ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักสวนครัว

โดย : นาย จาตุรงต์ ช่วยบ้าน วันที่ : 2017-08-24-11:18:28

ที่อยู่ : 117 หมู่ 11 ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ดินปลูกพืชสมุนไพรเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะทำให้พืชสมุนไพรเจริญเติบโต ให้ได้ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรมีคุณภาพและสรรพคุณทางยา และมีราคาดี ปัจจุบันดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปลูกพืชนั้นหาได้ยาก การจะให้พืชเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องปรับปรุงดินที่มีอยู่หรือหาได้ ให้มีคุณสมบัติตามที่พืชต้องการ

คุณสมบัติที่ดีของวัสดุปลูก

1.             โปร่ง

2.             เก็บน้ำได้ดีพอควร

3.             ไม่เน่าเปื่อยผุพังเร็วจนเกินไป

4.             มีปริมาณเกลือแร่ต่ำ

5.             สะอาดปราศจากเมล็ดวัชพืช โรคและแมลง

6.             ไม่เป็นกรดหรือด่างจัด

7.             หาง่ายราคาถูก

วัสดุที่ใช้ในการปรุงดิน แบ่งออกได้ดังนี้

1.             อินทรีย์วัตถุ (Organic material) เช่น ปุ๋ยคอก ซึ่งได้แก่มูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลของสัตว์ใดก็ตาม ถ้าเป็นมูลเก่าย่อมนำมาใช้ผสมเป็นวัสดุปลูกได้ทั้งสิ้นปัจจุบันปุ๋ยคอกมีราคาแพงหายากขึ้นปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดินคือช่วยลดความหนาแน่นเพิ่มความพรุนของดิน และมีผลทางอ้อมในการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้กับต้นพืช นอกจากปุ๋ยคอกแล้ว ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ ขี้เถ้าแกลบ เปลือกถั่ว ขี้เลื่อย ขี้กบ เปลือกไม้ ชานอ้อย หรือกากน้ำตาล ฯลฯ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรุงดินได้ทั้งสิ้น

2.             อนินทรีย์วัตถุ (Inorganic material) วัสดุปรุงดินที่เป็นอนินทรีย์วัตถุ จะช่วยในเรื่องการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศเป็นส่วนใหญ่ อนินทรีย์ที่ใช้ในการปรุงดินที่ได้จากธรรมชาติคือทราย ทราย ที่ใช้ในการผสมดินปลูกพืชได้แก่

1.             ทรายหยาบ ที่ใช้ในการก่อสร้าง มีขนาดเม็ดหยาบโต เหมาะที่จะช่วยในการระบายน้ำ แต่ไม่ค่อยมีธาตุอาหาร นำมาใช้ในการปักชำพืช และใช้ผสมดินปลูก

2.             ทรายละเอียด หรือทรายขี้เป็ด ลักษณะสีคล้ำ เม็ดละเอียด ทรายชนิดนี้มีตะกอนปนอยู่ด้วย จึงมีธาตุอาหารปนอยู่อาจใช้ปลูกพืชได้โดยปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่หยาบ เช่น ผสมกับเปลือกถั่ว แกลบผุ หรือขี้กบ แต่ถ้าทรายชนิดนี้มีขี้เลนปนอยู่ทำให้การระบายน้ำไม่ดี ไม่เหมาะ กับการปลูกพืช

เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดิน

1.             จอบ เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการเตรียมดิน จะใช้จอบในการขุดดินยกแปลงปลูก
พืชสมุนไพร จอบมี 2 ชนิดคือ

1. 1 จอบขุด หน้าจอบจะเว้าลึก ด้านข้างทั้งสองจะเรียวแหลมคม เพื่อให้ขุดลงไปในดินได้มากขึ้น จอบขุดมีลักษณะแข็งแรง มีน้ำหนักและความหนามากกว่าจอบชนิดอื่น ๆ ใช้สำหรับขุดดินที่มีความแข็งและเหนียว เช่น การขุดดินครั้งแรกของการเตรียมดินปลูก เพื่อพลิกหน้าดินหรือยกร่องแปลงปลูกพืช

1. 2 จอบถาก หน้าจอบตัดตรงเสมอกัน มีน้ำหนักเบากว่าจอบขุด ใช้ในการถากหญ้าและผสมดิน นอกจากนั้นยังเหมาะที่จะใช้พรวนดินหรือย่อยดิน ภายหลังจากการขุดให้เป็นก้อนเล็ก ได้ดีอีกด้วย

จอบถาก

จอบขุด

 

 

1.             เสียม เป็นเครื่องมืออีกอย่างที่ใช้ขุด แต่มักจะใช้ขุดดินที่ค่อนข้างลึกหรือขุดหลุมปลูกพืชหรือใช้พรวนดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ก่อนการปลูกและใช้พรวนดินกำจัดวัชพืชภายหลังการปลูกพืชด้วย

เสียม

1.             พลั่ว พลั่วมี 2 ชนิดคือ

3.1 พลั่วหน้าแหลม ใช้สำหรับตักดิน ทราย หรือปุ๋ย

3.2 พลั่วหน้าตัดตรง ใช้สำหรับผสมดิน

พลั่วผสม

พลั่วตัก

 

 

1.             ช้อนและส้อมพรวน เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ใช้ได้สะดวก ใช้ในการตักดิน ขุดดินปลูก พืชและใช้พรวนดินภายหลังการปลูกพืชเพื่อให้ดินร่วนซุย

ช้อน

ส้อมพรวน

 

 

1.             ปุ้งกี๋ ใช้ในการขนดิน หรือปุ๋ย

ปุ้งกี๋

1.             คราด ใช้ในการลากวัชพืชที่ค้างอยู่ตามหน้าดิน และยังใช้ปรับระดับดินให้เรียบอีกด้วย

คราด

1.             มีดดายหญ้า

     

 

มีดดายหญ้า

การใช้

        ใช้สำหรับดายหญ้าหรือถางหญ้าที่ขึ้นสูง  ซึ่งไม่สามารถที่    จะใช้กรรไกรตัดหญ้าได้

 ความปลอดภัยในการใช

        ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าด้ามแน่นดีหรือไม่  ขณะใช้มีดดายหญ้าต้องระมัดระวังให้มาก  เพราะมีดดายหญ้ามีความคม อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้ที่อยู่ข้างเคียง ควรคำนึงถึงรัศมีของมีด  ไม่ควรใช้มีดดายหญ้าแกว่งเล่นหยอกล้อกัน

การทำความสะอาดและเก็บรักษา

        เมื่อใช้มีดดายหญ้าแล้ว  ควรล้างทำความสะอาดโดยใช้ผ้า   เช็ดให้แห้ง  ทาน้ำมันกันสนิม  ด้วยจะช่วยรักษาคมมีดให้อยู่ได้ นาน  แล้วเก็บเข้าที่

 

ขั้นตอนในการเตรียมดิน

1.             ต้องพยายามขุดดินให้ลึกอย่างน้อย 15 เซนติเมตรขึ้นไป ถ้ายิ่งลึกมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้ดินล่างร่วนฟูอุ้มน้ำไว้ได้ดี รากแผ่ขยายไปได้ง่าย

2.             ต้องพยายามกลบและกลับดินผิวบนลงล่างเพราะดินบนมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินล่าง

3.             ต้องกำจัดวัชพืชในขณะเตรียมดินไปด้วย

4.             วัสดุต่าง ๆ ที่จะใช้ในการผสมดินต้องเตรียมไว้ให้พร้อมเช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ

5.             เลือกใช้วัสดุที่จะปรุงดินให้เหมาะกับสภาพดินและความต้องการของพืชที่จะปลูก

6.             หากต้องการปลูกพืชสมุนไพรในกระถางหรือในถุงดำ  

7.             เครื่องมือที่ใช้ ควรจะตรวจตราให้สมบูรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้

8.             เมื่อเตรียมดินแล้วต้องทำความสะอาดเครื่องมือ และเก็บให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยพร้อมที่จะนำมาใช้ได้อีกต่อไป

          ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์โดยทั่วไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้ควรยึดหลักดังนี้

1.             ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือชนิดนั้น ๆ ก่อนใช้จากคู่มือหรือผู้รู้

2.             ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของงาน เช่น ไม่ควรใช้จอบไปตัด ต้นไม้หรือรากต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ไม่ควรใช้เสียมไปงัดก้อนหิน หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก หรือนำมีดดายหญ้าไปตัดกิ่งไม้เนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่เป็นต้น

3.             ตรวจสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน ถ้าหากอุปกรณ์ชำรุด เช่น หลุดหรือหลวมควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย ถ้าเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีคมจะต้องลับให้คม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

4.             ขณะปฏิบัติงานถ้าพบว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เช่น หลวม หลุด บิ่น หรือหัก ควรหยุดปฏิบัติงานและซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนจึงใช้ต่อไป

5.             ไม่ควรใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ หยอกล้อหรือเล่นกันเป็นอันขาด

6.             ไม่ควรใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ด้วยความประมาทหรือเลินเล่อ

7.             ขณะหยุดพักปฏิบัติงานควรเก็บหรือวางเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เป็นที่อย่างมีระเบียบ ไม่ควรวางเกะกะหรือกีดขวางผู้อื่น

8.             ควรแต่งกายให้รัดกุมและเหมาะสมในการปฏิบัติงานและใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้น ๆ เช่นการใช้ จอบขุดดินหรือถากหญ้าควรใส่รองเท้าให้มิดชิด การใช้เครื่องมือพ่นยากำจัดศัตรูพืชจะต้องแต่งกายให้รัดกุม สวมหมวกและหน้ากากป้องกันอันตรายจากละอองยาทุกครั้ง

9.             เมื่อปฏิบัติงานเสร็จควรทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ และตรวจซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานในครั้งต่อไป

10.          เก็บรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยภายหลังการปฏิบัติงาน

 

สรุป

ในการเตรียมดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความต้องการดินในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จะต้องเป็นดินที่มีแร่ธาตุอาหารพืชอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะร่วนซุย สามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี และจะต้องมีความเป็นกรด-ด่างไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป และจะต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ที่มีอยู่ด้วย นอกจากนี้ จะต้องรู้จักเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น

รายการเครื่องมือและอุปกรณ์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกผักสวนครัว

 

        1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ

1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน

1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง

1.3การปรับปรุงเนื้อดินเนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพ ดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดิน ทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

1.4การกำหนดหลุมปลูกจะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิด ผักต่างๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่ต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75*100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5*5เซนติเมตร เป็นต้น

        2.การปลูกผักในภาชนะ การปลูกผักในภาชนะควรจะ พิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึก ไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)

วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

วิธีการปลูกผักในภาชนะแย่งออกได้เป็น 2 วิธี

2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่

- ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง

- ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้(กวางตุ้งไต้หวัน)

- ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง - ผักกาดหอม

- ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย

- โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย

- หัวผักกาดแดง - กระเพรา - แมงลัก

- ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่

2.2 ปักชำด้วยต้น และหัว ได้แก่

- หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)

- หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น)

- สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา กิ่งอ่อน)

- แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

หมายเหตุ มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้ปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ1และ 2

 

ผักในภาชนะ

การปฏิบัติดูแลรักษา

การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่

1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า- เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก

2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะคือ

2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูกเพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำและรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย

2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรงโดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาวโรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง

สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่นหอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี

การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้

1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72

2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52

3. แช่โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์นาน 10 นาที (โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50

4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร ) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43

5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39

6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36

9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา