ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำนาข้าว

โดย : นายประนม กลางณรงค์ วันที่ : 2017-03-20-17:55:02

ที่อยู่ : 31/1 หมู่ที่ 6 ตำบลขุนกระทิง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวของข้าพเจ้าตั้งแต่รุ่นปุู่ย่าตายาย ได้ยึดอาชีพทำนาเลี้ยงครอบครัวมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน สร้างรายได้ให้ครอบครัว สามารถส่งเสียเลี้ยงดูคนในครอบครัวด้วยอาชีพการทำนาข้าว ข้าพเจ้า นายประนม กลางณรงค์ ได้ออกไปทำนากับพ่อแม่ ด้วยใจรักและชอบ ในสมัยนั้นการทำนาใช้แรงงานคน และสัตว์ ใช้ควายไถนา ลงแขกดำนา และเก็บเกี่ยว มีความผูกพัน สนุกสนาน ภาษาชาวบ้านอาจเรียกกันว่า ตามแรง คือไปช่วยกันทำนาในแต่ละแปลง ไม่มีการจ้างงาน ในเวลาลงแขก แม่บ้านก็จะหุงข้าวและทำอาหารซึ่งหาได้ในหมู่บ้าน ปลา หอย จากในคลอง หนอง บึง  กินอาหารร่วมกันอย่างสนุกสนาน บางช่วงมีการร้องเพลงเป็นที่ครื้นเครง หนุ่มสาวบางคนก็มารู้จักกันในการทำนาข้าว  แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง ครอบครัวได้ย้างที่อยู่ไปทำสวนที่่ตำบลถ้ำสิงห์ และได้ไปทำข้าวไร่เอาไว้กิน เป็นเวลาหลายปี ต่อมาได้ย้ายกับมาอยู่ในพื้นที่บ้านวัดพระขวาง และได้รับการเลือกตั้งจากหมู่บ้านเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านวัดพระขวาง หมู่ที่ 6 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จึงได้เริ่มการทำนาอีกครั้ง  แต่การทำนาครั้งนี้ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาช่วย ใช้รถไถุแทนควาย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น   ประสบปัญหาในหลายด้านเช่น ค่าใช้จ่ายในการทำนา ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ส่งผลให้เกิดความคิดในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ได้ไปอบรมของหน่วยงานภาครัฐ ในด้านหมอดิน การทำปุ๋ยหมัก เกิดแรงบันดาลใจในการทำปุ๋ยหมักใช้เอง ใช้เกษตรอินทรีย์ในการทำนาข้าว ลดต้นทุนการผลิต  

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่งเสริมอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พื้นที่

2. พันธุ์ต้นกล้า

3. ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

1. รถไถ

2. แรงงาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องมีการไถดะ การไถแปร และ การคราด

 1.  การไถดะ และไถแปร   คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้งตลอดจนเป็นการคลุกเคล้า ฟาง วัชพืช ฯลฯ  ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็นรถไถเดิมตามจนถึงรถแทรกเตอร์

2. การคราดหรือใช้ลูก    คือ   การกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็น เทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นที่ทำต่อจาก ขั้นที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดิน ที่ เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทูบในบางพื้นที่อาจมีการใช้โรตารี ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทรกเตอร์ขนาด เล็ก ที่เรียกว่า ควายเหล็กหรือไถยนต์เดินตามทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนานาดำจึงมีการบังคับน้ำในนา ได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อนปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนาหรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก

3. การตกกล้า   หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไป    ปักดำ การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วและมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลงมี กาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

  - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ปราศจาก

 สิ่งเจือปนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลาย

  -การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ 
          นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและมี    การถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาค

การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์

1.  การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก

2.  การตกกล้าในสภาพดินแห้ง

3.     การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

  การปักดำ
 

         การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ๒๕-๓๐วันจากการตกกล้าในดินเปียก หรือกตกกล้าในดินแห้ง ก็ จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกัน เป็นมัด ๆ   ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้งสำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียกจะต้องสลัด เอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วยแล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ การปักดำจะต้องปักดำ ให้เป็นแถวเป็นแนวและมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควรโดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้า จำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ

   การดูแลรักษาต้นข้าว

          ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าวตั้งแต่ การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆโดยแปลงกล้าและแปลงปักดำจะต้องมีการใส่ปุ๋ยมีน้ำเพียงพอกับความ ต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช ในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชุมพร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา