ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงผึ้งโพรง

โดย : นางอุไรรัตน์ ขุมเพชร วันที่ : 2017-07-28-19:43:10

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๘/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลทุ่งคา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้ไปเที่ยวบ้านเพื่อนซึ่งเขาได้เลี้ยงผึ้งในสวนมะพร้าว และพบว่ามะพร้าวออกลูกดกมากทุกต้น เพื่อนเล่าให้ฟังว่าผึ้งช่วยผสมเกษร จึงคิดว่าบ้านเราก้ทำสวน น่าจะทดลองเอารังผึ้งมาวางดูบ้าง  จึงทำรังผึ้งไปวางในสวนดู ปรากฎว่ามีผึ้งเข้ามาอยู่และมีน้ำผึ้งให้ด้วย จึงตัดสินใจเลี้ยงผึ้งในสวน ตั้งแต่นั้นมา

วัตถุประสงค์ ->

๑. เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

๒. เพื่อเพิ่มผลผลิตในสวน

๓. เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน(เพราะการจะเลี้ยงผึ้งได้ต้องไม่ใช้สารเคมี ในสวน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไขผึ้งโพรงบริสุทธิ์

อุปกรณ์ ->

๑. รังผึ้ง ขนาดและวัสดุตามความเหมาะสม

๒. เครื่องพ่นควัน

๓. ลวดสแตนเลสใช้ขึงคอนยึดรวงผึ้ง

๔. ชุดป้องกันผึ้งต่อย  และหมวกตาข่ายกันผึ้งต่อย

๕. แปรงปัดตัวผึ้ง

๖. กลักขังนางพญาผึ้ง

๗. มีดบางๆ ปลายแหลม  ค้อน  ตะปู  เลื่อย

๘. อุปกรณ์อื่นๆ ตามความเหมาะสม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การล่อผึ้ง นำรังผึ้งซึ่งทำด้วยไม้เก่าๆ ทาด้วยไขผึ้งโพรงบริสุทธิ์ไปวางในที่ที่มีอาหารสำหรับผึ้ง เช่น สวนมะพร้าว สวนผลไม้ ฯลฯ และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

๒. การบังคับผึ้งเข้าคอน คือ การนำผึ้งตามธรรมชาติ หรือผึ้งที่ได้จากการล่อ นำมาตัดรวงบังคับเข้าคอนแลัวนำไปวางเลี้ยงในรังผึ้งที่เตรียมไว้

ข้อพึงระวัง ->

ควรระวังศัตรู และโรคผึ้ง ดังนี้

๑. พวกสัตว์ที่กินผึ้งต่างๆ เช่น แมงมุม คางคก จิ้งจก นก ฯลฯ

๒. พวกแมลงต่างๆ เช่น ไร ตัวต่อ มดแดง ฯลฯ

๓. โรคผึ้ง ที่พบมากที่สุด คือ โรคแซคบรูด เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะของโรคตัวอ่อนจะตายก่อนปิดฝา ตัวอ่อนมีสีขาวขุ่นถึงน้ำตาลเข้ม การรักษาและป้องกัน คือ การที่ให้ผึ้งแข็งแรง และเปลี่ยนรวงตัวอ่อนที่เป็นโรคทิ้ง หรือเผาทำลาย         และเปลี่ยนนางพญาผึ้งใหม่

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา