ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงทำน้ำหมัก,ุปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายอุดร แสงศิลป์ วันที่ : 2017-04-18-13:10:48

ที่อยู่ : 17 หมู่ที่ี 6 ต.สะพลี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ต้องการลดต้นทุนทางการเกษตร และลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อระยะยาว ทำให้ดินกระด้าง

วัตถุประสงค์ ->

ลดต้นทุนการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

              วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

               ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

               ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

               ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช
     

อุปกรณ์ ->

วัสดุและอุปกรณ์


                 1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า 


                       2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง


                               3. ถังสำหรับหมัก


                                      4. มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

2. บรรจุลงในภาชนะ

3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน

4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน

5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม

6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน

7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป

8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

ารใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร

2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้

3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม

4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin) และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น
 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา