ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นางละมัย พวงใต้ วันที่ : 2017-03-01-11:05:44

ที่อยู่ : 45 บ้านพันวาล หมู่ที่ 11 ตำบลรับร่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประชาชนบ้านพันวาล   ส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสาน  ซึ่งคนส่วนใหญ่จะบริโภคปลาเป็นอาหารหลักของครัวเรือน  และประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพทำสวนกาแฟและสวนทุเรียน  ซึ่งต้องใช้น้ำมาก  จึงมีการขุดสระเพื่อใช้ในการรดต้นไม้อยู่แล้ว  จึงได้มีการเลี้ยงปลาในบ่อที่ขุดไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนและที่เหลือจะแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านหรือจำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อเป็นอาหารของคนในครัวเรือน  (ลดรายจ่าย)

2.  เพื่อเป็นอาชีพเสริมของครัวเรือน  (เพิ่มรายได้)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  ปลาดุก

2.  อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

บ่อดิน  กว้าง   3   เมตร  ยาว  5  เมตร  ลึก   1.5  เมตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่าง ๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมดโดยนำมากองสุมไว้แห้ง แล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคัดดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและอัดดินให้แน่น กำจัดศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น ควรจะทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วัน 

2.ปล่อยพันธ์ปลาลงบ่ออัตราปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อดิน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไป จะปล่อยลูกปลาขนาด 3-5 ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือ 2,000 - 5,000 ตัว/ไร่

3.การให้อาหาร  เช้า  -  เย็น   ระยะเวลา  1  เดือน  ให้อาหารเบอร์เล็ก   เดือนที่  2  ให้อาหารเบอร์กลาง   เดือนที่  3 - 4  ให้อาหารเบอร์ใหญ่

4.ระยะการจับปลา ตั้งแต่ 4  เดือน น้ำหนักปลาจะเป็นที่ต้องการของตลาดคือประมาณ 250 กรัม/ตัว

ข้อพึงระวัง ->

1.  ควรให้อาหารให้ปลากินหมดในระหว่างมื้อ  ไม่ควรให้มากเกินไป  จะทำให้น้ำเน่าเสีย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา