ความรู้สัมมาชีพชุมชน

วิทยากรด้านการใช้ภาษาไทย

โดย : นายเสนอ เมืองขวัญใจ วันที่ : 2017-02-28-14:07:34

ที่อยู่ : 155 ม.1 ต.หัวง้ม อ.พาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายเสนอ เมืองขวัญใจ ข้าราชการบำนาญ มีความรู้ด้านการใช้ภาษาไทย เนื่องจากตอนรับราชการครูเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทย เมื่อเกษียณอายุราชการจึงถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยให้กับบุคคลที่สนใจและนักเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อฝึการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

  ภาษาไทย  

             ภาษาพูดหมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารกันด้วยการพูด

             ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด

             1.ภาษาเป็นวัฒนธรรม

              ภาษาเป็นวัฒนธรรม เพราะภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยเหตุที่คนพูดภาษาเดียวกันย่อมมีควมผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันประกอบภารกิจต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องบอกให้รู้นิสัยใจคอ สภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆด้วย เช่น สำนวนไทยที่ว่า"สำเนียงบอกภาษา กิริยาส่อสกุล" เป็นต้น
                            อีกประการหนึ่งที่ว่าภาษาเป็นวัฒนธรรม ก็คือ ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงไร เราก็จะสังเกตุได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อนเวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วจะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้งไม่กำกวม
เป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับฐานะของบุคคล
             2.การแบ่งระดับภาษา
              ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือมีการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งภาษาอื่นๆ เช่น
ภาษาอังกฤษก็มีระดับภาษาเช่นกันแต่ลักษณะดังกล่าวมิใช่เรื่องสำคัญเป็นพิเศษเหมือนภาษาไทย เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ระดับภาษาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาที่พัฒนาแล้ว และเมื่อกล่าวเฉพาะภาษาไทย
ระดับภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่นักเรียนภาษาไทยจะต้องเข้าใจและใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม
             โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
เท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาสมกับกาลเทศะ
บุคคล รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
ระดับของภาษาที่จะใช้ จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่ และประชุมชน
             ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส
กาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร
             คนในสังคมแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายชนชั้นตามสถานภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกหลายระดับไปตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษาด้วย เช่น การกำหนดถ้อยคำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ให้แตกต่างจากคนทั่วไป หรือการคิดถ้อยคำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในวงการอาชีพต่างๆ การสนทนาระหว่าง
ผู้ที่คุ้นเคยกันย่อมแตกต่างจากการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรก หรือการพูดในที่ประชุมชน
ย่อมต้องระมัดระวังคำพูดมากกว่าการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะ
อย่างงานวิชาการก็ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น ข่าว เรื่องสั้น หรือบทกวี เป็นต้น
ผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามโอกาสกาลเทศะ
และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
             การแบ่งระดับภาษาสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อให้เข้าใจง่ายอาจจะแบ่งระดับภาษา
เป็น3ระดับดังนี้
                          2.1 ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่มีแบบแผน เช่น การบรรยาย
การอภิปรายอย่างเป็นทางการหรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะใช้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน เช่น ตำราวิชาการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจผู้รับสารและผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือวงอาชีพเดียวกันติดต่อกันในด้านธุรกิจการงาน เช่น บอกหรือรายงาน
ให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม เสนอความคิดเห็น ฯลฯ ลักษณะของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความคิดที่สำคัญ              

                         2.2 ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารโดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความรวดเร็วลดความเป็นทางการลงบ้างเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มักใช้ในการประชุมกลุ่มการอภิปรายกลุ่มการบรรยายในห้องเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ฯลฯลักษณะของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ธุรกิจ การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการหรือการดำเนินชีวิตฯลฯ มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น และอาจมีถ้อยคำที่แสดงความคุ้นเคยปนอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น

                          โลกของเด็กไม่ใช่โลกของผู้ใหญ่ และในทำนองเดียวกันโลกของผู้ใหญ่ก็ย่อมไม่ใช่โลกของเด็ก ในขณะที่ผู้ใหญ ชอบรับประทานน้ำพริก เด็กก็ชอบรับประทานแกงจืด เด็กชอบไอศครีม ผู้ใหญ่ชอบเหล้าฉะนั้นดูไปบางทีโลกของผู้ใหญ่กับโลกของ เด็กก็ลอยห่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งทางเดินแห่งความคิดของผู้ใหญ่กับของเด็กมักจะสวนทางกันอยู่เสมอถ้าผู้ใหญ่ไม่หมุนโลกของตน   ให้มาใกล้เคียงกับโลกของเด็กบ้างบาทีเมื่อผู้ใหญ่หันกลับโลกของเด็กก็ลอยไปไกลจนสุดไขว่คว้า
เสียแล้ว (รัญจวน อินทรกำแหง,2524:9)

                          2.3 ภาษาระดับปาก เป็นภาษาที่ใช้ในการพูด มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัวกับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย เช่นระหว่างสามีภรรยา ระหว่างญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท เป็นต้น ลักษณะของสารไม่มีขอบเขตจำกัด แต่มักใช้ในการพูดจากันเท่านั้น อาจจะปรากฏในบทสนทนาในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อความสมจริงถ้อยคำที่ใช่อาจมีคำคะนอง คำไม่สุภาพ หรือคำภาษาถิ่นปะปนอยู่

.

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา