ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกผักปลอดสารพิษ

โดย : นายประเสริฐ วัฒนครใหญ่ วันที่ : 2017-07-23-10:28:18

ที่อยู่ : 94 หมูที่ 10 ตำบลหาดพันไกร อ.เมือง จ.ชุมพร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้านการทำสวนปาล์มน้ำมัน  และจบการศึกษา ม.6 จึงชอบการทำด้านการเกษตร จึงทำการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ มะละกอ สับปะรด เป็นพืชระยะสั้น ไว้สำหรับครอบครัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ไว้กินเอง ที่เหลือจึงขาย และแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง ทำให้มีความชำนาญในการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ ไก่พื้นบ้าน เลี้ยงหมู และประสบความสำเร็จด้านการเกษตร จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทั้งตำบล

วัตถุประสงค์ ->

          การปลูกพืชสวนครัว ยังเป็นลักษณะไร่นาสวนผสม ตามแนวพระราชดำริ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง รั้วรอบบ้าน คือ กระถิน นอกจากนี้ยังมีชะอม มะนาว มะกรูด แคต้นเตี้ยดอกดกตลอดปี ใกล้บันไดบ้าน วางกระถางล้างเท้ารูปสี่เหลี่ยม ถัดไปเป็นมะลิกอใหญ่ หลังบ้านมีบึงเล็ก เต็มไปด้วย กอบัวแดง พอสายหน่อยแดดจัด มันซ้อนกลีบกันกลายเป็นดอกตูม สายบัวนี่กินได้แกงอร่อย ต้มกะทิก็เยี่ยม เดินลงไปหน่อยก็เป็นบึง เด็ดยอดผักบุ้ง ผักกระเฉดมาต้มจิ้มน้ำพริกสบายไม่ต้องเสียเงินไปซื้อผักปลาที่ไหน ข้างบ้านก็มีกล้วยหลากหลายพันธุ์ขึ้นกันดาษดื่น ปะปนกับกระจับ กระเจี๊ยบ โหระพา กะเพรา ตะใคร้ ที่ปลูกใกล้ๆ กับบ่อเลี้ยงปลานิล ช่อน ยี่สก ปลาดุก อยู่รวมกันได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องแบ่งเนื้อที่ไว้ให้สำหรับอนุบาลลูกปลาซักหน่อยไม่ต้องใหญ่มากนัก ผักบุ้ง กระเฉดช่วยเป็นที่หลบซ่อนจากปลาใหญ่ได้เป็นอย่างดี

        ผักสวนครัว หรือพืชสวนครัว เช่น พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก ตะไคร้ มะกรูด พริกไทย มะอึก มะนาว (กะปิ น้ำปลา น้ำตาล) รั้วกินได้ เช่น ตำลึง ขจร โสน ถั่วพู มันปู กระถิน มะขามเทศ บวบ ฟักเขียว มะระ มะเขือเครือ ไผ่ น้ำเต้า ฟักข้าว ผักแป๋ม เหล่านี้ คือแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกปลูกพืชผสม พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง หรือเอนกประสงค์ หากเลือกปลูกพืชผสมหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันต้องอาศัยคำแนะนำทางวิชาการ และประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะพืชบางชนิดจะปลูกร่วมกันได้ บางชนิดไม่ได้ การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัว ลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบ

1. ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก

2. ดินคุณภาพ

3. เมล็ดพันธ์ุผัก

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์

1. ตะกร้า หรือภาชนะสำหรับปลูก  

2. พื้นที่ การเตรียมดิน

3. เครื่องสูบน้ำ สายยางรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     ตระกูลพริก มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเทศ ผักตระกูลนี้ควรมี

1.      การเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก

2.      หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร

3.      เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น

4.      เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก

5.      เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12

6.      อายุการเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วันหลังย้ายกล้าและพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า 
 

ข้อพึงระวัง ->

คำแนะนำในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

แม้ว่าผักปลอดสารพิษจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับคนชอบรับประทานผักและมีความปลอดภัย แต่หากผู้บริโภคยังไม่มั่นใจก่อนนำบริโภคก็นำผักมาให้ล้างให้สะอาดอย่างถูกวิธีเสียก่อน ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี เช่น ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที, หรือการแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด, หรือแช่ในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น หรือน้ำยาล้างผัก ประมาณ 10 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้บริโภคควรจะเลือกรับประทานผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่น ถ้าเป็นฤดูฝน ผักคะน้าที่เห็นขายในตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารเคมี ก็ให้หันมาบริโภคผักกวางตุ้งแทน เป็นต้น หรือเลี่ยงการบริโภคผักที่อยู่นอกฤดูกาล เช่น ในฤดูฝนเป็นไปไม่ได้ที่ผักกะหล่ำจะออก ถ้ามีขายก็แสดงว่าต้องมีการใช้สารเคมีอย่างดุเดือด เป็นต้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา