ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นางรวีวรรณ สุบรรณรัตน์ วันที่ : 2017-07-04-11:33:09

ที่อยู่ : 48/12 หมู่ท่ี 13 ตำบลบ้านนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แรงบันดาลในการทำเกษตรแบบผสมผสาน การดำรงชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นความชอบส่วนตัวอยู่ก่อนแล้ว เพราะ พ่อ-แม่จะพูดเสมอว่าเราจะกินอะไรจะได้ไม่ต้องซื้อเขากิน อาชีพเดิมของพ่อ-แม่ และการสอนให้เรากินแบบพอเพียง  มีต้นทุนความรู้ อยากลอง อะไรก็ลองและได้รับโอกาสส่งไปอบรมพัฒนาอาชีพต่าง ๆ และโครงการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินการสร้างเครือข่ายและสร้างเสริมอาชีพในครัวเรือน/หมู่บ้านนำมาดัดแปลงใช้ในบ้านของตนเองจากประสบการณ์ที่ทำมา ทำให้มีเงินออม เพื่อนำไปใช้หนี้ และหัวใจสำคัญของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีพ ต้องรู้ต้นทุน รายรับ คงเหลือ หัวใจสำคัญต้องทำบัญชีครัวเรือนเพื่อรู้รายจ่าย/รายรับที่แท้จริง

          

การใช้ชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการถ่ายทอดแนวคิดจาก พ่อ-แม่ ตนเอง

มีใจรัก ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ปลูกผัก เก็บผักกินเอง เแจกเพื่อนบ้าน เหลือนำไปจำหน่าย เมื่อมีโอกาสก็เข้ารับการอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาประสบการณ์ใหม่ ๆ และเมื่อปี 2558 เข้าร่วมการจำหน่ายในโอกาสสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชุมพร เปิด “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้ม” ได้นำผลิตภัณฑ์

ในสวนมาจำหน่าย เพิ่มช่องทางตลาดจำหน่าย สินค้าสู่มือผู้บริโภคโดยตรง สด ใหม่ ราคาดีขึ้น และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดการทำบัญชีครัวเรือน รู้รับ-รู้จ่ายจ่าย-รู้ต้นทุน การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เป็นการสร้างรายได้ มีรายได้ทุกวัน

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนจากการประกอบอาชีพเสริมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ลูกไก่พันธุ์ไข่

2.อาหาร

3.น้ำ

4.วัคซีน

อุปกรณ์ ->

1.โรงเรือน

2.อุปกรณ์ใส่อาหารและน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. พันธุ์ไก่ไข่
พันธุ์ไก่ไข่ มีทั้งไก่พันธุ์แท้ ได้แก่ ไก่พันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์แดง พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค และไก่ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ และไก่ไข่ไฮบริด ที่เกิดจากการผสมขึ้นมาพิเศษ ควรหาซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรเป็นไก่พันธุ์ดี ให้ไข่ฟองโต ไข่ทน สีเปลือกไข่ตามความต้องการของตลาด
2. โรงเรือนและอุปกรณ์
โรงเรือนสามารถสร้างด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น แต่ต้องแข็งแรง และทนทานต้องง่ายต่อการจัดการและทำความสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรูรบกวน อุปกรณ์การให้น้ำ – อาหาร ควรมีจำนวนที่เหมาะสม คือ ประมาณ 4 – 5 ถังต่อไก่ 100 ตัว พื้นที่เลี้ยง ถ้าเลี้ยงแบบรวมฝูงใช้ 3 ตัวต่อตารางเมตรมีรังไข่ในโรงเรือน 1 รัง ต่อไก่ไข่ 4 ตัว หรือถ้าเลี้ยงบนกรงตับ กรงตับควรมีขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม. และสูง 45 ซม. สำหรับไก่ไข่ 1 ตัว
3. การจัดการเลี้ยงดู
การเริ่มต้นเลี้ยงดูไก่ไข่ อาจเริ่มมาจากการซื้อลูกไก่มาเลี้ยง ซึ่งต้องใช้เวลานาน และลงทุนสูงหรือจะเริ่มด้วยการเลี้ยงไก่สาวอายุ 18-20 สัปดาห์ ก็ได้ โดยทั่วไปสำหรับเกษตรกรรายย่อยควรเริ่มด้วยการเลี้ยงไก่สาว เลี้ยงแบบฝูงหรือเลี้ยงแบบกรงตับ ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนตามระดับที่ไก่ต้องการในช่วงอายุต่าง ๆ หรืออาจลดต้นทุนค่าอาหารด้วยการผสมอาหารเองจากวัตถุดิบที่ทำได้ในท้องถิ่น การให้อาหารต้องเพียงพอ และสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ไข่กินอาหรประมาณ 120 กรัมต่อวันต่อตัว ไก่ไข่เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 22 สัปดาห์ และจะให้ไข่นานประมาณ 12 เดือน ให้ผลผลิตประมาณ 280 ฟองต่อตัวต่อปี ควรปลดระวางไก่ไข่หลังจากให้ไข่ไปแล้วประมาณ 1 ปี หรือเมื่อไก่ให้ผลผลิตต่ำกว่า 60% ของฝูง
4. การควบคุมและป้องกันโรค
การเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสำเร็จต้องเลี้ยงไก่ให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงจึงจะให้ผลผลิตสูง ต้องมีการทำวัคซีนป้องกันและควบคุมโรคระบาดตามโปรแกรมที่กำหนด ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ไก่ และโรคฝีดาษ
 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา