แล้วทำการนำเอารังไหมออกจากจ่อ มาเตรียมไว้เพื่อทำการสาวไหม (นอกจากนี้ยังสามารถนำตัวหม่อนที่สุกไปขายได้ทันที กิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท)

๙. เตรียมหม้อต้มน้ำให้หม้อร้อนตลอดเวลา แล้วนำเอารังไหมลงไปต้มทำการสาวไหมจนรังไหมมีขาว ให้ทำการตักดักแด้ออกจากหม้อแล้วนำรังไหมใหม่ใส่ลงไปแทนครั้งละ   กำมือจนรังไหมหมด

ข้อพึงระวัง ->

เวลาเก็บตัวหม่อนสุกให้คำนึงถึงความนิ่มนวล ห้ามให้ตัวหม่อนสุกมีความบอบช้ำ     เพราะอาจจะทำให้ตัวหม่อนสุกตายได้ และควรเก็บตัวหม่อนสุกใส่จ่อให้เร็วที่สุด เพราะจะได้    เส้นไหมที่เยอะขึ้น

                                      เวลาสาวไหมต้องให้เส้นไหมมีเส้นที่ขนาดเท่ากันตลอด และพยายามอย่าทำให้เส้นไหมขาดขณะสาวไหม เพราะจะทำให้เส้นไหมไม่สวยงาม

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา