ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

โดย : นางกาวี สิงอุดม วันที่ : 2017-03-13-14:05:04

ที่อยู่ : 172 หมู่ 11 ตำบลเขาค่าย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เรียนรู้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

วัตถุประสงค์ ->

เป็นรายได้เสริมในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ตัวไหม

ใบหม่อน

อุปกรณ์ ->

กระด้ง

จ่อ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อตัวไหมฟักออกหมดแล้วต้องแก้กระดาษที่ห่อนั้นออกแล้วหั่นใบหม่อนอ่อนๆ  ให้กินโดยโรยลงไปบนตัวไหมพอควรทีแรกตัวไหมฟักมีอายุได้  4 - 5  วันก็จะนอนครั้งหนึ่งเมื่อสังเกตดูว่าเห็นตัวไหมเริ่มนอนแล้วก็อาจจะถ่ายมูลไหมและเศษไหมหม่อนแห้งในกระด้งใหม่เสียก่อนที่ตัวไหมจะตื่นนอน  เมื่อตัวไหมเป็นเช่นนี้เรียกว่า  "นอนหนึ่ง" ตัวไหมจะมีอาการเช่นนี้อยู่วันหนึ่งหรือสองวันจึงจะฟื้นแข็งแรงเมื่อตัวไหมฟื้นจากนอนหนึ่งแล้วผู้เลี้ยงก็จะเลี้ยงโดยหั่นใบหม่อนให้กินอย่างเดิม  พอได้  7  วันตัวไหมก็จะสงบนิ่งไม่กินใบหม่อนและมีอาการเหมือนกันกับครั้งแรก  คือ  มีอาการสงบนิ่งและจะมีอาการเช่นนั้นอีกวันหนึ่งหรือสองวันเรียกว่า  "นอนสอง"  เมื่อฟื้นจากนอนสองคราวนี้ไม่ต้องหั่นใบหม่อนให้กินเพราะตัวไหมเขื่องขึ้นแล้ว  ต่อไปอีก  7  วันตัวไหมจะมีอาการสงบนิ่งเหมือนที่เคยคราวนี้เรียกว่า  "นอนสาม"  เมื่อฟื้นจากนอนสามต่อไปอีก  7  วันตัวไหมก็จะมีอาการดังกล่าวอีกเรียกว่า  "นอนสี่" หลังจากนอนสี่แล้วก็ถึงนอนห้ารอหนอนสุก  (ตัวไหม)  ที่แก่เต็มที่แล้วเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  "ไหมสุก"  ซึ่งตัวไหมจะทำฝักและทำรัง

ไหมทำฝักและทำรังเมื่อคัดตัวไหมขั้นนอนห้าประมาณ  5 - 7  วัน  ตัวไหมก็จะเริ่มแก่  (เริ่มสุก)  ก่อนที่ตัวไหมเป็นฝักและทำรังต้องหาจ่อไว้ให้พอดีกับตัวไหมหลังจากนั้นผู้เลี้ยงต้องหมั่นตรวจดูว่า  ตัวไหมแก่คือ  ทำฝักทำรังลักษณะที่ไหมทำการฝักทำรังจะสังเกตได้โดยดูตัวไหมที่มีสีเหลืองไปทั้งตัวแล้วรีบคัดตัวไหมตัวนั้นไป  ใส่ไว้ในจ่อเลี้ยงคราวหนึ่งต้องคอยคัดไปใส่จ่อเรื่อย ๆ ราว  4 - 5  วัน  จนหมดตัวแก่นั้นในขณะที่คัดตัวไหมไปใส่จ่อผู้เลี้ยงต้องไม่ให้อาหารกับตัวไหม  เลยเพื่อจะได้ให้ตัวไหมรีบทำฝักและทำรัง  เมื่อตัวไหมเข้าไปอยู่ในฝักราว  3  วันตัวไหมก็จะยุบตัวเล็กลงเรียกว่า  "ตัวดักแด้"  เลี้ยงจับฝักเขย่าดูปรากฏว่ามีเสียงดังขลุก ๆ อยู่ภายในแล้วแสดงว่าใช้ได้ จึงนำเอาไปต้มแล้วสาวต่อไป  ถ้ารังใดจะเก็บเอาไว้ทำพันธุ์  ก็เก็บเอาไว้นานประมาณ  7  วันตัวดักแด้ก็จะมีปีกเรียกว่า  "ตัวบี้"

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา