ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำประมงพื้นบ้าน

โดย : นายประหยัด ทิมรอด วันที่ : 2017-03-24-18:27:50

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่1 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ประมงชายฝั่ง (Inshore Fisheries) หรือประมงพื้นบ้าน (Artisanal Fisheries) คือ การประมงเพื่อยังชีพหรือประมงขนาดเล็ก โดยทั่วไปใช้เรือขนาดเล็ก เช่น เรือพื้นบ้าน เป็นต้น ปัจจุบันส่วนใหญ่จะติดเครื่องยนต์เข้าไปด้วย ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมง เช่น แหหรือเบ็ดแบบง่ายๆ  ประมงพื้นบ้านเป็นการประมงเพื่อยังชีพ หาอาหาร สร้างรายได้ และก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ ->

จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่า หรือเก็บสัตว์น้ำที่ยังมีชีวิตอยู่ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเจริญเติบโตโดยธรรมชาติ และไม่เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ด้วยเครื่องมือทำการประมงในบริเวณน้ำเค็มและน้ำกร่อย และหมายความรวมถึงการไล่ต้อน การเรียก การล่อ เพื่อการกระทำดังกล่าวหรือด้วยวิธีใดๆ เพื่อใช้บริโภค ขาย หรือนำมาแปรรูป ฯลฯ ไม่รวม การจับเพื่อการแข่งขัน การทดลอง การกีฬา หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อยใจ

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

- เรืออวนรุน

-เรืออวนลาก

-อวนปลา

-อวนปู

-อวนจมกุ้ง

ลอบหมึก

-เบ้ดราวหน้าดิน

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ประมงที่ทำมาหากินแถบชายฝั่ง เป็นการทำประมงแบบวันเดียว และต้องทำมาหากินตามฤดูกาล โดยผสมผสานภูมิปัญญาที่สั่งสมและตกทอดจากบรรพบุรุษ ใช้เครื่องมือประมงที่ง่ายๆ ไม่ทำลายล้าง ไม่ทำลายระบบนิเวศ จากการทำมาหากินบริเวณชายฝั่ง เรือลำหนึ่งต้องดูแลอีกหลายชีวิตที่บ้าน ทุกชีวิตฝากหวังไว้ที่ เรือลำเล็กๆ กับเครื่องมือประมงไม่กี่ชิ้น

ข้อพึงระวัง ->

วิกฤตการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างรุนแรง 

สังคมยังไม่ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารราคาถูกของประเทศ ไม่เข้าใจและไม่สนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านในการรณรงค์เพื่อการ จัดการทรัพยากรทะเลที่ยั่งยืน

ไม่จับปลาในฤดูปลาวางไข่และเขตรักษาพันธุ์พืช 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา