ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ

โดย : นายนันทชัย แซ่เหล็ก วันที่ : 2017-03-01-09:57:25

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 79 บ้านหาดใน หมู่ที่ 2 ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยหมัก  เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  เช่น  หญ้าแห้ง ใบไม้  ฟางข้าว  เศษอาหาร  แกลบกาแฟ   และอินทรียวัตถุต่างๆ  ให้เน่าเปื่อยสลายตัว  กลายเป็นสารสีดำที่เรียกว่า  “ฮิวมัส” ในที่สุด

                ปริมาณธาตุอาหารที่ตกค้างที่สะสมอยู่ในปุ๋ยหมักจะมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุที่นำมาหมักทำเป็นปุ๋ยนั้น  และขึ้นอยู่กับสารตัวเร่งผสมการหมัก  เช่น  เชื้อจุลินทรีย์  ปุ๋ยคอก  และปุ๋ยเคมีที่ใช้ในกระบวนการหมักนั้น  ซึ่งเกษตรกรสามารถทำใช้เองได้  ปุ๋ยหมักแกลบกาแฟจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถทำได้เนื่องจากมีวัตถุดิบคือเปลือกกาแฟในท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก  ประกอบกับมีปริมาณธาตุอาหารสูง

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อให้ประชาชนบ้านหาดใน ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ  จังหวัดชุมพร  มีอาชีพเสริม

 2.  เพื่อลดรายจ่าย – เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

3.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  แกลบกาแฟ                    4,500  กก.

2.  มูลไก่                               1,250  กก.

3.  กากน้ำปลา                     1,250  กก.

4.  ฟอสเฟต                         1,300  กก.

5.  รำละเอียด                      1,000  กก.

6.  กากน้ำตาล                      70  กก.

7.  หัวเชื้อ  พด.1 ,  2 ,  3 ,  9

8.  ปุ๋ยยูเรีย                            10  กก.

9.  น้ำหมักชีวภาพ  พืชหรือสัตว์ (ปลา)

อุปกรณ์ ->

1.  จอบ

2.  บัวรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.   แบ่งแกลบกาแฟ  มูลไก่  กากน้ำปลา  ปุ๋ยยูเรีย  ออกเป็น  3  ส่วน เท่าๆ  กัน

2.  นำแกลบกาแฟส่วนที่  1  มากองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แล้วนำมูลไก่  กากน้ำปลา  ส่วนที่  1  มาวางกองบนแกลบกาแฟ

3.   หว่านปุ๋ยยูเรียให้ทั่วกอง

4.   ละลายหัวเชื้อ  พด.1  จำนวน  2  ซอง  ในน้ำ  200  ลิตร

5.   รดน้ำให้ชุ่มทั่วทั้งกอง ชั้นที่  2  และ  3  ทำเหมือนชั้นที่  1

6.   รดน้ำ  พด.2  ที่ขยายเชื้อในกากน้ำตาล  และ  พด3.  และ  9  ที่ละลายน้ำแล้วด้วย  พร้อมทั้งน้ำหมักชีวภาพ

7.   นำผ้าพลาสติกหรือผ้าเต้นมาคลุมไว้

8.      หมักไว้  10  วัน  กลับกองครั้งที่  1  และกลับกองทุก  7  วัน

9.      หมัก  1  เดือน  เปิดผ้าคลุมดู  ถ้ากองปุ๋ยยังร้อนให้กลับกองอีกจนกว่าปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิภายนอกกอง  ถือว่าใช้ได้

ข้อพึงระวัง ->

1.  หมั่นกลับกองปุ๋ยเพื่อลดความร้อน  จะทำให้นำไปใช้ได้เร็ว

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา