ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำไข่เค็ม

โดย : นายธานินทร์ เอืี่ยมธีรธิติ วันที่ : 2017-03-06-11:35:55

ที่อยู่ : 70 ม.12 ต.หัวง้ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายธานินทร์  เอี่ยมธีรธิติ ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนด้านการทำไข่เค็ม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วัสดุ-อุปกรณ์

 

๑. ไห หรือ โถแก้ว ภาชนะสำหรับดอง

๒. เกลือเม็ด ๑ ถ้วยตวง ต่อไข่ ๑๐ ฟอง

๓. น้ำ ๔ ถ้วยตวง หรือ ๑ ลิตร ต่อไข่ ๑๐ ฟอง

๔. ไข่เป็ดสด ๑๐ ฟอง(หากเพิ่มไข่ ให้เพิ่ม น้ำ และเกลือตามสัดส่วน)

๕. หม้อต้ม

๖. เตาไฟ

๗. ถุงพลาสติก

๘. ยางรัด

๙. ผ้าขาวบาง

 

วิธีทำ

 

๑. เลือกไข่เป็ดสดเปลือกเขียว(ไข่จะแดงกว่าไข่เปลือกขาว) ดูที่เปลือก ไม่บุบหรือแตกร้าว

 

๒. ล้างไข่เป็ดให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง วางเรียงในภาชนะบรรจุ

 

 

 

๓. ตวงน้ำและเกลือตามอัตราส่วน ต้มให้เกลือละลายทำการกรองทิ้ง ไว้ให้เย็น

 

๔. เทน้ำเกลือลงในภาชนะบรรจุ

 

 

 

๕. นำถุงพลาสติกใส่น้ำเกลือมัดปากถุงให้แน่นนำมาวางกดทับไข่ (ไข่ ต้องจมอยู่ในน้ำเกลือตลอดเวลา)

 

 

 

๖. นำผ้าพลาสติกหรือจาน ปิดปากไห/โถ ให้แน่นมิดชิด เก็บไว้ ประมาณ ๒๑ วัน

 

 

 

๗. เมื่อดองครบ ๑๔ วัน นำมาทอดไข่ดาวได้

๘. และเมื่อครบ ๒๑ วันนำไข่ออกมาล้างให้สะอาดนำไปต้มใช้ไฟปาน กลาง นานประมาณ ๒๐ นาที (ในขั้นตอนนี้ให้ใส่สารส้มเล็กน้อย เพื่อให้สารส้มกัดสีผิวของเปลือกไข่ ให้ขาวนวลดู สะอาดสวยงาม น่าซื้อ น่ารับประทาน) ไข่เค็มสูตรนี้ เมื่อต้มเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน อย่าง น้อย ๓๐ วัน ที่มา : เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

 

สาระสำคัญ

        " ไข่เค็ม " เป็นอาหารพื้นบ้านของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นที่นิยมในการบริโภคของคนไทย ในทุกๆภาค การผลิตไข่เค็มนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการทำ จึงเหมาะที่จะส่งเสริมการทำไข่เค็มให้เป็นที่แพร่หลายสำหรับบุคคลและชุมชนต่างๆ ที่มีความสนใจในวิชาการทำไข่เค็มนี้ การผลิตไข่เค็มถือเป็นเทคโนโลยีชาวบ้านวิธีหนึ่งที่ทำกันมานานจนถึงทุกวันนี้ โดยเริ่มแรกจุดประสงค์ในการทำไข่เค็มนั้น เพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บของไข่เป็ดซึ่งเหลือจากการบริโภคสด ต่อมาความนิยมในการบริโภคไข่เค็มมีมากขึ้น จนพัฒนาจากการผลิตไข่เค็มเพื่อการบริโภคในครัวเรือนมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า ซึ่งการจำหน่ายอาจจะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์ไข่เค็มเพื่อการรับประทานโดยตรงหรือนำไปทำไปเป็นไส้ขนม เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆ ปัญหาของการผลิตไข่เค็มเพื่อการค้าในปัจจุบันคือ ไข่เค็มที่ได้มีคุณภาพไม่ค่อยสม่ำเสมอ เนื่องจากขาดการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของไข่เค็ม โดยทั่วไปไข่เค็มที่มีในตลาด เป็นไข่เค็มที่ดองในสารละลายเกลือและไข่เค็มที่พอกด้วยดิน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา