ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักไร้ดิน

โดย : นายธวัชชัย เพราแดง วันที่ : 2017-03-06-14:07:00

ที่อยู่ : 85 หมู่ 5 ตำบลครน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ต้องการทดลองสภาพอากาศกับการปลูกผักเมืองหนาวในชุมพร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนและวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

1. การเพาะเมล็ด นำฟองน้ำสำหรับเพาะเมล็ดบรรจุใส่ถาดเพาะเมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้มือกดฟองน้ำแล้วรดน้ำตาม จากนั้นใช้ไม้ปลายแหลมจุ่มน้ำและแตะที่เมล็ดพันธุพืชประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเป็นผักสลัดใส่ 1 เมล็ด ) หลังจากใส่เมล็ดครบทุกช่องแล้ว นำถาดเพาะเมล็ดไปวางไว้ในที่ร่ม คลุมด้วยผ้าทึบแสงเพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด ทำการรดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า เย็น หลังจากเพาะได้ 3 วันเมล็ดจะเริ่มงอก

2. การอนุบาลต้นกล้า เปิดผ้าทึบแสงออกเพื่อให้ต้นกล้าได้รับแสง (โดยอาจใช้ตาข่ายพรางแสงชนิด 60 เปอร์เซ็นต์  2 ชั้นพรางแสง) ทำการอนุบาลรดน้ำเช้า-เย็น จนกระทั่งต้นกล้าสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีระบบรากและใบเลี้ยงที่สมบูรณ์ (ประมาณ 3-4 วัน หลังจากเปิดผ้าทึบแสง)

3. การย้ายปลูก นำต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 7-8 วัน ย้ายลงแผ่นปลูก โดยให้ยกแผ่นปลูกขึ้นมาแล้วสอดต้นกล้าเข้าไปทางด้านล่างของแผ่นปลูก แต่ถ้าหากปลูกในถ้วยปลูกให้ใส่ต้นกล้าลงในถ้วยปลูกก่อนแล้วจึงวางถ้วยปลูกลงบนแผ่นปลูกและให้รากสัมผัสกับน้ำ (ควรย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูกในตอนเย็นเพื่อให้พืชปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้)

4. การดูแลต้นกล้าหลังจากย้ายปลูก

4.1 การเติมธาตุอาหาร หลังจากย้ายปลูกต้นกล้าผ่านไป 1 วัน ให้เติมสารละลายธาตุอาหาร A ทิ้งไว้ ประมาณ 4 ชั่วโมง (หรือเมื่อสารละลาย A ผสมกับเข้าน้ำทั้งหมด) หลังจากนั้นให้เติมสารละลายธาตุอาหาร B ลงไป (อย่าเติมสารละลาย A และ B พร้อมกัน เนื่องจากเมื่อสารละลาย A และ B ที่มีความเข้มข้นสูงผสมกันจะทำให้ธาตุอาหารตะกอน ซึ่งจะทำให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้)

4.2 ค่าปริมาณความเข้ม (Electrical conductivity ; EC) ของสารละลายธาตุอาหาร A และ B ที่เติมต้องมีความเหมาะสมต่อชนิดพืชที่ปลูก (ดังตารางที่ 1)

4.3 ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลายธาตุอาหารที่พืชต้องการ (A+น้ำ+B =สารละลายธาตุอาหารที่พืชต้องการ)ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 แนะนำให้ใช้กรดไนตริก (HNO3 ) และ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH ) ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เนื่องจากแตกตัวแล้วจะให้ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย

ดังนั้น ควรปรับค่า EC และค่าpH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 สัปดาห์ (ตารางที่ 2) ควรงดเติมธาตุอาหารให้เติมแต่น้ำเพื่อป้องกันและลดการสะสมธาตุอาหารต่างๆในพืช โดยเฉพาะการสะสมไนเตรท

ตารางที่ 1 ค่า EC ที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด

ชนิดของพืชค่า EC (mS/cm)

คะน้าเห็ดหอม4.5

คะน้าฮ่องกง4.5

ผักสลัด1.8-2.0

ผักกาดขาว (ไดโตเกียว)3.5

กวางตุ้งฮ่องเต้3-4

ผักโขม (โขมไวท์ลีฟ)2.0-2.5

ผักบุ้ง2.0

ที่มา : ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร

ตารางที่ 2 อายุการเก็บเกี่ยวของผักชนิดต่างๆ

กลุ่มผักผักในกลุ่มอายุเก็บเกี่ยว นับจากวันเพาะเมล็ด(วัน)อายุเก็บเกี่ยว นับจากย้ายลงแปลงปลูก(วัน)

ผัดสลัดกรีนโอ๊ค  บัตเตอร์เฮด  กรีนคอส35-4028-30

เรดโอ๊ค  เรดคอรัล35-4530-35

มิซูน่า27-3020-25

ผักคะน้าคะน้าฮ่องกง  คะน้าเห็ดหอม32-3525-30

ผักกาดขาวผักกาดขาวไดโตเกียว3022-25

ผักกวางตุ้งกวางตุ้ง  ฮ่องเต้30-3522-25

ทาห์ไช่ (ทาห์ซอยส์)32-3525

ผักโขมโขมขาว  โขมแดง24-2517-18

ผักบุ้งผักบุ้งจีน20-2114-15

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา