ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การจักสานทางมะพร้าว

โดย : นางทองลา อุปละ วันที่ : 2017-02-28-14:10:17

ที่อยู่ : 119 ม.5 ต.สันติสุข อ.พาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพานได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจักสานตะกร้าทางมะพร้าวในปี 2523 ได้มีการรวมกลุ่มของสตรีในชุมชน เพื่อหารายได้เสริมนอกฤดูกาลเกษตร โดยได้ร่วมกันคิดพัฒนางานจักสานจากก้านมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น จากนั้นจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มจักสานบ้านสันกอตาล โดยมีประธานกลุ่มคนแรก คือ นางตุ่น ใจปิน ซึ่งเป็นประธานกลุ่มพัฒนาสตรีหมู่บ้านสันกอตาล มีสมาชิกแรกก่อตั้ง จ านวน 15 คน โดยมีสำนักงานเกษตรอำเภอพาน

ส านักงานพัฒนาชุมชนอ าเภอพานเข้ามาสนับสนุนการก่อตั้งกลุ่มปี 2526 กลุ่มฯ ได้ส่งตัวแทนสมาชิกไปอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการจักสานที่ศูนย์พัฒนาอาชีพป่าซาง ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นระยะเวลา 3 เดือน และได้มีการระดมทุนจากสมาชิกซึ่งในขณะนั้นเพิ่มเป็น 20 คน โดยระดมทุนจากสมาชิก เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการท างานมากขึ้นก าหนดหุ้นละ 50 บาท คนละ 2 หุ้น รวมทั้งสิ้น 40 หุ้นปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการจักสานทางมะพร้าว และเป็นวิทยากรทั้งภายในอำเภอพาน และอำเภออื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย

 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ก้านมะพร้าว           ๒. ไม้ไผ่           ๓. ปอทอเสื่อ ( ปอเทียมเส้นเล็ก )  ๔. หวายเทียม

๕. ลวด                    ๖. คีมล็อก        ๗. คีมปากนกแก้ว                   ๘. คีมปากจิ้งจก

๙. กรรไกรตัดกิ่งไม้        ๑๐. เลื่อยสำหรับตัดไม้ไผ่    ๑๑. เหล็กแหลม         ๑๒. มีดตอก

๑๓. มีดใหญ่               ๑๔. สายวัด      ๑๕. เข็มเย็บผ้าเบอร์ใหญ่           ๑๖. ดินสอหรือปากกา

อุปกรณ์ ->

๑. ก้านมะพร้าว           ๒. ไม้ไผ่           ๓. ปอทอเสื่อ ( ปอเทียมเส้นเล็ก )  ๔. หวายเทียม

๕. ลวด                    ๖. คีมล็อก        ๗. คีมปากนกแก้ว                   ๘. คีมปากจิ้งจก

๙. กรรไกรตัดกิ่งไม้        ๑๐. เลื่อยสำหรับตัดไม้ไผ่    ๑๑. เหล็กแหลม         ๑๒. มีดตอก

๑๓. มีดใหญ่               ๑๔. สายวัด      ๑๕. เข็มเย็บผ้าเบอร์ใหญ่           ๑๖. ดินสอหรือปากกา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. เลือกก้านมะพร้าวเหลือง ๆ ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป จะทำให้ได้ตะกร้าที่แข็งแรง มีสีสวย ถ้าเป็นก้านที่แก่มากจะทำให้สีคล้ำ หรืออ่อนเกินไปจะออกสีเขียวอ่อนและไม่แข็งแรง มะพร้าวน้ำหอมจะมีก้านที่สั้นกว่ามะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวที่ใช้ทำขนมและแกงกะทิ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานว่าต้องการตะกร้าใบใหญ่หรือใบเล็ก

๒. นำก้านมะพร้าวมาเหลาใบออก ใช้มีดขูดให้เกลี้ยง จากนั้น นำไปตากแดดให้แห้งเพราะจะทำให้สานตะกร้าได้แน่น ไม่หลวม และช่วยป้องกันไม่ให้ขึ้นราได้ง่าย

๓. เหลาไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบน ๆ ความหนาแล้วแต่ความต้องการ เพื่อใช้ขดเป็นวงสำหรับทำโครงตะกร้า ต้องการให้เป็นรูปทรงใดอยู่ที่ขั้นตอนนี้ ตะกร้า ๑ ใบใช้โครงไม้ไผ่ ๕ อัน ประกอบเป็นส่วน ก้นตะกร้า ๒ อัน ตัวตะกร้า ๑ อัน (ส่วนกลาง ) และปากตะกร้า ๒ อัน

๔. นำก้านมะพร้าวที่เหลาและตากแดดเรียบร้อยแล้วมาสานไขว้กันไปมา ให้มีความถี่ห่างแล้วแต่ความต้องการ โดยเริ่มสานกับโครงไม้ไผ่ส่วนที่เป็นตัวตะกร้า ใช้ปอทอเสื่อที่ร้อยเข็มแล้วมัดให้ก้านมะพร้าวกับโครง

ไม้ไผ่ติดกัน ขั้นตอนนี้ต้องพยายามจัดก้านมะพร้าวให้เรียงเสมอกัน และมัดด้วยปอทอเสื่อให้แน่นหนา

๕. เมื่อสานส่วนตัวตะกร้าจนรอบแล้วจึงสานก้นตะกร้าโดยใช้โครงไม้ไผ่ประกัน ๒ วง และมัดด้วยลวด และหวายเทียม

๖. จากนั้นนำโครงไม้ไผ่อีก ๒ อัน ประกบตรงส่วนปากตะกร้า ใช้ลวดและหวายเทียมมัดเช่นกัน ขั้นตอนนี้จะตกแต่งปากตะกร้าด้วยการสานหวายเทียม

๗. รวบก้านมะพร้าวส่วนที่เหลือทั้งสองข้างไว้ด้วยกัน แล้วนำก้านมะพร้าวทั้งสองข้างมัดเชื่อมต่อกันด้วยหวายเทียมเพื่อเป็นหูตะกร้า ตัดก้านมะพร้าวที่ยาวเกินไปออกและตกแต่งให้เรียบร้อย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา