ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธ์ุพื้นเมือง

โดย : นายธนูเดช จินดาธรรม วันที่ : 2017-08-12-16:11:54

ที่อยู่ : บ้านสันสลี หมู่7 ตำบลห้วยไคร้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

การเลี้ยงไก่พื้นบ้านของชาวบ้าน สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น จะเน้นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน โดยมีการสร้างกรงเลี้ยงพ่อแม่ กรงไก่เล็ก และปล่อยให้ไก่ออกหากินในบริเวณบ้าน ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ส่วนมากเป็นสิ่งที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ อย่างลักษณะการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ เกษตรกรสร้างแบบง่าย ๆ ได้เอาวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก พื้นเล้าปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อย ฟางแห้ง หนาอย่างน้อยประมาณ 4 เซนติเมตร และต้องเปลี่ยนพื้นทุก ๆ 3 เดือน

 ในเล้าที่สร้างมีความกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ประมาณ 30-40 ตัว แม่ไก่จะเริ่มให้ไข่ เมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน โดยไข่เฉลี่ยปีละ 4 ชุด ชุดละ 10-12 ฟอง เมื่อเริ่มฟักไข่ ควรมีรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่เพื่อไม่ให้แย่งกัน และรังไข่ควรอยู่ในที่มิดชิดไม่ร้อนเกินไป ฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เข้าออกสะดวก แม่ไก่จะฟักไข่ 21 วัน จึงฟักเป็นตัว

"เมื่อไก่ฟักไข่ได้ 5-7 วัน นำไข่มาส่องดูเชื้อ โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นรูปทรงกระบอก ส่องกับแสงแดด ไข่ที่มีเชื้อจะมีจุดดำ และมีเส้นเลือดสีแดงกระจาย ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะไม่เห็นเส้นเลือด ต้องคัดออก"

การคัดเลือกไก่พ่อแม่พันธุ์มีความสำคัญ เช่น การเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จนั้นจักต้องมีการคัดเลือกไก่ที่มีลักษณะดี โดยมีหลักเกณฑ์ที่แนะนำให้ชาวบ้านคือ ในส่วนของพ่อไก่ที่ดีต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง น้ำหนักตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัม ขึ้นไป อายุ 9 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี แม่ไก่มีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ขึ้นไป อายุตั้งแต่ 7 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้ไข่อย่างน้อยปีละ 4 ชุด ชุดละ 12 ฟอง ฟักไข่ออกเป็นตัวอย่างน้อยชุดละ 8 ตัว และเลี้ยงลูกเก่งไม่ดุร้าย

พร้อมกันนี้ในการเลี้ยงของชาวบ้านสนธิ์พัฒนานั้นเน้นว่า การเลี้ยงลูกไก่นั้นควรให้แม่ไก่เลี้ยงและกกลูกเอง โดยย้ายทั้งแม่ไก่และลูกขังในสุ่มหรือกรงมีอาหารและน้ำให้กิน เมื่อลูกไก่อายุ 2 อาทิตย์ ปล่อยให้กินเองตามธรรมชาติ แม่ไก่จะเลี้ยงลูกประมาณ 1-2 เดือน ควรแยกแม่ไก่เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป หรือถ้าต้องการให้แม่ไก่เตรียมไข่รุ่นต่อไปเร็วขึ้นหลังจากเลี้ยงลูกไก่ได้ 2 อาทิตย์ ให้แยกลูกเลี้ยงต่างหากจนอายุได้เดือนครึ่งถึงสองเดือน จึงปล่อยเลี้ยงหากินตามธรรมชาติ ลูกไก่ระยะนี้มักจะตายมากที่สุด ควรดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด โดยเฉพาะน้ำและการป้องกันโรค

การให้อาหารลูกไก่ระยะกกหรืออายุประมาณ 1-14 วัน ควรให้อาหารบ่อย ๆ ใน 1 วัน อาจจะให้ตอนเช้า 2 ครั้ง บ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำ 1 ครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่และสด

การเลี้ยงลูกไก่ในช่วงแรกเกิดถึง 30 วัน ในสุ่มพร้อมแม่ไก่ควรให้อาหารสำเร็จรูป (อาหารเม็ด) หรือปลายข้าว รำละเอียด เปลือกหอย เกลือ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ปลาป่น จนลูกไก่แข็งแรงปล่อยหากินตามธรรมชาติ หรือแยกเลี้ยงลูกในคอกอนุบาล มีไฟฟ้ากกให้ความอบอุ่นและควรเอาใจใส่เรื่องอาหาร น้ำ การป้องกันโรค การทำวัคซีน

 

สำหรับการป้องกันโรคนั้น ในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยการรณรงค์ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเชียงคำ ที่ได้ตั้งสโลแกนว่า ไก่พื้นเมืองจะไม่ตาย ถ้าท่านทำวัคซีน ซึ่งได้ปรับวิธีการให้วัคซีนป้องกันโรค เพื่อให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองของชาวบ้านประสบผลสำเร็จ

 

วัคซีนตัวแรกที่แนะนำให้เริ่มทำคือ วัคซีนนิวคาสเซิล ลาโซต้า (ฝาขวดสีเขียว) ชนิดหยอดเข้าตาหรือจมูก ใช้กับลูกไก่ที่เกิดอาทิตย์แรก ตัวละ 1-2 หยด จะสามารถคุ้มโรคได้นาน ประมาณ 3 เดือน ซึ่งในวิธีการใช้วัคซีนชนิดนี้ เมื่อผสมวัคซีนเสร็จแล้ว ต้องรีบหยอด ภายใน 2 ชั่วโมง หากไม่หมดต้องเอาทิ้ง และเมื่อหยอดลูกไก่ไปได้ 2-3 ตัว ให้แช่น้ำแข็งสักครู่ จึงหยอดต่อ ทำสลับกันไป

 

สำหรับการใช้วัคซีนชนิดหยอดนี้ มีข้อแนะนำว่า ต้องมีถ้วยใส่น้ำแข็ง เพราะชนิดวัคซีนชนิดหยอดทุกชนิด เมื่อหยอดไปได้ 2-3 ตัว ต้องแช่วัคซีนสักครู่ แล้วถึงหยอดตัวต่อไป อีก 2-3 ตัว ทำสลับกันไปจนกว่าวัคซีนจะหมดหรือลูกไก่หมด เมื่อวัคซีนเหลือให้เอาทิ้ง ไม่ควรมาใช้อีก เพราะวัคซีนจะเสื่อมหลังจาก 3 ชั่วโมง ไปแล้ว

 

วัคซีนตัวต่อมาคือ วัคซีนหลอดลมอักเสบ (ฝาจุกสีฟ้า) ชนิดหยอดเข้าตาหรือจมูก ใช้กับลูกไก่อายุ 14 วัน ขึ้นไป ตัวละ 1-2 หยด สามารถคุ้มโรคได้นานประมาณ 3 เดือน วิธีการใช้วัคซีนชนิดนี้เช่นเดียวกับการทำวัคซีนนิวคาสเซิล

 

วัคซีนชนิดที่สามที่ต้องทำกับเมื่ออายุ 21 วัน ขึ้นไป คือ วัคซีนฝีดาษไก่ (ฝาสีแดง) เป็นชนิดแทงปีก สามารถคุ้มโรคได้นาน 1 ปี วิธีการใช้วัคซีน เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ปิดฝาขวดและใช้เครื่องแทงปีกจุ่มลงในขวด วัคซีนจะติดปลายเข็มแทงปีกแล้วรีบแทงปีกไก่ให้ทะลุปีก ทำซ้ำอีกครั้งกับปีกอีกข้างหนึ่ง

 

หากภายใน 2 ชั่วโมง ทำวัคซีนไม่หมด ก็เอาทิ้งเสีย พร้อมกันนี้ต้องมีถ้วยน้ำแข็ง เพราะวัคซีนชนิดนี้ต้องแช่น้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา

 

วัคซีนอีกชนิดคือวัคซีน นิวคาสเซิล เอ็มพี. (ฝาสีขาว) ใช้กับไก่รุ่นขึ้นไป วัคซีนนี้ให้ภูมิคุ้มโรคนาน 1 ปี วิธีการใช้วัคซีน เมื่อผสมวัคซีนเสร็จแล้ว ใช้ไซริงจ์ดูดวัคซีนทีละ 0.5 ซีซี หรือ 5 ขีด (ในปริมาณวัคซีน 1 ซีซี มี 10 ขีด) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ ตัวละ 1 ขีด

 

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ เป็นอีกชนิดหนึ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ต้องดำเนินการ โดยวัคซีนชนิดนี้ใช้กับไก่ใหญ่ สามารถคุ้มโรคนาน 3 เดือน สำหรับวัคซีนชนิดนี้ ไม่ต้องแช่น้ำแข็ง แต่อย่าให้ถูกแสงแดดหรือความร้อนเป็นอันขาด วิธีการใช้ ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 1 ซีซี

 

ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเกี่ยวกับการดูแลป้องกันโรคนี้ ปศุสัตว์อำเภอเชียงคำมีข้อแนะนำเพิ่มเติ่มเกี่ยวการปฏิบัติว่าเมื่อทำวัคซีนทุกอย่างแล้ว หากยังพบว่าลูกไก่หรือไก่ใหญ่ มีอาการหงอยซึม ไม่กินอาหาร ก็ให้รีบไปซื้อยาปฏิชีวนะชนิดซอง มาแช่น้ำให้กินหรือจะป้อนยาให้กินก็ได้

 

พร้อมกันนี้ ต้องถ่ายพยาธิบ่อย ๆ และเปลี่ยนพ่อไก่คุมฝูงบ่อย ๆ และคัดไก่ตัวผู้ออกขายตลอด เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ พ่อไก่จะผสมลูก พี่ผสมน้อง ลูกผสมกับแม่ ทำให้เกิดเลือดชิด ทำให้ไก่มีภูมิต้านโรคน้อยลง แคระแกร็น เติบโตช้า

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา