ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกหอมแดง

โดย : นางนันทิชา เงินเศษ วันที่ : 2017-08-18-23:08:36

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๑๐/๒ หมู่ ๓ ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล จ.เชียงราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หอมแดง เป็นพืชผักที่ปลูกเพื่อบริโภคและนิยมปลูก และรับประทานกันมาก นิยมใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นสมุนไพร สมาชิกในหมู่บ้านทั้ง ๒๐ คน มีการประชุมพิจาณาเห็นแล้วว่าจะปลูกหอม เพราะเหมาะกับพื้นที่ มีตลาดรองรับ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

การเตรียมปลูกและวิธีปลูกหอมแดง

หอมแดงเป็นพืชที่ช่วยดินร่วน ต้องการความชื้นในดินค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงของการเจริญเติบโตและจะต้องให้ดินแห้งในช่วงระยะเวลาที่ใกล้จะเก็บเกี่ยว ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 12.7-23.8 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม

ในการเตรียมแปลงปลูกนั้นสามารถเตรียมแปลงได้เช่นเดียวกับการปลูกกระเทียม เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมแปลงให้ใช้วิธีเดียวกันได้ โดยการยกขนาดของแปลงให้มีขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นที่นิยมใช้ในการปลูกอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร

การปลูกโดยทั่วไปจะใช้หัวเล็กๆ เป็นหัวพันธุ์ ซึ่งจะใช้จำนวนประมาณ 100-200 กิโลกรัม / ไร่ การปลูกโดยการนำหัวพันธุ์มาตัดแต่งให้สะอาดโดยการตัดรากเสียบ้าง และตัดปลายหัวออกเล็กน้อยก็จะช่วยให้การงอกดีขึ้น และควรจุ่มหัวพันธุ์ลงในสารละลายฆ่าเชื้อรา เช่น Maneb หรือ Zineb ที่ผสมอย่างเจือจางในอัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วนำไปผึ่งให้แห่งก้อนนำไปปลูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันและทำลายเชื้อราที่อาจะติดมากับหัวพันธุ์

วิธีปลูกหอมแดงนั้นทำได้โดยการนำหัวพันธุ์ดำลงในแปลงปลูก ควรทำในขณะที่แปลงปลูกมีความชื้น ซึ่งจำทำให้ดำหัวได้ง่าย โดยดำลงไปในดินประมาณครึ่งหัวและเว้นระยะห่างระหว่างต้นตามที่กำหนดเอาไว้ (15-20 เซนติเมตร) การกดหัวนั้นต้องระวังอย่าให้หัวช้ำโดยให้ดำเบาๆ หลังจากนั้นควรคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นและควบคุมวัชพืช ต้นหอมจะงอกขึ้นมาในระยะเวลาประมาณ 7-10 วันหลังจากปลูก ถ้ามีหัวใดไม่งอกควรทำการปลูกซ่อมลงในพื้นที่จุดเดิมโดยเอาหัวเก่าทิ้งไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกหอมแดง
หอมแดงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดของดินประมาณ 5.0-6.8 และต้องการความชื้นในดินสูง สม่ำเสมอ แต่ขณะหัวหอมแตกหัวใหม่ จะต้องการสภาพดินแห้งหรือดินร่วน ไม่แน่น ชอบอากาศชุ่มชื้น และได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศเย็น ช่วงอุณหภูมิประมาณ 13-24 องศาเซลเซียส เกษตรกรส่วนมากมักปลูกหัวหอมในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ใช้ระยะเพาะปลูกประมาณ 45-50 วัน

1. การเตรียมพันธุ์หอมแดง
การคลุกพันธุ์หอมแดง เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดและได้ผลดี เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถจับติดหัวหอมแดง สามารถป้องกันการทำลายของเชื้อโรคที่ติดมากับหัวพันธุ์หอมแดง และเชื้อโรคในดินได้อย่างดี เช่น โรคเมล็ดเน่า และโรครากเน่าระดับดิน นอกจากนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เจริญสามารถแผ่ขยายติดสู่ระบบรากของหอมแดง ช่วยปกป้องระบบรากจากเชื้อโรค ป้องกันโรครากเน่า วิธีการคลุกหัวพันธุ์หอมแดงมีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ หัวพันธุ์หอมแดงที่ผ่านการคลุกเชื้อแล้วต้องนำไปใช้ปลูกทันที ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ

วิธีการคลุกหัวพันธุ์หอมแดง คือ ใช้ผงเชื้อไตรโคเดอร์มา ชนิดผงแห้ง เช่น ยูนิกรีน ยูเอ็น-1 หรือเชื้อสดบนเมล็ดพืช คลุกหัวพันธุ์ในอัตรา 10-20 กรัม ต่อหอมแดง 1 กิโลกรัม อาจเติมน้ำสะอาดหรือสารจับติด (Sticker) ลงไปเล็กน้อยในขณะคลุกเพื่อช่วยให้ผงเชื้อจับติดหัวพันธุ์หอมแดงได้ดีขึ้น

การเตรียมแปลงปลูก
หอมแดงเป็นพืชที่มีระบบรากสั้น มีขอบเขตรากลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดังนั้น ในระดับความลึกนี้ หอมแดงจึงต้องการหน้าดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ มีการระบายน้ำ และอากาศดี ไม่ต้องการดินแน่น โดยเฉพาะระยะที่มีการแตกหัวใหม่ การเตรียมดินให้ร่วนซุยจะช่วยให้หอมแดงเจริญเติบโตได้ดี ด้วยการไถพรวนดินครั้งแรก ลึก 20 เซนติเมตร พร้อมกำจัดวัชพืช ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน หลังจากนั้น ไถพรวนดินให้ร่วนด้วยผานที่เล็กลง ลึก 20-30 เซนติเมตร และตากดินก่อนปลูก 3-7 วัน ก่อนไถพรวนครั้งที่ให้หว่านปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่

การเตรียมแปลงเพาะปลูกโดยการไถพรวนและย่อยดินให้เป็นก้อนขนาดเล็ก และปรับให้ผิวหน้าของแปลงที่จะปลูกหอมแดงเรียบสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรย่อยให้ละเอียดมากเพราะจะทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก ดินจะแน่นทึบ ในฤดูฝนแปลงปลูกหอมแดงจะต้องยกร่องกว้างประมาณ 1-1.2 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้น้ำฝนระบายออกได้ ระยะห่างระหว่างแปลงจะเว้นไว้ประมาณ 30-50 ซม. เพื่อเป็นทางเดินในการให้น้ำหรือกำจัดวัชพืช ส่วนดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินร่วนปนทรายจึงไม่จำเป็นต้องยกร่อง เพราะจะทำให้เสียแรงงานมาก และจะทำให้ดินแห้งเร็ว ในพื้นที่ที่มีดินกรดควรใส่ปูนมานหรือปูนขาว

วิธีการปลูก
หอมแดงปลูกได้ 2 วิธี
1. ใช้หัวพันธุ์ เป็นวิธีของเกษตรกรที่นิยมปฏิบัติกันมานาน หัวหอมแดงที่จะปลูกต้องผ่านการพักตัวมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะปลูกได้
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ เป็นวิธีที่ลดต้นทุนในการผลิตในการซื้อหัวพันธุ์ที่มีราคาแพง

ก่อนปลูก 1-3 วัน ควรให้น้ำในแปลงให้ชุ่มก่อน ขั้นตอนการปลูก นำหัวพันธุ์ที่พักตัวดีแล้วหรือหัวพันธุ์ที่เก็บไว้นาน 2-4 เดือนหลังจากเก็บเกี่ยว มาตัดรากแห้งออก แยกหัวออกจากกันให้เป็นหัวเดี่ยวๆ แล้วฝังหัวลงไปในดินให้ปลายของหัวอยู่เสมอผิวดิน ระยะปลูกที่ 15 x 15 ซม. ปิดฟางหนาประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อหอมแดงงอกได้ประมาณ 15 วัน จึงหว่านปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21% อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ แล้วให้น้ำเช้าเย็นหรือวันละครั้ง แล้วแต่สภาพความชุ่มชื้นของผิวดิน

หอมแดงเป็นพืชรากตื้น อยู่ที่ชั้นดินลึกประมาณ 10 ซม. ซึ่งความลึกที่ความชื้นสูญเสียได้อย่างรวดเร็วจากการระเหยน้ำ ซึ่งแปลงปลูกหอมแดงไม่ควรมีวัชพืช และดินแปลงปลูกต้องมีความชุ่มชื้นอย่างต่อเนื่อง ระวังอย่าให้ดินผิวแปลงแตกระแหง เพราะจะทำให้ต้นหอมแดงชะงักการเจริญเติบโต และปลายใบเหลือง ดังนั้น การปลูกหอมแดงจึงจำเป็นต้องใช้วัสดุคลุมดินเพื่อรักษาให้หน้าดินให้ชื้นมากที่สุด และช่วยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ วัสดุคลุมดินที่ใช้ ได้แก่ ฟางข้าวหรือใช้แกลบ

การดูแล
1. การให้น้ำ
หอมแดงต้องการน้ำตลอดช่วงเพาะปลูกประมาณ 250-400 มิลลิเมตร การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ดินแน่น มีน้ำขัง ดินขาดอากาศ ทำให้รากเน่าได้
– ให้น้ำตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ทุกวัน
– อายุ 7-20 วัน ให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง เพราะเป็นระยะที่หัวเริ่มแตก ต้องเว้นการให้น้ำ เพื่อให้ดินมีช่วงที่แห้งเหมาะสำหรับการขยายจำนวนหัว
– อายุ 21-70 วัน ให้น้ำ 1-2 วัน/ครั้ง
– หยุดให้น้ำหอมแดงก่อนการเก็บเกี่ยว 10-15 วัน และให้น้ำก่อนถอนหอมแดง 1 วัน เพื่อให้ง่ายตอนถอน

2. การใส่ปุ๋ย
– ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้อ้อย อัตราไร่ละ 3-5 ตัน โดยการหว่านก่อนไถพรวนดินครั้งสุดท้าย
– ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตราไร่ละ 30-50 กิโลกรัม รองพื้นก่อนปลูก และในระยะแตกกอ ทั้งนี้ ในระยะแตกยอดให้ใส่ปุ๋ยยูเรียไร่ละ 10 -15 กิโลกรัม

3. การควบคุมแมลงศัตรูพืช
หนอนกระทู้ผักหรือหนอนกระทู้หลอดหอม เป็นหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญที่สุดในการปลูกผัก เนื่องจากสามารถสร้างความต้านทานยาหรือเรียกว่าหนอนดื้อยา หนอนกระทู้หอมชอบซ่อนตัวตามใต้ใบยอด ซอกกาบใบ กัดกินใบหอม การทำลายพบทั้งกลางวัน และกลางคืน

ลักษณะของวงจรชีวิต ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง แม่ผีเสื้อจะมีสีน้ำตาลแก่ปนเทา ลักษณะเด่นคือ ตรงกลางปีกคู่หน้ามีจุด 2 จุด สีน้ำตาลอ่อน ปีกคู่หลังบางกว่าปีกคู่หน้า ปีกคู่หลังสีขาว ปีกคู่หน้าสีเข้มกว่าปีกคู่หลัง ลำตัวมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม หลบอยู่ตามใบพืช ใบผัก ตามที่รกพุ่มวัชพืชหรือใต้เศษพืช ตัวแก่ชอบวางไข่ตามโคนไข่ มีการวางไข่ตอนหัวค่ำ (18.00-20.00 น.) เป็นกลุ่ม ๆสีขาว จำนวนประมาณกลุ่มละ 20 ฟอง

ตัวอ่อนเป็นตัวหนอน ลักษณะอ้วน ผนังลำตัวเรียบมีสีหลายสีตามสภาพแวดล้อมหรือสีใบพืชที่เกาะ (ปรับตัวพลางให้เข้ากับสีที่มันเกาะอยู่) ด้านข้างมีแถบสีขาวข้างละแถบ พาดตามยาวของลำตัว ระยะตัวหนอนประมาณ 14-17 วัน แล้วเข้าดักแด้ประมาณ 5-10 วัน ดักแด้อยู่ใต้ดินบริเวณโคนต้น ลึกประมาณ 1 นิ้ว เติบโตโดยการลอบคราบ (ประมาณ 5 ครั้ง) หลังจากการลอกคราบ 1-2 ครั้ง แล้วเข้าทำลายพืชผักได้รุนแรงมาก โดยมีวงจรชีวิต 25-36 วัน

วิธีป้องกัน และกำจัดศัตรูหอมแดง
1. คอยระวัง และควบคุมมิให้เพิ่มจำนวนด้วยการกำจัดวัชพืช และพืชอาศัยอื่นๆ ควรสลับปลูกพืชชนิดอื่นบ้างหรือเว้นระยะปลูก 1-2 ปี เพื่อตัดวงจรการระบาด เช่น เปลี่ยนไปปลูกผักพวกถั่วหรือข้าวโพดฝักอ่อน

2. ทำลายผีเสื้อก่อนวางไข่ โดยใช้หลอดไฟสีล่อให้บินมาเล่นแสงบริเวณหลอดไปเบลคไลค์หรือหลอดไฟนีออนหรือตะเกียงเจ้าพายุก็ได้ เนื่องจากตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนชอบเล่นแสงไฟเวลากลางคืนช่วงหัวค่ำประมาณ 19.00-23.00 น.

3. ใช้เชื้อแบคทีเรียบีที (Bt) ผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง

การเก็บเกี่ยว
ต้นหอมแดงเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 45 วัน หอมแดงที่ปลูกจากหัวเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 60 วัน หอมแดงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวต้องแก่จัด มีใบแห้งตามธรรมชาติ โดยห้ามใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นบังคับให้ใบแห้ง เพราะหัวหอมอาจเน่าเสียหายหรือมีอายุเก็บไว้บริโภคสั้น ก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 10-15 วัน จะต้องงดให้น้ำ และให้น้ำอีทีก่อนเก็บเกี่ยว 1 วัน เพื่อให้หอมแดงถอนได้ง่าย การเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีการมือถอนหรือใช้จอบหรือเสียมขุดร่วมด้วย หลังการเก็บเกี่ยว หอมแดงจะเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน หลังจากเก็บเกี่ยวบนแปลง ถ้าเกิน 6 เดือน หัวหอมแดงจะฝ่อไม่สามารถรับประทานและไม่สามารถนำไปเพาะปลูกได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา