ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการจักสานตะกร้าหวายเพื่อการค้า

โดย : นายมิตร ไชโย วันที่ : 2017-08-17-10:48:48

ที่อยู่ : 91 ม.5 ต.หนองแรด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

อาชีพดั่งเดิมของข้าพเจ้า ก่อนจะมาประกอบอาชีพ จักสานหวาย(ตะกร้าหวาย) คือ ทำงานก่อสร้าง รับเหมา รับจ้างรายวันเนื่องจาก อาชีพทำงานก่อสร้าง เป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตราย รายได้ไม่แน่นอน ประกอบกับเมื่อปี พ.ศ. 2556 คนในหมู่บ้านที่มีอาชีพค้าขายของเร่ ได้ทดลองทำตะกร้าหวาย ซึ่งมีรูปทรง หลากหลาย มีหลายขนาดทั้ง ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และได้นำเอาตะกร้าหวายไปทดลองขายตามตลาดต่างจังหวัด และติดต่อร้านค้าต่างๆปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงได้นำอาชีพจักสานหวายมาสอนให้คนในหมู่บ้าน และรับซื้อคืนเพื่อนำไปจำหน่ายตามต่างจังหวัด ซึ่งก่อให้เกิดงานในชุมชน ชุมชนมีรายได้ตลอดทั้งปี ข้าพเจ้าจึง ประกอบอาชีพจักสานตะกร้าหวายตั้งแต่บัดนั้นมา

ปัจจุบัน ประชาชนในบ้านม่อนป่ายาง หมู่ที่ 5 ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย ร้อยละ 90 ของประชาชนในหมู่บ้านประกอบอาชีพ จักสานหวาย (ตะกร้าหวาย) ทำให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชน มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ตลอดทั้งปี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้มีรายในครัวเรือนได้เพิ่มขึ้น

มีอาชีพที่มั่นคง รายได้แน่นอน

ตอบสนองความต้องการของตลาด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- หวายโครงสร้าง

- หวายขึ้นรูป (หวายสาน)

อุปกรณ์ ->

มีด

กรรไกรตัดหวาย

ตลับเมตร

ตะปูเล็ก ขนาด 1ซม.

ค้อน

คีม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ 1.      - ตัดหวายขนาด 0.92 ซม. จำนวน 1 เส้น

- ตัดหวายขนาด 0.94 ซม. จำนวน 2 เส้น

- นำหวาย ทั้ง 3 เส้น ประกบกันโดยเอา เส้นขนาด 0.92 ซม. ไว้ตรงกลาง ยึดด้วยตะปู เมื่อประกบแล้วดัดให้โค้งเป็นรูปตัวยู(U) เป็นที่จับตะกร้า ชาวบ้านเรียกว่า งวง

ขั้นตอนที่ 2.      - ทำปากของตะกร้า ตัดหวายยาว 0.31 ซม.จำนวน 2 เส้น ตัดหวายขนาด 0.25 ซม.จำนวน 2เส้นประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขั้นตอนที่ 3      - ทำโครงสร้างฐานล่าง(ก้นตะกร้า)ตัดหวายขนาด 0.24 ซม.จำนวน 2เ ส้น ตัดหวายขนาด0.19 ซม.จำนวน 4 เส้น ประกอบเข้าด้วยกันเหมือนกับขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 4      - ประกอบฐานต่อจากขั้นตอนที่ 3 โดยผ่าหวายเป็น 2 ส่วน ประกบบนฐานที่ทำไว้ยึดด้วยตะปู

ขั้นตอนที่ 5      ตัดหวายขนาด 0.18 ซม.จำนวน 37 เส้น แล้วผ่าครึ่ง

ขั้นตอนที่ 6      ประกอบโครงสร้างทั้งหมดเข้าด้วยกัน                          

ขั้นตอนที่ 7      - การสานตะกร้า โดยผู้จักสานตะกร้าหวายที่มีความชำนาญจะออกแบบลวดลายใช้หวายเส้น(หวายขึ้นรูป)ใช้หวายขึ้นรูปประมาณ 2.5ขีด

ข้อพึงระวัง ->

เนื่องจากหวายเป็นพืชตระกูลไม้เลื้อย ลำต้นไม่ค่อยตรง ต้องดัดให้ตรง และหวายจะเปราะ ไม่แข็งแรงหักง่าย ข้อควรระวัง หวายแต่ละเส้นมีความคงทนแข็งแรงไม่เท่ากัน เมื่อเอามาประกอบเป็นรูปทรงตะกร้า หรือดัดให้ตรงมักจะหัก ต้องเลือกหวายที่มีความคงทนแข็งแรง สังเกตจากสีผิวของหวายจะมีสีออกเขียว
เมื่อเกิดความผิดพลาดในขณะจักสานตะกร้าหวายให้ย้อนกลับตามขั้นตอนที่ทำมา แล้วเปลี่ยนออก ความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากหวายไม่แข็งแรงกรอบหักง่าย
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา