ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นาย อุดร นันต๊ะ วันที่ : 2017-08-24-11:26:18

ที่อยู่ : 127 หมู่ 12 ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

                การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพหรืเพื่อการค้าจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่จำเป็นและที่สำคัญนับตั้งแต่ระยะลูกไก่จนถึงระยะให้ไข่ ดังนี้

  1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากมี 4 ชนิดดังนี้

1.1      ถาดอาหารขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร ( กว้าง x ยาว x สูง ) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7

วันได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น

                1.2  รางอาหาร รางอาหารทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติกทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองข้าง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรับลูกไก่  และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ก็ได้

                1.3  ถังอาหาร ถังอาหารไก่ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่

                1.4  รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่มถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว

  1. อุปกรณ์ให้น้ำ อุปกรณ์ให้น้ำไก่จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณืให้น้ำที่นิยม มีอยู่ 2

แบบ ดังนี้

2.1  แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเลสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ไปให้เพิ่มอีก 3 เท่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อไก่ 1 ตัว

2.2  แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้กันมากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระป๋องนมเปล่าที่เป็นอะลูมิเนียม เจาะรูที่ด้านเปิดให้ห่างจากขอบประม าณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว

3. เครื่องกกลูกไก่  เครื่องกกลูกไก่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการเลี้ยงลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในขณะที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่ซึ่งมีหลายแบบ ดังนี้

3.1  เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้สะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้อยแขวนกับเพดานสามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามความต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกกเมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน

3.2  เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรต การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟอินฟราเรต ซึ่งหลอดไฟอินฟราเรตขนาด 250 วัตต์  1 หลอดแขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45.60 เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้หลอดอินฟราเรตจำนวน 4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะไมาช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่ลูกไก่

3.3                              เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดีการให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง 2.25 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออก มาตามท่อกระจายไปทั่วทั้งคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น

การเลี้ยงลูกไก่ในระยะกกจำเป็นจะต้องมีที่สำหรับล้อมเครื่องกก ซึ่งอาจจะเป็นไม้กระดานหรือสังกะสีแผ่นเรียบ หรือลวดตาข่ายหรือกระดาษแข็งก็ได้ ที่มีความสูง

4.  รังไข่ รังไข่ที่ดีต้องมีขนาดกว้างพอ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศได้ดี เย็น ภายในมีความมืดพอ และวางอยู่ในที่มีเหมาะสมภายในโรงเรือนไก่ไข่ รังไข่อาจทำด้วยไม้หรือสังกะสี รังไข่ที่ทำด้วยไม้อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาด และจะเป็นที่อาศัยของไรแดง รังไข่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้

4.1                              รังไข่เดี่ยว เป็นรังไข่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นแถวยาวละ 4-6 ช่วงแต่ละช่องมีขนาดกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 30-35 เซนติเมตร และลึก 30-35 เซนติเมตรด้านหน้าเปิดมีขอบสูงจากพื้นรังไข่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไข่และสิ่งรองรังไข่หลุดอกมาจากรังไข่ ด้านหลังอาจมีการปิดด้วยลวดตาข่ายตาห่าง เพื่อช่วยให้มีการระบายอากาศได้ดีขึ้น ด้านหน้ารังไข่ควรมีคอนให้ไก่เกาะเพื่อเข้าไปไข่ในรังได้สะดวก คอนเกาะหน้ารังไข่ รังไข่อาจวางเรียงเป็นแถวชั้นเดียวหรือวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ 2-3 ชั้น โดยให้ชั้นล่างสูงจากพื้นคอกประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนหลังคาของรังไข่ชั้นบนสุด ควรให้ลาดชันหรือมีลวดตาข่ายปิดกั้น เพื่อป้องไก่บินขึ้นไปเกาะและนอนในเวลากลางคืน อัตราส่วนของรังไข่ 1 ต่อ แม่ไก่ 4-5 ตัว

4.2  รังไข่แบบไหลออก เป็นรังไข่ที่นิยมใช้กันมาก ในการเลี้ยงไก่ไข่บนพื้นไม้ระแนง พื้นไม้ไผ่หรือพื้นคอนกรีต รังไข่แบบนี้อาจตั้งเดี่ยวหรืออาจวางซ้อนกันเป็นแถว โดยพื้นของรังไข่ทำเศษตาข่ายมีความลาดเอียงประมาณ 10 องศา ซึ่งทำให้ไข่กลิ้งออกมาตามแนวลาดเอียงติดอยู่นอกรัง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเก็บไข่ไก่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน นับได้ว่าเป็นรังไข่ที่สะดวกกว่ารังไข่แบบอื่นมาก

5.  วัสดุรองพื้น  วัสดุรองพื้น หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได่ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามรถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี

วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี่เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว วังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร

6.  อุปกรณ์การให้แสง เนื่องจาดแสงสว่างมีความจำเป็นต่อการมองเห็นของไก่ ไม่ว่าเวลากินอาหาร กินน้ำ หรืออื่นๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่  ดังนั้นภายในโรงเรือนจะต้องมีอุปกรณ์การให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมติดตั้งหลอดไฟ หลอดไฟที่นิยมใช้กันมากคือ หลอดกลมธรรมดา และหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน

โปรแกรมการให้แสงสว่าง

ปกติแสงสว่างจะมีอิทธิพลทำให้ไก่ไข่ช้าขึ้นหรือเร็วกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของวันและความเข้มของแสง สำหรับในประเทศไทยความยาวของวันแตกต่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ( ช่วงแสง 11-13 ชม.) ดังนั้น ควรให้ระดับแสงคงที่อยู่ที่ 13 ชั่งโมงต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงที่ไม่ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ประสบปัญหาอย่างใด เพราะจะไม่กระทบต่อผลผลิตมากนัก แต่ผู้เลี้ยงควรจะเลี้ยงไม่ให้น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

7.  ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อนควรเปิดม่านขึ้นเล็กน้อยในเวลากลางวัน เพื่อให้ลมพดผ่านภายในโรงเรือน และปิดม่านในตอนเย็น

                8.  คอนนอน การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้นโดยเฉพาะในระยะไก่สาว มีความจำเป็นจะต้องทำคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้นอน และยังช่วยให้ไก่เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในคอก

                คอนนอนอาจทำขึ้นเป็นคอนนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ไม้ขนาด 1x4 นิ้ว หรือ 1x3 นิ้ว หรือ 2x3 นิ้ว หรือ 2x2 นิ้วก็ได้ ส่วนความยาวตามความต้องการ ลบเหลี่ยมไม้ให้กลมเพื่อให้ไก่เกาพได้สะดวกและไม่เป็นอันตรายต่อเท้าและหน้าอกไก่ โดยวางเอาด้านแคบขึ้น วางห่างกันประมาณ 33-41 เซนติเมตร ให้มีเนื้อที่คอนนอน 10-15 เซนติเมตรต่อตัวสำหรับไก่สาว และ18-20 เซนติเมตร สำหรับไก่ไข่ ใต้คอนนอนและด้านข้างต้องบุด้วยลวดตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน ควรอยู่ติดข้างฝาด้านใดด้านหนึ่งของโรงเรือน ในระยะไก่สาวควรลดระดับด้านหน้าของคอนนอนลงให้ต่ำพอที่ไก่จะขึ้นเกาะคอนได้สะดวก เมื่อไก่โตขึ้นจึงค่อยยกระดับขึ้นให้สูงกว่าในระดับขึ้นให้สูงกว่าในระดับปกติประมาณ 75 เซนติเมตร

 

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

                การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น จำเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

  1. สามารถป้องกันแดด ลม และฝน ได้ดี
  2. ป้องกันศัตรูต่างๆ เช่น นก หนู แมว ได้
  3. รักษาความสะอาดได้ง่าย ลักษระที่ดีโรงเรือนคววรเป็นลวด ไม่รกรุงรัง น้ำไม่ขัง
  4. ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่อาจจะไปรบกวนได้
  5. ควรเป็นแบบที่สร้างได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น

6.  หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายๆ หลัง การจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝด แต่ควรเว้นระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น

รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่  ลักษณะปละการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อเลี้ยงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แตโดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่เท่าที่มีการจัดสร้างในประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ กันดังนี้

1.  แบบเพิงหมาแหงน  จัดเป็นโรงเรือนที่สร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสียคือ  ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะกลับเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้ไม่ค่อยมีความทนทานเท่าที่ควร เนื่องจากจะถูกฝนและแดดอยู่เป็นประจำ

2.  แบบหน้าจั่ว  การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการจัดสร้างมากขึ้น รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่าแบบแรก แต่โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหวน

3.  แบบจั่วสองชั้น  ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งนี้เพราะจั่วสองชั้นจะเป็นที่ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบายโดยไม่เกิดควมเครียด

4.  แบบหน้าจั่วกลาย  โรงเรือนแบบนี้มีคุณสมบัติดีกว่าแบบเพิงหมาแหวน กันฝนได้มากขึ้น แต่ค่าก่อสร้างจะสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน

5.  แบบเพิงหมาแหวนกลาย  ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝน กันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่วกลาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีเริ่มเลี้ยงไก่

เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจะต้องใช้ทุนมากขึ้น โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น

1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข

2. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ – 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้ การเลี้ยงดูไก่เล็ก การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์) การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง ควรจัดการดังนี้

1. เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเข้าเครื่องกกโดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก

2. เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง

 3. ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์

 4. หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรก แต่อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก

5. ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทุกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮด์

 6. ทำวัคซีนตามกำหนด

7. ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ 1 ใน 3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีดร้อนๆ การตัดปาก มีจุดประสงค์เพื่อ

1. เพื่อป้องกันการจิกกัน

2. เพื่อลดประมาณการสูญเสียอาหารหกหล่น การตัดปากที่ถูกวิธี

1. จับลูกไก่ไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังหัวลูกไก่

2. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดหัวลูกไก่ให้อยู่นิ่ง

3. เลือกขนาดรูตัดที่เหมาะสมเพื่อตัดปากลูกไก่ประมาณ 2 มม. จากปลายจมูก

4. ใบมีดตัดปากต้องร้อนจนแดง เมื่อกดใบมีดตัดปากไก่แล้วจะต้องคงค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อช่วยห้ามเลือด การตัดปากไก่ไม่ดีนอกจากทำให้ไก่กินอาหารและน้ำลำบากแล้ว ปริมาณไข่จากไก่ตัวนั้นย่อมลดลง ดังนั้น การตัดปากควรทำอย่างประณีต ระยะเวลาตัดปากที่ดีที่สุดประมาณ 7-10 วัน ควรตัดปากให้ระยะจากจมูกออกมาไม่ต่ำกว่า 2 มม. ถ้าพบว่าการตัดปากไม่ดีควรทำการแต่งปากเมื่ออายุไม่เกิน 10 สัปดาห์

 8. เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ – ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว – ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว แต่ทั้งที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ ต้องคอยปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ

9. การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว

10. ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน 11. เริ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและคำนวณต้นทุนการผลิต

 

ข้อพึงระวัง ->

โรคไก่และการป้องกัน

                        ในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องเลี้ยงไก่ให้มีสุขถาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง จึงจะให้ผลผลิตสูง ดังนั้นเราต้องรู้จักโรคไก่และการป้องกันโดยถือหลักว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” โดยทั่วไปแล้วโรคที่มักจะทำความเสียหายให้กับการเลี้ยงไก่ไข่ ได้แก่

                        1.  โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของไก่ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสประเภทหนึ่ง การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยการหารใจเอาเชื้อโรคหรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเข้าไป จากอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ของไก่ป่วย ไก่ที่ป่วยมักจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท เช่น หายใจลำบาก มีเสียงดังเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หัวสั่น กระตุก ขาและปีกเป็นอัมพาต คอบิด เดินเป็นวงกลม หัวซุกใต้ปีก สำหรับแม่ไก่ที่กำลังให่ไข่ จะไข่ลดลงทันที และมักจะตายภายใน 3-4 วัน หลังจากแสดงอาการป่วย

                        การป้องกัน โดยการทำวัคซีนลาโซตาเชื้อเป็น และลาโซตาเชื้อตาย ดูวิธีการใช้จากตารางการทำวัคซีนท้ายเล่ม

  2. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคทางระบบหายใจที่แพร่หลายที่สุดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้กับไก่ทุกอายุ แต่มักจะมีความรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสุงมาก ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ อ้าปากและโก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงครืดคราดในลำคอ ไอ น้ำมูกไหล ตาแฉะเซื่องซึม เบื่ออาหาร ในไก่ไข่จะไข่ลดลงอย่างกะทันหัน

การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ

                        3. โรคอหิวาต์ไก่ เป็นโรคที่ติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายทางอาหารและน้ำ ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรงไก่อาจตายได้โดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น

                        การรักษา  ใช้ยาปฎิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน

                        การป้องกัน  โดยการให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์

        4.โรคฝีดาษไก่  เป็นโรคที่มักเป็นกับลูกไก่และไก่รุ่น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น อยู่รวมฝูงกัน และยุงที่เปฌนพาหะของโรคกัด โรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยถึงตาย ไก่ที่เป็นโรคนี้แสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตายในที่สุด

 การป้องกัน โดยการให้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่

5.  โรคหวัดติดต่อหรือหวัดหน้าบวม เป็นโรคทางระบบหายใจมักเกิดกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำตาของไก่ป่วย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการจาม มีน้ำตา น้ำมูกอยู่ในช่องจมูกและเปียกเปรอะถึงปากและมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็นรุนแรง ตาจะแฉะจนปิด หน้าบวม เหนียงบวม ไก่กินอาหารน้อยลง ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลด

การรักษา โดยใช้ยาพวกซัลฟา ได้แก่ ซัลฟาไธอาโซล ซัลฟาไดเมท๊อกซิน ส่วนยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ออกซี่เตตราซัยคลิน อิริโธมัยซิน และ สเตรปโตมัยซิน

                 การป้องกัน การจัดการสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดี การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนที่ดี และการฉีดวัคซีนป้องโรคหวัดหน้าบวม

                               6.  โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ เป็นโรคทางระบบหายใจ มักเป็นกับไก่ใหญ่ อายุ 3-4 เดือนขึ้นไป

ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหายใจไม่สะดวก ยื่นคอและศีรษะตรงไปข้างหน้า อ้าปากเป็นระยะ ๆ และหลับตา ไก่จะตายเพราะหายใจไม่ออก

                          การป้องกัน การจัดการสุขาภิบาลที่ดี และป้องกันไม่ให้ลมโกรก และการให้วัคซีนป้องกันโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ

                        7.  โรคมาเร็กซ์ เป็นโรคที่มักเป็นกับไก่รุ่น ไก่สาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สะสมอยู่ที่หนังไก่บริเวณโคนขนของไก่ป่วยเป็นแผ่นเล็ก ๆ คล้ายขี้รังแค ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหงอยซึม การเจริญเติบโตไม่ได้ขนาด ในกรณีที่เป็นอัมพาต ไก่จะอ่อนเพรีย กินน้ำกินอาหารไม่ได้ การทรงตัวไม่ปกติ เดินขาลาก และเป็นอัมพาตเดินไม่ได้

                        การป้องกัน การสุขาภิบาลและการเลี้ยงดูที่ดีไม่ให้ไก่เครียด และการให้วัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์

 

การทำวัคซีนไก่ไข่

                        จุดประสงค์ของการทำวัคซีน คือ เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ไม่สามารถทำการรักษาได้หรือโรคที่ยากต่อการรักษา ทำให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในร่างกาย การทำวัคซีนเป็นการเพิ่มกความเคลียดให้ไก่ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น จึงต้องเข็มงวดในการทำวัคซีน โดยต้อนไก่ครั้งละน้อย ๆ จับไก่ด้วยควมระมัดระวัง และทำวัคซีนด้วยความนุ่มนวล ถ้าไม่ระมัดระวังมีผลทำให้ไก่เกิดความเคลียดเพิ่มขึ้นและไก่แพ้วัคซีนมากขึ้น

ชนิดของวัคซีน

                        วัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นจากส่วนของเชื้อโรคหรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเมื่อฉีดเข้าร่างกายสัตว์ก็สามารถทำให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้และภูมิคุ้มกันโรคนั้นสามารถที่จะป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคนั้น ขนิดของวัคซีนแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

                        1. วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูกหรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงานวัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดมาจากแม่ แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าการเก็บวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก

                        2. วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำวัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย

                        วิธีการทำวัคซีน การทำวัคซีนไก่สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค

                        1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่เพื่อป้องกันโรคที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในนำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้องการใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐานเพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมขวาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึ่ง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุก ๆ ตัว ดังนั้นภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นจึงมีระดับที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิะการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่านั้น

                        2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่คือใต้บริเวณใต้ผิวหนังเช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซีซี. โดยสังเกตจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากแทงเข็มผ่าน

                        3. การฉีดเข้าผิวหนัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน

                        4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและหยอดจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วย สารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาห์ไก่ เป็นต้น

                        5. การละลายน้ำดื่ม เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวนมาก ๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะต้องหยุดการให้น้ำไก่เดป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ไก่กระหายน้ำและกินน้ำผสมวัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการ อดน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุปกรณ์ให้น้ำจะต้องมีเพียงพอสำหรับไก่จำนวน 2 ใน 3 ของคอกสามารถเข้าไปกินน้ำได้พร้อมๆ กัน ถ้าไม่พออาจเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้น้ำขึ้นมาชั่วคราวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ จุดนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะการล้มเหลวจากการให้วัคซีนนี้มักเกิดจากระบบน้ำไม่ถูกต้องและอุปกรณ์ให้น้ำไม่เพียงพอ สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ละลายวัควีนจะผันแปรไปตามอายุของไก่ ดังนี้

                        อายุ 1 สัปดาห์                              ใช้น้ำ     2-5         ลิตรต่อไก่   1,000

                        อายุ 2-3 สัปดาห์                          ใช้น้ำ     9-11       ลิตรต่อไก่   1,000

                        อายุ 5-7 สัปดาห์                          ใช้น้ำ     14-18     ลิตรต่อไก่    1,000

                        อายุมากกว่า 7 สัปดาห์               ใช้น้ำ      20-23     ลิตรต่อไก่     1,000

6.การสเปรย์ เป็นวิธีที่นิยมกันมากสำหรับการทำวัคซันครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือในโรงเรือนที่เลี้ยง โดยสเปรย์ใส่ลูกไก่ที่อยู่ในกล่องเลย ลูกไก่จะได้รับวัคซีนผ่านทางลูกตาหรือจมูก เป็นวิธีที่ทำได้รวดเร็ว สามารถให้วัคซีนแหก่ไก่จำนวนมาก ๆ ในระยะเะวลาอันสั้น แต่ปริมาณวัคซีนที่ได้รับอาจแตกต่างกันไป การสเปรย์ควรสเปรย์ให้พอหมาดๆ ไม่ควรให้ตัวลูกไก่เปียกโซก และควรทิ้งลูกไก่ไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ตัวแห้ง

 

ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน

        1. อายุของไก่และระยะเวลาในการทำวัคซีนจะมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการทำวัคซีนจึงควรทำตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง

                        2. สุขภาพของไก่ขณะที่ทำวัคซีนจะต้องมีความสมบูรณ์ แจ่มใส แข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด และต้องปลอดภัยจากพยาธิ เพราะอาจจะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งอาจทำให้ไก่ป่วยมีอาการถึงขั้นรุนแรงได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสุ๘ภาพของไก่และอาการแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรให้ยาปฎิชีวนะหรือไวตามิน 3 วัน ติดต่อกัน กล่าวคือ ก่อนและหลังทำวัคซัน 1 วัน และในวันทำวัคซีนอีก 1 วัน

        3.วัคซีนที่ใช้ต้องไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ และควรซื้อวัคซีนจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น

        4.  การเก็บรักษาวัคซีน จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นจัด เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตามคำแนะนำของการฝใช้วัคซีนนั้น  การขนส่งจะต้องบรรจุในกระติกน้ำแข็งผสมเกลือ และควรระวังอย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพได้

        5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวัควีนทุกครั้ง จะต้องได้รับการทำความสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อ อาจเป็นวิธีต้ม นึ่งไอน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ในกรณีที่ทำวัคซีนละลายน้ำ ควรล้างภาขนะต่าง ๆ ให้สะอาดหมดจดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

        6. ในการผสมวัคซีน จะต้องผสมในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อผสมเสร็จแล้วควรรีบใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง

7.วัคซีนที่ผสมแล้วเหลือใช้ รวมทั้งหลอดหรือขวดบรรจุวัคซีน ก่อนทิ้งควรผ่านการต้มฆ่าเชื้อเสียก่อน

 

                        การเก็บรักษาวัคซีน การเก็บรักษาวัคซีนจะต้องทำอย่างถูกต้อง หากเก็บรักษาไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง จะทำให้วัคซีนนั้นเสื่อมทันที ซึ่งการเก็บรักษาวัคซีนควรปฎิบัติ ดังนี้

                        1. ควรเก็บวัคซีนไว้ในตู้เย็นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้สม่ำเสมอตลอดเวลา ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอณหภูมิประมาณ 2-8 อาศาเซลเซียส

                        2. ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ กรณีที่ใช้ตู้เย็นไฟฟ้าจะต้องรีบย้ายวัคซีนมาเก็บในภาชนะหรือถังน้ำแข็ง อย่าปล่อยทิ้งไว้ในตู้เย็นรอจนไปมา เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพได้

                        3. การเก็บวัคซีนในตู้เย็นควรดูชนิดของวัคซีน และข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตดฃกำหนดมาในเรื่องอุณหภูมิ เพราะวัคซีนบางชนิดจะเก็บในตู้เย็นธรรมดา บางชนิดจะเก็บในช่องแช่แข็ง  แต่โดยปกติแล้ววัคซีนชนิด Freezedries จะเก็บในช่องแช่แข็ง ส่วนวัคซีนที่เป็นน้ำจะเก็บในช่องธรรมดา ไม่ควรนำไปเก็บไว้ในชั้นที่ใกล้หรือใต้ช่องแช่แข็ง เพราะจะทำให้วัคซีนแข็งตัวและเสื่อมคุณภาพได้

                        4. ตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนควรแยกต่างหากจากตู้เย็นอาหารหรือเครื่องดื่ม และไม่ควรเป็นตู้เย็นที่เปิด-ปิดอยู่เสมอ

                        5. เมื่อเก็บวัคซีนไว้นานแล้ว วัคซีนจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิม เช่น แข็งตัว เปลี่ยนสี เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพ และไม่ควรนำวัคซีนไปใช้ ควรทำลายเสียโดยการเผา

        6.ควรแยกเก็บวัคซีนแต่ละชนิดออกจากกันอย่าไว้ปนกัน เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ไม่ผิดพลาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา