ความรู้สัมมาชีพชุมชน

....ผูกผ้า

โดย : นางประทุม .สกุล เพ็ชรนิล วันที่ : 2017-07-04-11:23:29

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.. 120 .หมู่........5........ซอย............-.................... ตำบล ทะเลทรัพย์ .อำเภอ ปะทิว จังหวัด ชุมพร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ก่อเกิดจากความชอบด้านการเย็บปักถักร้อยและงานฝึมือ  และเริ่มฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ  และได้รับการอบรมในการทำลายผูกผ้า ในแบบลวดลายต่างๆ  สร้างงานสร้างรายได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสิรมอาชีพและสร้างการมีส่วนร่วมสร้างงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผ้า

อุปกรณ์ ->

ผ้า  หมุด เชือก  กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปัจจุบันผ้าเป็นวัสดุที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในงานพิธีหรือราชพิธีการต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของโครงสร้างใหม่ ๆ เช่น ฉากและม่านหรือในรูปแบบของเครื่องประดับตกแต่งเป็นระบายดอก เฟื่อง และระย้าเป็นต้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผ้ามิใช่วัสดุสิ้นเปลือง เมื่อเสร็จสิ้นประโยชน์ใช้สอยแต่ละครั้ง ก็สามารถนำมาทำความสะอาดและ

          รูปแบบของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า  รูปแบบของการผูกผ้า มี 3 รูปแบบ คือ
                   1.  ดอก คือ ส่วนสำคัญขององค์ประกอบการทั้งหมด ถูกกำหนดให้เป็นจุดเด่น
                   2.  เฟื่อง คือ องค์ประกอบในการผูกผ้าเพื่อแก้ปัญหาด้านพื้นที่ เวลา และโครงสร้าง
                   3.  ระย้า คือ การผูกผ้าที่มีลักษณะเป็นพวงพุ่ม จะอยู่ภายใต้ดอกหรือเฟื่อง

          รูปแบบของการจับจีบผ้า
                   1. การม้วน คือ การจับผ้าที่ใช้ในตกแต่งภายนอก โดยจับม้วนผ้าเป็นครึ่งวงกลม
ทิ้งช่วงห่าง ให้มีระยะงามพอดี

                   2. การพับ คือ การจับแนวตลบของสันทบผ้าที่ใช้ในการจับจีบให้มีลักษณะเป็นกลีบดอกบัว พับซ้อนกันเหมือนรูปทรงสามเหลี่ยม

                   3. การซ้อน คือ การจับแนวสัน ทบผ้าของจีบให้ติดกัน โดยใช้เข็ม หมุดกลัดตรงมุมให้ติดกันและ กำหนดช่องไฟให้สับหว่างกัน เหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

                  4. การจีบ คือ การทับซ้อนของผ้าที่มีขนาด ความกว้างและความลึกของจีบเท่ากันและ ในทิศทา

เดียวกัน

                   5. การบิดเกลียว คือ การจับจีบชั้นบนที่ ต้องการตกแต่ง โดยจับมุมผ้าในทิศทาง เฉลียง 45 องศา แล้วยกริมผ้าให้ขนานกับขอบโต๊ะแล้วกำหนดความกว้างและความลึกของจีบ วางเสมอขอบโต๊ะ จะเกิดแนวทแยงบิดเกลียว แล้วจับทบซ้อน ให้มีขนาดความลึกของจีบเท่ากันและในทิศทางเดียวกัน

                   6. การย่นหรือการรูด คือ การจับริมผ้า หรือส่วนที่ต้องการตกแต่งจับรูดให้เป็น รอยย่น โดยเริ่มทำจากด้านล่างสู่ด้านบน เพื่อให้มีลักษณะพองฟูสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา