ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกสมุนไพรเพื่อจำหน่าย

โดย : นาย สุทธินันท์ อินทนัน วันที่ : 2017-08-18-23:34:29

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๙๓ หมู่ ๙ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สมุนไพร คือส่วนผสมและที่มาของยา อาหารเสริม เครื่องปรุงอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน ผู้คนได้หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพเป็นอย่างมาก ปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ในเมื่อความต้องการสูง โอกาสจึงยังมีอีกมากสำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากจะปลูกพืชสมุนไพรขายเป็นอาชีพ ซึ่งประเทศไทยเหมาะสำหรับการเพาะปลูกสมุนไพรอยู่แล้ว

โอกาสของ อาชีพปลูกสมุนไพรขาย 

แนวโน้มกระแสการดูแลสุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น เราสังเกตได้ง่ายๆจากมีสินค้ากลุ่มอาหารเสริมต่างๆออกมามากมาย นั่นหมายความคนทานอาหารเสริมมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีตลาด สปาความงาม สปาเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารต่างๆ ก็มีความต้องการอีกมาก  แน่นอนว่าความต้องการวัตถุดิบก็ต้องมากขึ้นตามด้วย 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกพืชสมุนไพรเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในอดีตการใช้สมุนไพรเป็นการเก็บจากธรรมชาติแต่ไม่มีการปลูกทดแทน ทำห้พืชสมุนไพรมีจำนวนลดลง ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกให้ได้จำนวนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้

 

        พื้นที่ การเลือกสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพืชสมุนไพรเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ละพื้นที่เหมาะที่พืชสมุนไพรจะขึ้นแตกต่างกัน การเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมจะช่วยให้พืชนั้น ๆ เจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการดูแลรักษา

 

        แสง มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช ความต้องการในปริมาณของแสงเพื่อนำไปใช้ขึ้นแยู่กับพืชแต่ละชนิด พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในสภาพกลางแจ้ง แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการดูแลให้เหมาะสม เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณสารสำคัญอีกด้วย

อุณหภูมิ การที่พืชได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม มีผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช บางชนิดชอบร้อน แห้งแล้ง บางชนิดชอบอากาศหนาว นอกจากนี้ยังรวมถึงความร้อนเย็นของดินและบรรยากาศรอบ ๆ ต้นพืชสมุนไพรด้วย เช่น พืชเขตร้อนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ 18 - 35 องศาเซลเซียส ถ้าพืชได้รับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต

 

        น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ต้นพืชดูดแร่ธาติอาหารจากดินได้ ช่วยการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็จำเป็น ช้วยให้ต้นไม้สดชื่นไม่เหี่ยวเฉา ดังนั้นถ้าพืชขาดน้ำจะเกิดอาการเหี่ยวเฉา ถ้ารุนแรงก็อาจตายได้ พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น

ารปลูกพืชสมุนไพร

 

        1. ในการเตรียมดินของพืชสมุนไพร มีขั้นตอนดังนี้

 

            1.1 การไถพรวน เพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย

 

            1.2 ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

 

            1.3 กำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด

 

            กรณีที่ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ราก หัว ลำต้นใต้ดิน หรือเหง้า จำเป็นต้องเตรียมดินให้ร่วนซุยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ใช้ราก อาจตัดปลูกในภาชนะที่นำเอารากออกมาภายหลังได้

2. วิธีการปลูกมีหลายวิธีขึ้นแยู่กับส่วนของพืชที่นำมาปลูกและชนิดของพืช

 

            2.1 การปลูกด้วยเมล็ด สามารถทำให้โดยการหว่านลงแปลง แล้วใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบ โรยทับบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน ถอนต้นที่อ่อนแอออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอสมควร ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ โดยหยอดเมล็ดให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการและถอนออกภายหลัง

 

               2.2 การปลูกด้วยกิ่งชำหรือกิ่งตอน ปลูกโดยการนำเอากิ่งชำมาปลูกในถุงพลาสติกให้แข็งแรงดีก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ เตรียมหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างกว่าถุงพลาสติกเล็กน้อย เมื่อนำต้นอ่อนลงปลูกแล้ว กลบด้วยดินร่วนหรือดินปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ คลุมด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

 

            2.3 การปลูกด้วยหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำดี ปลูกโดยฝังหัวให้ลึกพอประมาณ กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

 

            2.4 การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได่มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง

 

            2.5 การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน แล้วจึงย้ายปลูกในพื้นที่

การดูแลรักษาพืชสมุนไพร

 

        การพรางแสง พืชสมุนไพรหลายชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการพรางแสงให้ตลอดเวลา การพรางแสงอาจใช้ตาข่ายพรางแสง หรืออาจปลูกร่วมกับพืชอื่นที่มีร่มเงา ปลูกบริเวณเชิงเขาหรือปลุกในฤดูฝนซึ่งมีช่วงแสงไม่เข้มนัก เช่น บุกฟ้าทะลายโจร เร่ว หญ้าหนวดแมว เป็นต้น สำหรับพืชสมุนไพรทั่วไปที่อ่อนแออยู่ ก็ควรพรางแสงให้ชั่วระยะหนึ่งจนพืชนั้นตั้งตัวได้ จึงให้แสงตามปกติ

 

        การทำให้ค้างในพืชเถาต่าง ๆ ควรทำค้างเพื่อสะดวกในการเก็บผลผลิต การดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของพืช เช่น พริกไทย พลู มะแว้งเครือ อัญชัน เป็นต้น

 

        การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมโดยพิจารณาลักาณะของพืชแต่ละชนิดว่าต้องการน้ำมากหรือ้อย โดยปกติควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่หากเห็นว่าแฉะเกินไปก็เว้นช่วงได้ หรือแห้งเกินไปก็ให้น้ำเพิ่มเติม จึงต้องคอยสังเกตเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพดินและภูมิอากาศแตกต่างกัน การให้น้ำควรให้จนกว่าพืชจะตั้งตัวได้

 

        การพรวนดิน เป็นการทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำดีขึ้น ทั้งยังช่วยกำจัดวัชพืชอีกด้วย จึงควรมีการพรวนดินบ้างเป็นครั้งคราว โดยพรวนในขณะที่ดินแห้งพอสมควร และไม่ควรให้กระทบกระเทือนรากมาก

 

        การใส่ปุ๋ย โดยปกติจะให้ก่อนการปลูก โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ในการให้ปุ๋ยกับพืชสมุนไพรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยจะค่อย ๆ ย่อยสลายและปล่อยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ให้พืชอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ และยังช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี การให้ปุ๋ยควรให้อย่างสม่ำเสมอประมาณ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง โดยอาจใส่แบบเป็นแถวระหว่างพืชหรือใส่รอบ ๆ โคนต้นบริเวณทรงพุ่มก็ได้

 

        การกำจัดศัตรูพืช ควรใช้วิธีธรรมชาติ เช่น

 

ปลูกพืชหลายชนิดบริเวณเดียวกัน และควรปลูกสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ในการรบกวนแมลงแทรกอยู่ด้วย เช่น ดาวเรือง ตะไคร้หอม กระเพรา เสี้ยนดอกม่วง เป็นต้น

 

        อาศัยธรรมชาติจัดสมดุลกันเอง ไม่ควรทำลายแมลงทุกชนิด เพราะบางชนิดเป็นประโยชน์ จะช่วยควบคุมและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชให้ลดลง

 

        ใช้สารจากธรรมชาติ โดยใช้พืชที่มีสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชมากำจัด โดยที่แต่ละพืชจะมีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับแมลงต่างชนิดกัน เช่น สารสกัดจากสะเดา : ด้วง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด ยาสูบ : เพลี้ยอ่อน ไรแดง โรครา หางไหลแดง : เพลี้ย ด้วง เป็นต้น

 

        การบำรุงรักษาพืชสมุนไพร คววรเลือกวิธีดูแลรักษาให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีไม่ว่าด้านการให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชหรือศัตรูพืช เนื่องจากอาจมีพิษตกค้างในพืชและยังมีผลกับคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในพืชอีกด้วย

การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร

 

        1. เก็บเกี่ยวถูกระยะเวลา ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงสุด การนำพืชสุมนไพรไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดนั้น ในพืชจะต้องมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ดังนั้นการเก็บเกี่ยวสมุนไพรต้องคำนึงถึงทั้งอายุเก็บเกี่ยวและช่วงเวลาที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดด้วย

 

        2. เก็บเกี่ยวถูกวิธี โดยทั่วไปการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกตามส่วนที่ใช้เป็นยา ดังนี้

 

            2.1 ประเภทรากหรือหัว เก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบและดอกร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูรอน ซึ่งเป็นช่วงที่รากและหัวมีการสะสมปริมาณสารสำคัญไว้ค่อนข้างสูง วิธีเก็บ ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง ตัดรากฝอยออก

 

            2.2 การเก็บเปลือกรากหรือเปลือกต้น จะเก็บในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญในพืชสูง และเปลือกลอกออกง่าย ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด วิธีเก็บ การลอกเปลือกต้น อย่าลอกออกรอบทั้งต้น ควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย

 

หรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืช และไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่ของต้น

 

           2.3 ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด บางชนิดจะระบุช่วงเวลาที่เก็บ ซึ่งช่วงเวลานั้นใบมีสารสำคัญมากที่สุด เช่น เก็บใบแก่ หรือใบไม่อ่อนไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เป็นต้น วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

 

            2.4 ประเภทดอก โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

 

            2.5 ประเภทผลและเมล็ด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว แต่บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

 

        เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรออกจากแปลงปลูกหรือต้นแล้ว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อรักษาคุณภาพของพืชสมุนไพรให้ได้ผลดีที่สุดต่อการนำไปใช้ ทั้งนี้การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด รวมทั้งส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำไปใช้ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร มีวิธีปฏิบัติดังนี้

 

           1. การทำความสะอาดและคัดแยกผลผลิตที่ได้มาตรฐาน

 

            1.1 คัดแยกสิ่งปลอมปนออก เช่น หิน ดิน ทราย ส่วนของพืชที่ปะปน หรือสมุนไพรอื่นที่คล้ายคลึง กันปะปนมา

 

            1.2 การตัดแต่ง เช่น ตัดรากฝอย ปอกเปลือกและหั่นซอยเป็นชิ้นในสมุนไพรที่มีเนื้อแข็ง แห้งยาก

 

            1.3 คัดเลือกส่วนที่เน่าเสีย มีโรคแมลงออก ล้างทำความสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและสิ่งที่ติดมากับพืชขณะทำการเก็บเกี่ยวออกให้หมด

2. การทำให้แห้ง

 

            พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้สดแล้ว ยังมีการนำมาทำให้แห้งเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและการนำมาใช้ สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย และยังเร่งให้เกิดการสูญเสียสารสำคัญด้วย วิธีการทำแห้งโดยการตากแห้งหรืออบแห้ง จนเหลือความชื้นที่เหมาะแก่การเก็บรักษาซึ่งโดยทั่วไปควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13

 

               2.1 การตากแห้งพืชสมุนไพร ควรตากในภาชนะโปร่ง สะอาด ป้องกันฝุ่นละอองและตากในที่ร่ม การตากแดดควรมีลานตากยกจากพื้นดิน มีลหังคาพลาสติกคลุม ไม่ตากแดดโดยตรงและคำนึงถึงสุขอนามัยให้มาก

 

            2.2 การอบแห้ง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้พืชสมุนไพรแห้ง ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบตกต่างกันไป ตามส่วนของพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลาและได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี

 3. การเก็บรักษาสมุนไพรแห้ง เมื่อสมุนไพรแห้งแล้ว การดูดความชื้น การเข้าทำลายของแมลง เชื้อราและแบคทีเรีย เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เร่งให้สมุนไพรเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้

 

            3.1 ควรเก็บในที่สะอาด เย็น ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ถูกแสงแดด หรือเก็บในห้องเย็น

 

            3.2 เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ยวดแก้วสีชามีฝาปิดสนิท ถุงพลาสติกหรือถุงฟลอยด์

 

            3.3 ไม่ควรเก็บไว้นาน โดยทั่วไป สมุนไพรไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 ปี เพราะจะสูญเสียสารสำคัญที่ต้องการไป

 

            3.4 การเก็บรักษาควรระบุฉลากชนิดสมุนไพร รวมทั้งวันเก็บชัดเจน เพื่อป้องกันนำไปใช้ผิด 

 

 

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง

 

        1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมาก และบางท้องถิ่นก็เรียกชื่อไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพรและรู้จักใช้ให้ถูกต้น

 

        2. ใช้ให้ถูกส่วน สมุนไพรไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ส่วนใดใช้เป็นยาได้

 

        3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไปกรักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้

 

        4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องดองเหล้า บางชนิดใช้ต้ม จะต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้อง

 

        5. ใช้ให้ถูกโรค เช่น เมื่อท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน จะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา