ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้าไหม

โดย : นายอู๊ด ประกิจ วันที่ : 2017-03-13-14:38:39

ที่อยู่ : 344 หมู่ 13 ตำบล ส้มป่อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตั้งแต่บรรพบุรุษได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  สาวไหมนำเส้นไหมมาทอเป็นผลิตภัณฑ์เป็นผืนผ้านำไปตัดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มในงานเทศกาลต่าง ๆ ของหมู่บ้าน  เช่น  งานบวช  งานแต่ง  งานบุญประเพณีทำบุญตักบาตรถือเป็นเอกลักษณ์ของคนในชุมชนเป็นการให้เกียรติในงานบุญประเพณีต่อมามีการสืบสานการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าเพื่อจำหน่ายเลี้ยงดูครอบครัวมากยิ่งขึ้น ตลอดจนนำมาประยุกต์ให้ทันสมัย  และแปรรูปผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์อื่น  เช่น  กระเป๋า  กล่องกระดาษ   ของที่ระลึกเพื่อเป็นการอนุรักษ์สู้รุ่นลูกหลานได้รู้จักผ้าไหมยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.อนุรักษ์กรรมวิธีการทอผ้าไหมไทย/ สืบทอดกิจกรรมหมู่บ้านท่องเที่ยววัฒนธรรมไหม

          2.แปรรูปผ้าไหมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม/ใช้ผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.สร้างอาชีพเสริมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ต้นหม่อน พันธุ์ บร ๖๐

          2.พันธ์ไหมเหลืองไพโรจน์ พันธ์ดอกบัว พันธ์นางท้อง (พื้นเมือง)

          3.เส้นไหมดิบ

          4.สีย้อม

          5.ด่างฟอกไหม

          6.สบู่ซันไลต์/น้ำส้มสายชู

          7.อุปกรณ์การย้อมไหม (เตา/กะละมัง/ไม้)

          8.อุปกรณ์ทอผ้าไหม (กี่/ฟืม/กระสวย/ไนปั่นหลอด/หลอดด้าย/แปลงหวี/กง/จี้เข็น/โฮ่งแก้หมี่/เล็นโยกมัดหมี่/เผีย/โปกไหม ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกหม่อน

          ๑. เลือกพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก ดินไม่เป็นกรด  มีแหล่งน้ำสำหรับรดน้ำได้ในช่วงหน้าแล้ง

          2.เตรียมดิน ไถกลับหน้าดินเพื่อกำจัดศัตรูพืช จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน

          3.ขุดหลุมให้ลึกพอสมควร จากนั้นรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ฟางข้าว หรือปุ๋ยหมัก และกลบหน้าดินก่อนหนึ่งชั้น จากนั้นก็ปลูกต้นหม่อนตามปกติ ที่สำคัญควรปลูกต้นที่เพาะชำ 1 ปี ขึ้นไป เพื่อให้ต้นพันธุ์มีความแข็งแรง

การเลี้ยงไหม

          1.เลือกใบหม่อนให้เหมาะสมกับอายุของตัวไหม เพื่อลดการสูญหายของหนอนไหม

          2.การเลี้ยงไหมแรกฟักควรให้ถูกแสงแค่วันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง จากนั้นก็ดูแลตามช่วงวัย ให้มีความเหมาะสม ซึ่งไหมแต่ละวัยจะมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน

          2.เน้นการดูแลหนอนไหมอย่างสม่ำเสมอ การโรยยาฆ่าเชื้อควรทิ้งไว้ประมาณ  10-15 นาที

          3.การให้ใบหม่อน เริ่มแรกควรให้ใบหม่อนวันละครั้งในปริมาณที่น้อย ๆ ก่อน จากนั้นทยอยเพิ่มปริมาณขึ้น ตามระยะช่วงวัยและความเจริญเติบโตของหนอนไหม

          4.มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงเมื่อหนอนไหมมีการเจริญเติบโตขึ้น โดยเฉลี่ยวัยละประมาณ      2-3 เมตร

          5.มีการวางแผ่นรองมูลหนอนไหม และทิ้งมูลไหมอย่างสม่ำเสมอ

5.ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิให้เหมาะสม โดยไหมอ่อนชอบอุณหภูมิที่สูง ความชื้นมาก      เมื่อโตขึ้นควรลดอุณหภูมิและความชื้นลงเรื่อย ๆ เช่นกัน แต่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 24 องศา และความชื้นที่ร้อยละ 70

6.เก็บหนอนไหมที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งทุกวัน

          7.ควรเลี้ยงหนอนไหมในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสม

 

          การสาวไหม

          1.การสาวไหมชั้นแรก (ไหมใหญ่) ต้มน้ำให้ร้อนประมาณ 80 องศา นำรังไหมลงไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที เวลาต้มต้องหมั่นเขี่ยเพื่อให้รังไหมสุกทั่วกัน แล้วเอาไม้คีบเกลี่ยรังไหมเบาๆ เส้นไหมจะติดไม้ขึ้นมาใช้มือรวบเส้นไหมจากไม้ดึงมารวมสาวเป็นไหมใหญ่ เมื่อสาวไหมใหญ่เสร็จให้ตักรังไหมออกมาพักไว้ก่อนแล้วเติมรังไหมใหม่ลงไป ระหว่างการสาวหมั่นคอยเติมน้ำเย็นลงเป็นระยะ ๆ   เพื่อไมให้น้ำเดือดมากเกินไป

          2.การสาวไหมชั้นในต่อจากการสาวไหมชั้น 3 จะให้ขนาดเส้นมีความเล็กหรือใหญ่อยู่ที่ปริมาณจำนวนรังที่ต้ม และต้องเติมรังไหมให้มีปริมาณคงเดิมเพื่อให้เส้นไหมมีความสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญคือเส้นไหมจะต้องมีเกลียว 4-8 เกลียวต่อ 1 นิ้ว

          3.การสาวไหมมีกระบวนการ 2 วิธี คือ การทำไหมพุ่งและการทำไหม ยืน สามารถทำได้ ดังนี้

               ขั้นตอนที่การทำเส้นยืน

                   1. ลอกกาวออก (ล้างน้ำให้สะอาด)

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา