ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักปลอดภัย

โดย : นายประเชิญ แผนคง วันที่ : 2017-07-28-19:45:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๓ หมูที่ ๕ ตำบลถ้ำสิงห์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        ในพื้นที่บ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ ๕ ตำบลถ้ำสิงห์ ได้มีการปลูกผักเป็นอาชีพเสริมกันมานานแล้ว แต่ในอตีดมีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงกันเป็นส่วนมาก จึงได้มีความคิดที่จะผลิตผักปลอกภัยเพื่อเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคขึ้นมา และได้ประชาสัมมาพันธ์ ให้เกษตรกรในพื้นที่นำไปปรับใช้กันมาจนทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ ->

๑. เพื่อให้ได้ผลิต(ผัก)ที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับการบริโภค

๒. เพื่อลดต้นทุนการผลิต

๓. เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ผลิต และผู้บริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เมล็ดพันธุ์ผัก

๒. ปุ๋ยชีวภาพ / น้ำหมักชีวภาพ / น้ำหมักไล่แมลง ฯลฯ

๓. วัตถุดิบอื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น ปูนขาว เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

๑. จอบ

๒. เสียม

๓. คราด

๔. มีด

๕. บัวรดน้ำ

๖. ถังฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ / น้ำหมักชีวภาพไล่แมลง

๗. แผ่นกาวดักแมลง

๘. อุปกรณ์อื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น สแลนพรางแสง  มุ่งกางกันแมลง เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. เตรียมแปลงปลูก

๒. เตรียมเมล็ดพันธ์ุ

๓. การปลูกและการดูแลรักษา  การเลือกวิธีปลูก ระยะปลูกเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ผักที่เกษตรกรเลือกปลูก แต่ควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค

ข้อพึงระวัง ->

   ๑. พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารสกัดจากสะเดาแล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคราะแกร็น เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ก็ควรงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันที  ชนิดของแมลงที่สามารถกำจัดได้ด้วยสารสกัดจากสะเดา  ได้แก่

    ๑.๑ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอนกัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก

    ๑.๒ ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่ว แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน

    ๑.๓ ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆ 

๒. พืชผักที่ใช้สารสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตำลึง มะนาว มะกรูด

๓. การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดสัตรูพืช ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์ สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลง เมื่อทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีป้องกันและกำจัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว อาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ คือ

       ๓.๑ เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชนิดนั้น

       ๓.๒ สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

       ๓.๓ ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำแนะนำ

       ๓.๔ เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคำแนะนำ

ทั้งนี้เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมีสารพิษตกค้างในพืชผักนั้น และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา