ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดในโรงเรือน

โดย : นายเมธี พุทธวงค์ วันที่ : 2017-06-02-15:45:17

ที่อยู่ : ๒๔๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลดอยลาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ก่อนหน้านี้ ทำนาเป็นหลัก ทำแล้วขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง แล้วแต่ราคากลางที่พ่อค้าคนกลางเป็นคนกำหนด  เมื่อ ๒ ปีผ่านมาจึงตัดสินใจหันมาทำเห็ดในโรงเรือน  จึงได้มีการศึกษาเรียนรู้จากญาติพี่น้องที่เขาทำแล้วสำเร็จ  แล้วมาเรียนรู้ด้วยตนเอง จนมีการขยายโรงเพาะเห็ด ปัจจุบันมีโรงเพาะเห็ดจำนวน ๔ โรงเรือน และเป็นวิทยากรสอนให้กับคนที่เขาสนใจ ทั้งในหมู่บ้านและตำบล และนอกตำบล

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนที่สนใจ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทำก้อนเชื้อเห็ด

              วัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการเพาะเห็ดส่วนใหญ่นิยมใช้ขี้เลื่อย ซึ่งเป็นวัสดุหาได้ง่าย ราคาถูก  แต่ขี้เลื่อยที่จะนำมาใช้นี้ต้องไม่มียางที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้มะม่วง ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้งิ้ว ไม้มะกอก

              สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ด

              1) ขี้เลื่อยแห้ง      100   กิโลกรัม       4) รำละเอียด     5  กิโลกรัม

              2) ปูนขาว     1  กิโลกรัม           5) ยิบซั่ม            2  กิโลกรม

              3) ดีเกลือ  0.2  กิโลกรัม           6) ผสมน้ำให้มีความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) หมักขี้เลื่อย นำขี้เลื่อยกองบนลานซีเมนต์ภายในลานกว้าง สะดวกในการทำงาน  นำอาหารเสริมหรือส่วนผสมต่างๆมาผสมกันแล้วทำการคลุกเคล้าอีกครั้ง พร้อมเพิ่มความชื้นโดยรดน้ำให้เปียกชื้น ความชื้นของขี้เลื่อยอยู่ในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ หรือนำขี้เลื่อยปั้นแล้วขี้เลื่อยเป็นก้อน ถือว่าใช้ได้ ใช้พลั่วผสมกลับไปกลับมาพลิกหลายๆ ครั้ง

             2) การบรรจุถุง  นำขี้เลื่อยที่ผสมตามสูตรข้างต้นลงในถุงพลาสติก ถุงร้อนพับก้นขนาด 7x11 นิ้ว หรือ 9x12 นิ้ว  บรรจุให้ได้ขนาด 8-10 กรัม อัดให้แน่นพอสมควรอย่าแน่นมาก และหลวมเกินไป

             3) รวบปากถุงป้องกันอากาศออก สวมคอขวดพลาสติก แล้วพับปากถุงพาดลงมารัดยางให้แน่น  อุดด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก

             4) นำไปฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิ 90-100 องสาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งให้ถุงเย็น

             5) นำถุงก้อนเชื้อเห็ดมาใส่เชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละประมาณ 10-15 เมล็ด (เขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก) จึงรีบปิดปากถุงด้วยสำลีทันที การเทหัวเชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อต้องทำอย่างรวดเร็ว จากนั้นขณะที่ใส่เชื้อเห็ดควรที่จะทำให้สะอาด เพื่อกันเชื้อราปนเปื้อน

             6) นำก้อนเชื้อเห็ดไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใย ในห้องที่สะอาดอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ต้องรดน้ำที่ก้อนเชื้อ รอจนกระทั่งเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุง จึงสามารถนำไปเปิดดอกเห็ดในโรงเรือนสำหรับเปิดดอกอีกครั้ง  

 

ข้อพึงระวัง ->

การเปิดดอกเห็ด

              นำก้อนเชื้อที่เส้นใยเจริญเต็มที่แล้วมาวางเรียงซ้อนๆ กันบนชั้นวางก้อนเชื้อเห็ด (โรงเรือนมักจะ เป็นหลังคาหน้าจั่วมุงจาก พื้นโรงเรือนควรจะเป็นพื้นคอนกรีตหรือทราย ภายในโรงเรือนควรจะมีความชื้นสูง ) จากนั้นก็เปิดจุกสำลีและคอขวดออกจากก้อนเชื้อเห็ด รดน้ำให้ภายในโรงเรือนมีความชื้น ใหม่ๆจะต้องรดทั้งเช้าและเย็น ให้สังเกตจากดอกเห็ด ถ้าผิวของดอกเห็ดแห้งก็รดน้ำให้มากขึ้น ถ้าเห็ดแฉะก็ควรลดปริมาณน้ำลง หลังจากให้น้ำไป 1-3 สัปดาห์ เห็ดก็จะเริ่มออกดอกและสามารถเก็บดอกได้อีก 4-5 วัน  ก้อนเชื้อเห็ด 1 ก้อนสามารถให้ผลผลิต ประมาณ 2-3  เดือน

            

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา