ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจัดการขยะ

โดย : นายประมวล ปริวรรณา วันที่ : 2017-02-28-14:06:52

ที่อยู่ : 5 ม.2 ต.หัวง้ม อ.พาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายประมวล ปริวรรณา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม และปราชญ์ชุมชนสัมมาชีพได้เล่าความเป็นมาการบริหารจัดการขยะในหมู่บ้าน บ้านป่าคา ม.2 ต.หัวง้ม ดังนี้2553ปริมาณขยะในหมู่บ้านป่าคามีสูงมากและมีการเผาขยะเยอะในอันดับต้นๆ ของตำบลหัวง้ม จึงทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

2554 ทางตำบลหัวง้มได้มีการรณรงค์การประกวดหมู่บ้านรวมถึงสภาพภูมิทัศน์ และกรรมการหมู่บ้านเห็นเศษขยะทำให้ภูมิทัศน์ไม่สวยงามส่วนมากจะเป็นเศษกระดาษและขวดแก้ว

มีนาคม 2555 นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาฝึกงาน และคิดทำโครงการคัดแยกขยะจึงนำแนวคิด เสนอต่อผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนมีความสนใจ จึงนำเข้าประชุมประชาคมประจำเดือนและรวมกันทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม

เมษายน 2555 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 2000 บาท การประชุมประจำเดือนเมษายน ก็ได้แจ้งรายละเอียด ในการจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือน มีชาวบ้านส่วนน้อย ได้กล่าวว่า ยุ่งยากขยะมีเท่าไหร่ก็ทิ้งๆและก็เผาๆ ก็แค่นั้น ใครอยากทำก็ทำก็ทำเอง คณะกรรมการก็มีการแก้ปัญหา โดยนำร่องในบ้านของผู้นำ จำนวน 10 หลังคาเรือน หลังคาละ 200 บาท

พฤษภาคม 2555 ภายหลังได้รับเงินสนับสนุนมาแล้ว จึงได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์มาทำเป็นภาชนะใส่ขยะแต่ละประเภท ขยะแห้ง พลาสติก ขวดแก้วและในส่วนของขยะเปียกนั้นนำมาทำเป็นปุ๋ยคอก การคัดแยกขยะทำให้ประชาชนในชุมชน มีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการขาย ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ

ปัจจุบัน ได้มีเครือข่ายขยายผลในชุมชนให้ถึงทุกหลังคาเรือน และพัฒนาสู่ระดับตำบล

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดขยะในครัวเรือน และเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะบ้านป่าคา มีการจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยแบ่งการจัดการออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

การจัดการงาน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานของสมาชิกทุกคนมีการจัดสรรให้สมาชิกรับผิดชอบในการประสานงานกับกลุ่มต่างๆ เพื่อสะดวกในการตามระบบที่วางไว้มีการประสานทำงานร่วมกับกลุ่มหน่วยงานและกลุ่มประชาชนในบ้านหมู่บ้านป่าคา

การจัดการคนมีแนวทางการจัดการชีวิตของตนเองและครอบครัวเนื่องจากชุมชนตำบลหัวง้ม มีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยการช่วยกันทำสถานที่เก็บขยะที่คัดแยกแล้ว และสานสะเหวียนเพื่อเอาไว้ใส่เศษใบไม้เพื่อทำปุ๋ยคอก

          การจัดการข้อมูล ในการจัดการข้อมูลสมาชิกกลุ่มจัดการขยะในครัวเรือนโดยอาศัยข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกสามารถพูดคุย สอบถาม สังเกต โดยวางแผนพัฒนาศักยภาพด้วยการไปศึกษาดูงาน เพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชน

 

 

การจัดการทรัพยากรเงิน/ทุนโดยสมาชิก

โดยให้สมาชิกสามารถนำขยะที่คัดแยกแล้วสามารถนำไปขาย และนำเศษขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยคอกเพื่อใส่พืชผักได้ เพื่อสร้างนิสัยการคัดแยกขยะและทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง เพื่อลดปริมาณขยะที่มีมากในชุมชนได้ เปลี่ยนขยะที่ไม่มีค่าเป็นขยะที่มีค่าได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา