ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สวนลำไย

โดย : นายบุญเลิศ อุดทังไข วันที่ : 2017-04-20-14:39:08

ที่อยู่ : 97 หมู่ 20 ต. แม่เปา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เหตุผลที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือ ตั้งใจทำ ให้ตนเองภูมิใจและคนอื่นพอใจ 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูก

          ระยะปลูก      8 – 12  x  8 –12 เมตร

          การเตรียมหลุมปลูก   ขนาด 80x80x80 เซนติเมตร

          ฤดูปลูกลำไย   ปลูกได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะสมคือปลายฤดูฝน (กันยายนถึงตุลาคม) ซึ่งมีความชื้นในดินและอากาศเหมาะสม ลำไยจะเจริญเติบโตได้ดี

          วิธีการปลูก ส่วนใหญ่ปลูกด้วยกิ่งตอน การปลูกจะขุดตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับภาชนะที่ใช้ชำ ใส่ฟูราดานรองก้นหลุมประมาณครึ่งช้อนแกง เพื่อป้องกันปลวกและแมลงในดิน จากนั้นกลบดินให้แน่น ให้สูงกว่าระดับพื้นดินทั่วไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปักหลักป้องกันลมโยกต้นลำไย

การปฏิบัติดูแลรักษา

             การดูแลรักษาในระยะที่ลำไยยังไม่ให้ผล

-     การทำร่มเงา  ควรทำร่มเงาให้ต้นลำไยที่ปลูกใหม่ เมื่อต้นลำไยตั้งตัวได้ดีแล้วจึงเอาที่บังร่มออก

-     การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณสัปดาห์ละ

หนึ่งครั้ง จนต้นลำไยตั้งตัวได้ดีแล้วก็ให้น้ำตามความจำเป็น

-     การคลุมดิน วัสดุใช้คลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว เศษหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆ ปลูกคลุมดิน ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน

-  การสร้างทรงพุ่มของลำไย  จะสร้างทรงพุ่มของลำไยให้เป็นต้นเดี่ยวขึ้นไปก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยให้แตกกิ่งก้านเมื่อมีความสูงจากดินประมาณ 1 เมตร ประมาณ 2 – 3 กิ่ง

-     การให้ปุ๋ย เมื่อต้นพันธุ์ตั้งตัวได้แล้วควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น  ปุ๋ยคอก และปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อัตรา 100 – 150 กรัม/ครั้ง/ต้น

 

 

การดูแลรักษาลำไยที่ให้ผลผลิต

             เดือนกันยายน ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

-     การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก  กิ่งน้ำค้าง  กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น

-     ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  10 – 20 กก./ต้น

-     ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 1 – 2 กก./ต้น

-     ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

    เดือนตุลาคม ระยะแตกใบอ่อน

-    พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 อัตรา 20 – 30 ซีซี/น้ำ       20  ลิตร

-    ควรกำจัดวัชพืชให้หมด

เดือนพฤศจิกายน ระยะใบแก่

-    ควรมีการแต่งกิ่งอีกครั้ง ตัดเฉพาะกิ่งที่แตกออกมาเป็นกระจุก  กิ่งน้ำค้าง  กิ่งซ้อนกัน

-    การใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวหลังสูง เช่น สูตร 9-24-24 ประมาณ 1 - 2  กก./ต้น เพื่อบำรุงให้มีการสะสมอาหารและการสร้างตาดอก

-    ควรงดให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น

เดือนธันวาคม ระยะใบแก่

-    ควรกำจัดวัชพืช ทำความสะอาดสวนและใต้ทรงพุ่ม

-    ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงต้นและกระตุ้นการสร้างตาดอก เช่น ปุ๋ย 10-45-10 อัตรา 20 – 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

-    ควรงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นลำไยมีการสร้างตาดอก

เดือนมกราคม   ระยะแทงช่อดอก

-    ควรมีการให้น้ำเล็กน้อย และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ

-    ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอก และการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10 อัตรา 20 – 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

เดือนกุมภาพันธ์ ระยะดอกบาน

-    ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

-    ควรนำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร

-    ควรงดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิด

เดือนมีนาคม - เมษายน ระยะติดผลขนาดเล็ก

-     ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

-    ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1 – 2 กก./ต้น เพื่อบำรุงให้ผลโตอย่างสม่ำเสมอ

เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ระยะผลกำลังเจริญเติบโต

-    ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

-    ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21

          เดือนสิงหาคม  ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

-    งดการให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 7 – 10 วัน

-    การเก็บเกี่ยว  ควรใช้ บันได หรือ พะอง พาดกิ่งขึ้นไปใช้กรรไกรตัดข้อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา