ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำที่นอนนุ่น

โดย : นางพิจิตรา ชัยชนะ วันที่ : 2017-08-25-16:40:44

ที่อยู่ : 22 หมู่ที่ 16 ต.งิ้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ที่นอนนุ่น ของดีของไทยอีกชิ้นหนึ่งที่ควรภาคภูมิใจ ไม่แพ้ผลิตภัณฑ์ หรือ
ภูมิปัญญาอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ควรหวงแหน รักษา และสืบทอดสิ่งดี ๆ นี้ไว้

วัตถุประสงค์ ->

ความสัมพันธ์กับชุมชน

 

แรงงานคือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่ม เตรียมสมาชิกให้ได้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้ตรงกันในการพัฒนาภูมิปัญญา สร้างชื่อเสียงสู่ชุมชน และวัตถุดิบการผลิตใช้วิตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน เช่น นุ่นที่มาจากต้นงิ้ว ที่ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ไว้ และแรงงาน ก็ใช้แรงงานของคนในชุมชน เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. นุ่น

2. ปลอกผ้า

3. ด้ายเย็บที่นอน 

4. กรรไกร 

5. พลาสติกคลุมที่นอน 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

5.1 การตีนุ่น นำนุ่นที่ได้มาจากต้นนุ่น(ต้นงิ้ว) ฝักนุ่นจะต้องแก่จัด จะมีสีน้ำตาล ฝักแตกออกเห็นใยนุ่น นำมาตากแดดให้แห้ง และแกะออกจากฝัก (ในฝักนุ่นมีทั้งเมล็ดนุ่น และใยนุ่นอยู่) พอนุ่นแห้งสนิทดีแล้ว นำเข้าเพื่อตีปั่นแยกเม็ดนุ่น แกนนุ่น และให้เหลือแต่ใยนุ่นเท่านั้น หลังจากนั้นจะนำใยนุ่นที่ได้ใส่กระสอบ พอเสร็จขั้นตอนการปั้นแยกใยนุ่นเรียบร้อยแล้ว จะนำใยนุ่นมาตากแดดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้นุ่นที่มีคุณภาพมากที่สุดในการผลิตหมอน และที่นอนนุ่นในลำดับต่อไป ส่วนเม็ดนุ่น นำมาแยกใส่กระสอบเพื่อนำไปทำน้ำมันดิบ หรือเพาะปลูกเป็นต้นนุ่นได้ใหม่ และแกนนุ่นที่ได้จากการแยกเรียบร้อยแล้ว นำมาใส่กระสอบเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ทำปุ๋ย แปรรูปอาหารสัตว์ เป็นต้น
5.2 การเย็บที่นอนนุ่น ใช้วัตถุดิบ คือ ผ้าไหมญี่ปุ่น มีคุณสมบัติ หนา เงา (ผ้าแจ๊คการ์ด) มีลวดลายบนเนื้อผ้า ระบายอากาศได้ดี และใช้ทนทาน ความหนาของเนื้อผ้าจะช่วยในการป้องกันฝุ่นคลุ้งได้อย่างดี ช่วยให้ฝุ่นไม่เกาะติดกับที่นอนง่าย ระบายอากาศได้ดี เพราะคุณสมบัติของผ้าเป็นผ้าเงา ช่วยให้เย็น นอนสบาย และใช้ทนทาน คือ เส้นด้ายที่ใช้ในการทอ มาเป็นผืนมีความคงทน แข็งแรง และหนาแน่น ใช้งานได้นานกว่า ๕ ปี ขึ้นไป ที่นอนสามารถทำขนาดตามสั่งได้
สีผ้าที่นอนมีให้เลือกหลากหลาย
โทนสีเข้ม ทำความสะอาดง่าย ไม่เปื้อนง่าย สีแดง(ขายดีมาก) สีน้ำเงิน(ขายดีรองลงมา) 
5.3 การเย็บที่นอน
จะต้องมีความประณีต พิถีพิถันด้วยฝีมือการเย็บมากด้วยปราบการณ์กว่า ๕๐ ปี ลวดลายที่นอนเป็นแบบลายไทย สำหรับที่นอนแบบท่อน และแบบชิ้นเดียว เป็นลายข้าวหลามตัด ส่วนที่นอนแบบสามพับแยกชิ้นกัน จะเป็นลายลูกระนาด ที่นอนทุกหลังมีลิ้นผ้าด้านในสำหรับเป็นช่องในการเย็บ และยัดให้เกิดลวดลายที่สวยงาม ไม่ยุบตัวและไม่ปวดหลัง
5.4 การทำหมอนและที่นอน 
นำผ้าที่ต้องการ มาเย็บขึ้นรูป แต่ละส่วน ตัดความกว้าง ความยาวไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดที่ต้องการใช้ และเผื่อสำหรับเย็บ หรือคัดริมขอบด้วย เช่น ถ้าต้องการ ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ก็ต้องตัดไปเผื่อประมาณ 105 เซนติเมตร เมื่อทำเสร็จ ขนาดก็จะเป็น 90 เซน
พอดี เป็นต้น จากนั้น นำผ้าที่เย็บติดกันแล้วมายัดนุ่น

ข้อพึงระวัง ->

การยัดที่นอน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ข้อมือที่แข็งแรง เป็นงานฝีมือของผู้ชำนาญงานมากกว่า ๕๐ ปี ต้องใช้แรงในการยัดนุ่นใส่ช่องลิ้นผ้าให้แน่น และเสมอกันทั้งพับของที่นอน วิธีการ คือ นำใยนุ่นที่ได้จากการผ่านขั้นตอนปั่นแยก นำมายัดใส่ในที่นอน ที่ทำการเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้วและมีลิ้นผ้าคอยกั้นให้เกิดความลวดลาย ในการยัดนุ่นจะต้องยัดให้แน่น ๆ ด้วยฝีมือของผู้มีความชำนาญงาน เพื่อให้เกิดลวดลายนูนบนที่นอน และที่นอนจะไม่ยุบตัวง่าย เหมาะสำหรับคนที่ปวดหลัง
สำหรับความหนาของที่นอน ขั้นต่ำ ประมาณ 3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา