ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเลี้ยงปูม้า

โดย : นายพิศาล พุฒนกุล วันที่ : 2017-04-18-13:09:11

ที่อยู่ : 52/1

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              แรงบัลดาลใจเนื่องจากทรัพยากรทางทะเลลดน้อยลงการทำอาชีพการประมงจึงมีคุณภาพน้อยลงปลาปูที่จะจับมาเป็นอาหารเริ่มตัวเล็กลงเนื่องจากประมงชายฝั่งไปจับปลาปูที่ไม่ได้ออกไปเป็นหลายวันหลายคืนเหมือนประมงทะเลลึกจึงได้มีแรงบัลดาลใจหรือเหตุผลที่จะต้องรณรงค์ให้ชาวประมงช่วยกันปล่อยแม่พันธ์ที่มีไข่เติมท้องที่พร้อมจะฟักเป้นตัวอ่อนลงทะเลไปเพื่อให้แม่พันธ์ได้วางไข่ต่อไปแต่ที่หมู่บ้านในไร่ได้ทำธานาคารปูม้าเพื่อเอาแม่พันธุ์มาอนุบาลจนกว่าวจะปล่อยตัวอ่อนจนหมดประมาณ 50,000 - 1,000,000 ตัวต่อแม่ปู้หนึ่งตัว แล้วอนุบา่ลให้แข็งแรงจึงจะปล่อยลงสู่ทะเลให้ตัวอ่อนได้ไปหากินตามป่าชายเลนเพื่อได้เจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวเต็มวัยเพื่อให้ชาวบประมงได้จับมาเป็นอาหารและขายเพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีวิต

            สำหรับแม่ปูที่ปล่อยไปโดยธรรมชาติเมื่อวางไข่ตามธรรมชาติโอกาสรอดของปูตัวเล็กที่แตกออกจากไข่จะถูกปลากินไปบ้างจะเหลือเพียง 45 %                

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อขยายพันธุ์ปูม้าให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพียงพอกับการทำประมง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อวนปูม้า เมื่อจับแม่พันธุ์มากับอวนปูก็จะนำแม่พันธุ์ที่ไข่เต็มตัวมาอนุบาลในถังที่เพิ่มอ๊อกซิ่เจนให้เพื่อความแข็งแรงของลูกปู กับธนาคารปู้ที่มีโครงการเดิมอยู่แล้ว

อุปกรณ์ ->

เชื่อราวอวน เอ็นอวน  ทุ่น  ลูกตะกั่ว(สำหรับถ่วงอวน) 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นำอุปกรณ์ที่โครงการให้มามีเอ็นอวน เชือกราวอวน ทุ่น ลูกตะกั่วถ่วงตีนอวนมาประกอบต่อกันเพื่อใ่ห้เป็นหัวอวน แล้วนำอวนไปลอยดักปูม้า

ข้อพึงระวัง ->

จิตสำนึกของผู้ทำการประเอง ที่จะไม่เก็บแม่ปูที่มีไข่เต็มท้อง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา